วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การติดตั้งและบำรุงรักษาปั๊มน้ำ Ebara

การติดตั้งและบำรุงรักษาปั๊มน้ำ Ebara

การวางแผนการติดตั้ง


1. ระยะดูด
             ระยะดูดขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและชนิดของปั๊ม อุณหภูมิของของเหลวและสภาพของท่อ เมื่อมีแผนการติดตั้งปั๊มควรพิจารณาหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้

1. อุณภูมิปกติ, น้ำจืด
ระยะดูดจากระดับน้ำในแหล่งสูบถึงกึ่งกลางปั๊มไมม่เกิน 6 ม.

2. อุณภูมิน้ำสูงกว่าปกติ

        อุณหภูมิน้ำ           ระยะดูด
           20°C                -6 ม.
           40°C                -5 ม.
           60°C                -3 ม.
           70°C                -2 ม.
           80°C                 0 ม.
         100°C               +7 ม.


3. ท่อดูดยาว
ท่อดูดยาวจะทำให้ระยะดูดลดลง เนืองจากความฝืดในท่อจะสูง

4. การสูบของเหลวที่เป็นไอได้
เคมีภัณฑ์และน้ำมันจากถ่านหินกลายเป็นไอระเหยได้ง่ายมาก เมื่อทำการสูบจะต้องให้ของเหลวอยู่สูงกว่าปั๊ม ขอแนะนำให้เลือกใช้ปั๊มและอุปกรณ์เฉพาะที่ใช้กับของเหลวชนิดนั้นๆ ข้อมูลเหล่านี้หาได้จากบริษัทผู้ผลิตปั๊ม


2. สถานที่ติดตั้ง

1. ติดตั้งปั๊มในที่แห้ง
   การติดตั้งปั๊มในที่ที่มีความชื้นในอากาศสูงจะทำให้แบริงเป็นสนิมได้ง่ายและค่าความต้านทานของฉนวนของมอเตอร์สั้นลง ดังนั้นจึงควรติดตั้งปั๊มในที่ที่แห้ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกและไม่ร้อน

2. อุณหภูมอตำกว่า  100°C
   เมื่ออุณหภูมิของอากาศสูง การระบายอากาศรอบๆ มอเตอร์ไม่ดี อุณหภูมิของมอเตอร์สูงและความต้านทานฉนวนของมอเตอร์ลดลงเหล้านี้อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งปั๊มในพื้นที่ที่ มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวกและควรห่างไกลจากความร้อน เช่นจากหม้อน้ำ

3. ควรติดตั้งที่ที่มีพื้นที่กว้างพอสำหรับการถอดปั๊มเพื่อตรวจสอบ
   พื้นที่คับแคบทำให้การถอดและการตรวจเช็คปั๊มลำบาก จะทำให้เกิดความล่าช้าเสียเวลาและจะเกิดการเบื่อหน่ายวึ่งอาจทำให้เกิดการละเลยเว้นการตรวจบำรุงประจำปี อันมีผลให้อายุของปั๊มสั้นลง ดังนั้นจึงต้องแน่ใจว่าสถานที่รอบๆปั๊มรวมถึง ข้างบนเหนือปั๊มต้องกว้างพอสำหรับ
การตรวจสอบบำรุงรักษา

4. การติดตั้งภายในร่ม
   มอเตอร์สำหรับงานปั๊มทั่วๆไปโดยปกติแล้วจะออกแบบสำหรับการใช้งานในร่ม ถ้าจำเป็นต้องใช้งานกลางแจ้ง จำเป็นจะต้องมีที่บังกันฝนให้ และที่กำบังต้องใหญ่พอเพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความร้อนที่แผ่ออกจากมอเตอร์เอง ถ้าเอามอเตอร์ไปใช้กลางแจ้งดดยไม่มีที่กำบังค่าความต้านทานของฉนวนของขดลวดจะเสียหาย จะเป็นสนิมภายใน และอาจนำไปสู่อุบัติเหตุอื่นๆได้

5. ฐานรองปั๊มต้องดูดซับกันสั่นสะเทือนได้
  และควรใช้ข้อต่อเพลาชนิดหยุ่นตัวได้  การใช้ฐานหรือแท่นปั๊มรองรับจะทำให้อาการสะเทอนถ่ายทอดไปสู่พื้นหรืออาคคาร น้องลง เมื่อจะเลือกใช้ฐานรองปั๊มชนิดดูดซับความสั่นสะเทือน ควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้าง และควรใช้แพคกิ้งยางรองรับจุดสำคัญๆ ด้วย



 3. ท่อดูด
      การติดตั้งท่อดูดไม่ถูกต้องอาจทำให้ดูดน้ำไม่ขึ้น จึงต้องระวังในหัวข้อต่อไปนี้

1. ท่อดูดต้องสั้นที่สุดและให้มีความคดหรือข้องอน้อยที่สุด
   ถ้าท่อดูดยาวหรือมีข้องอหรือคดมาก ความต้านทานในท่ออาจมากกว่าความสามารถของปั๊มได้ ดังนั้น ท่อควรสั้นที่สุดและมีข้องอให้น้อยที่สุด อีกประการหนึ่งยิ่งมีข้อต่อข้องอมาก โอกาสที่อากาศรั่วจะยิ่งมีมากขึ้น

2. จะต้องแน่ใจว่าท่อดูดจะไม่มีส่วนโค้งขึ้นจนเกินกะเปาะอากาศ
   กะเปาะอากาศในส่วนโค้งขึ้นของท่อ จะทำให้่น้ำไหลไม่เต็มท่อ และปั๊มไม่อาจทำงานได้

3. การติดตั้งควรคำนึงถึงพื้นที่สำหรับการรือท่อดูดด้วย
   หากปั๊มไท่ทำงาน สาเหตุหนึ่งก็คือ ฟุตวาล์วรั่ว ก็จำเป็นต้องถอดท่อดูดขึ้นมาตรวจเช็ค ถ้ามีพื้นที่กว้างพอการทำงานก็จะสะดวก ดังนั้นเมื่อจะทำการติดตั้งปั๊มน้ำควรวางแผนเผื่อพื้นที่ไว้สำหรับตรวจเช็คท่อดูดด้วย





New website : https://www.airpumpcenter.supply/16771590/ebara
Website : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539734240



วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

มารู้จัก Air Jet Aerator (เครื่องเติมอากาศแบบใต้ผิวน้ำ) กันดีกว่า!!

Air Jet Aerator เครื่องเติมอากาศแบบใต้ผิวน้ำ 



           Air Jet Aerator เป็นเครื่องเติมอากาศชนิด HORIZONTAL ASPIRATING AERATOR
โดยอาศัยการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งอยู่เหนือน้ำ มอเตอร์จะต่อกับแกนเพลาทำหน้าที่ขับใบพัด
ซึ่งอยู่ใต้น้ำ เมื่อใบพัดหมุนจะดันน้ำทำให้เกิดความดันที่แตกต่าง ทำให้อากาศภายนอกถูกดูดผ่านเข้ามาภายในแกนเพลา ทำให้เกิดฟองอากาศในน้ำจำนวนมาก จึงใช้สำหรับเป็นเครื่องเติมอากาศ และเพิ่มการไหลของน้ำในบ่อ

การติดตั้ง
สามารถติดตั้งได้ง่าย และรวดเร็ว มีทั้งแบบ FLOATED TYPE และFIXED TYPE สำหรับFLOATED TYPE เครื่องลงน้ำแล้วยึดด้วยเชือก ลวดสลิง หรือหลักยึด เครื่องจะลอยอยู่บนผิวน้ำ ณ.ตำแหน่งที่ต้องการเวลาใช้งานเพียงเปิดสวิทช์เครื่องทำงานตามต้องการ



ลักษณะการติดตั้งแบบต่างๆ








การวางตำแหน่งของ Air Jet Aerator ในลักษณะต่างๆ












http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=91666&Ntype=6


มารู้จัก Air Jet Aerator (เครื่องเติมอากาศแบบใต้ผิวน้ำ) กันดีกว่า!!

Air Jet Aerator เครื่องเติมอากาศแบบใต้ผิวน้ำ 



           Air Jet Aerator เป็นเครื่องเติมอากาศชนิด HORIZONTAL ASPIRATING AERATOR
โดยอาศัยการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งอยู่เหนือน้ำ มอเตอร์จะต่อกับแกนเพลาทำหน้าที่ขับใบพัด
ซึ่งอยู่ใต้น้ำ เมื่อใบพัดหมุนจะดันน้ำทำให้เกิดความดันที่แตกต่าง ทำให้อากาศภายนอกถูกดูดผ่านเข้ามาภายในแกนเพลา ทำให้เกิดฟองอากาศในน้ำจำนวนมาก จึงใช้สำหรับเป็นเครื่องเติมอากาศ และเพิ่มการไหลของน้ำในบ่อ

การติดตั้ง
สามารถติดตั้งได้ง่าย และรวดเร็ว มีทั้งแบบ FLOATED TYPE และFIXED TYPE สำหรับFLOATED TYPE เครื่องลงน้ำแล้วยึดด้วยเชือก ลวดสลิง หรือหลักยึด เครื่องจะลอยอยู่บนผิวน้ำ ณ.ตำแหน่งที่ต้องการเวลาใช้งานเพียงเปิดสวิทช์เครื่องทำงานตามต้องการ



ลักษณะการติดตั้งแบบต่างๆ








การวางตำแหน่งของ Air Jet Aerator ในลักษณะต่างๆ










http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=91666&Ntype=6

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

จุดเด่นของเครื่องเติมอากาศระบบลูกสูบ AIR PUMP NITTO(MEDO)

AIR PUMP NITTO(MEDO) LA Series 
มีให้เลือก 3 ขนาดตามลักษณะการใช้งาน คือ ขนาดเล็ก , ขนาดกลาง , ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ




จุดเด่น
1. ระบบการทำงานเงียบของเครื่องไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน เสียงเงียบ 40-50 dB(A)/m.
2. การดูแลรักษาง่าย เพียงใช้ไขควงด้ามเดียวก็สามารถถอดเปลี่ยนอะไหล่ , ลูกสูบ และบำรุงรักษาได้ทั้งหมด
3. อายุการใช้งานยาวนาน จึงสามารถใช้งานติดต่อกันได้มากกว่า 20,000 ชั่วโมง โดยไม่ต้องพัก
4. ตัวเครื่องสามารถทนทานได้ทุกสภาพภูมิอากาศ ผ่านการรับรองรับคุณภาพสินค้าด้วยมาตรฐานจากหลากหลายสถาบัน
5. อุณหภูมิขณะทำงานต่ำ ด้วยการออกแบบโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน มีผลทำให้เครื่องไม่เกิดความร้อนสูง (OVERHEAT PROTECTION)
6. เครื่องถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้ประหยัดพลังงาน
7. น้ำหนักเบาและขนาดกระทัดรัด การติดตั้งสะดวก และปลอดภัย เพียงแค่เสียบปลั๊กไฟสามารถใช้งานได้ทันทีไม่จำเป็นต้องต่อสายดิน
8. สะอาดและรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น จึงทำให้ลมที่ได้มีความแห้งและสะอาด




Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16700795/nitto-medo
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=346176



วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Submersible Aerator "GSD" AR Series

Submersible Aerator "GSD" AR Series




ข้อควรทราบในการติดตั้ง

1. การติดตั้งการยึดชุด Setter ทั้งสองด้าน กับพื้นบ่อให้เรียบร้อย โดยหลักการติดตั้งตัว Setter เพื่อเป็นตัวล๊อคปั๊มไม่ให้เคลื่อนที่เมื่อปั๊มทำงาน และ อีกด้านหนึ่งเพื่อเป็นอุปกรณ์สวมใส่ท่อประคองตำแหน่งของปั๊ม (Guide Tubes) ในการเคลื่อนย้ายและติดตั้งแบบ (With Auto Setter)
2. การติดตั้งชุด (Air Suction Pipe) โดยท่อนี้ด้านล่างยึดติดกับทางเข้าอากาศของตัวปั๊ม ซึ่งมีหน้าแปลนเป็นจุดเชื่อมต่อกับท่อนำอากาศ Guide Pipe ส่วนด้านบนจะเชื่อมต่อกับวาล์วควบคุมปริมาณอากาศ และอุปกรณ์เก็บเสียง (Silence)
3. การติดตั้งโซ่ และสายไฟฟ้า ให้เรียบร้อย
4. การติดตั้งเกจ์ (Pressure Gate) ด้านทางดูดอากาศเสมอ เพื่อสังเกตจุดทำงาน และปริมาณอากาศที่เข้าสู่ตัวปั๊มอาทิเช่น ปั๊มเกิดการอุดตันปริมาณอากาศไม่สามารถเข้าไปผสมกับอากาศได้ และก็จะเป็นตัวบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของความผิดปกติได้เช่นกัน
5. การติดตั้งวาล์ว (Gate Vale) ด้านทางดูดอากาศเสมอ เพื่อควบคุมปริมาณอากาศที่ต้องการ
6. การติดตั้ง With Auto Setter จะมีความสะดวก ในการเคลื่อนย้ายตำแหน่งปั๊มหลังจากที่ได้ติดตั้งปั๊มและตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่จะเดินเครื่องให้ปั๊มทำงานเป็นครั้งแรกจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสอบเสียก่อน มีอยู่บ่อยครั้งที่เสียหายในทันทีที่ทดลองให้ทำงานโดยมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการติดตั้ง

    ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำงานพบว่าปั๊มมีการชำรุดเสียหาย ควรที่จะได้ตรวจสอบเบื้องต้นดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบทิศทางการหมุน ในกรณีที่ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าอาจมีการหมุนผิดทางได้เนื่องจากการต่อขั้วไฟฟ้าไม่ถูกต้อง กรณีที่หมุนผิดทางสังเกตได้ดังนี้ กรณีแรกปริมาณอากาศจะไม่มีการดูดผ่านท่อนำอากาศและภายใต้พื้นน้ำจะไม่มีการฟุ้งกระจาย กรณีที่สองจะพบว่าการกินกระแสของตัวปั๊มต่ำกว่าปกติ
2. ตรวจสอบการเปิดวาล์ว ท่อดูดอากาศให้เรียบร้อย กรณีที่ติดตั้งวาล์วห่างไกล หรือในตำแหน่งที่สูง
3. ตรวจสอบความสะอาดภายในบ่อ เนื่องจากในการทดลองเดินเครื่องครั้งแรกสิ่งที่ระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งคือสิ่งแปลกปลอม เช่น ขยะหรือเศษโลหะต่าง ๆ ไหลเข้าไปติดในปั๊ม ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง



Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16701196/gsd
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539164583&Ntype=18

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ปั๊มจ่ายสารเคมี ปั๊มฟีดเคมี LMI MILTON ROY P+ Series , G Series

ปั๊มจ่ายสารเคมี ปั๊มฟีดเคมี  LMI MILTON ROY 

สวัสดีคะ วันนี้เอาใจผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับปั๊มจ่ายสารเคมีกันนะคะ พูดถึงปั๊มจ่ายสารเคมี การแบ่งชนิดของปั๊ม จะแบ่งจากระบบขับเคลื่อนคะ




1. ขับเคลื่อนโดยขดลวดเหนี่ยวนำ ( P+ Series)
ข้อดี
 - มีระดับชั้นการป้องกัน IP65
 - มีการสึกหรอเนื่องจากทำงานน้อย เพราะมีแค่แกนที่ติดแผ่นไดอะแฟรมเท่านั้นที่เคลื่อนที่
 - สามารถรับสัญญาณภายนอกได้โดยที่ราคาไม่สูงมาก
 - ง่ายต่อการซ่อมแซม และบำรุงรักษา

ปั๊มเคมีขณะจ่ายสารเคมี
เมื่อจ่ายกระแสไฟให้ขดลวด จะเกิดสนามแม่ เหล็กรอบๆขดลวด
และเหนี่ยวนำให้แกนแผ่นไดอะแฟรมเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
บอลด้านดูดจะถูกดันให้ปิดไว้ ส่วนบอลด้านจ่ายจะถูกดันให้เปิด

ปั๊มเคมีขณะดูดสารเคมี
 - เมื่อหยุดจ่ายกระแสไฟให้ปั๊มเคมี สปริงจะดึงแกนแผ่นไดอะแฟรม ให้กลับเข้าสู่ที่เดิม
 - แผ่นไดอะแฟรมจะเคลื่อนที่ถอยหลังและจะดูดสารเคมีที่อยู่ที่ในท่อขึ้นมา

ข้อควรระวังในการติดตั้ง
 - อินเจคชั่นวาล์วควรติดตั้งในแนวดิ่งและควรวางตัวดังรูป

 - ฟุตวาล์วควรวางตัวในแนวดิ่งและควรให้อยู่สูงจากก้นถังประมาณ 5 cm.
 - สายเคมีไม่ควรตัดให้ยาวเกินไปจนขดเป็นเกลียว
 - ระยะดูดของปั๊มเคมีไม่ควรเกิน 1.5 m.

2. ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า ( G Series)
ข้อดี
 - ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบ Variable eccentric ซึ่งจะให้การจ่ายเคมีเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
 - สามารถสูบจ่ายสารเคมีได้สูงถึง 1,800 l/h และทำแรงดันได้ถึง 12 bar
 - มีปุ่มสำหรับล็อคปุ่มปรับ
 - ระยะดูดสูงสุดไม่ควรเกิน 3 m.

การบำรุงรักษาปั๊มเคมี
 - ควรตรวจสอบสภาพทั่วไปของปั๊มเคมีอย่างสม่ำเสมอ
 - ควรตรวจสอบรอยรั่วตามจุดข้อต่อต่างๆอย่างสม่ำเสมอ
 - ควรตรวจเช็คหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆที่อาจเสื่อมสภาพได้ตามการใช้งาน
 - ดูแลรักษาความสะอาดตัวเรือนปั๊ม






P Series
Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16793536/p-series
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539631314&Ntype=24

G Series
Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16793537/g-series
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539631313&Ntype=24