การติดตั้งและดูแลบำรุงรักษา เครื่องเติมอากาศ
เครื่องเติมอากาศนั้นจะมีการทำงานอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบไดอะแฟรม และระบบลูกสูบ ซึ่งการดูแลบำรุงรักษานั้นจะแตกต่างกัน เรามาดูการทำงานและการบำรุงรักษาของทั้ง 2 ระบบกันดีกว่า
ระบบไดอะแฟรม (Diaphragm Pump)
หลักการทำงานเบื้องต้น
เมื่อกระแสไฟไหลผ่านขดลวดที่พันอยู่กับลวดแม่เหล็ก จะทำให้เกิดพลังแม่เหล็กที่แท่งแม่เหล็กนั้น แท่งแม่เหล็กจะเคลื่อนที่ไปทิศทางแรงดูดของแม่เหล็กและแรงผลักระหว่างก้อนแม่เหล็กไฟฟ้า
ซึ่งจะเป็นความถี่เดียวกับกระแสไฟ AC การที่แท่งแม่เหล็กขยับส่งผลให้ระยะห่างระหว่างแผ่นไดอะแฟรมและห้องเสื้อทำให้เกิดการไหลเข้าของอากาศผ่านวาล์วแล้วบีบออกทางช่องลมอย่างสม่ำเสมอ
1.
การติดตั้งของเครื่องเติมอากาศ
ควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศอยู่ในที่ร่มหรือใต้อาคารที่ระบายอากาศได้ดี ไม่เปียกชื้น
ควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศ สูง
กว่าระดับน้ำ
เพื่อป้องกันปัญหาน้ำไหลย้อนกลับเข้าเครื่องเวลาปิดเครื่อง
และหรือไฟฟ้าดับทันที
การติดตั้งเครื่องเติมอากาศควรจะเผื่อระยะสายไฟกับเต้าเสียบไม่ให้ตึงเกินไป
หรือ ระยะห้อยของสายไฟมากเกินไป
เมื่อติดตั้งเครื่องเสร็จแล้ว
ควรตรวจสอบให้ละเอียดอีกครั้งก่อนใช้งาน
อย่าเสียบปลั๊กหรือสายไฟเปียกชื้น
ในกรณีที่เพิ่มสายไฟ
ควรตรวจสอบก่อนว่าขนาดเบอร์ของสายไฟใช้ร่วมกันได้หรือไม่
2.
การใช้งานและดูแลบำรุงรักษา
เครื่องเติมอากาศถูกออกแบบมาใช้เป่าอากาศ ห้าม นำไปใช้ในน้ำ
หรือ ของเหลว
ควรทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศทุก
3 เดือน
แผ่นกรองอากาศที่อุดตันเป็นสาเหตุของความร้อนสูงผิดปกติ
ไม่มีการเสียดทานระหว่างแท่งแม่เหล็กและแผ่นยางไดอะแฟรม ดังนั้นไม่จำเป็นต้องใส่น้ำมันในตัวปั้ม อากาศที่ออกมาสะอาด
เครื่องเติมอากาศถูกออกแบบให้อุปกรณืชิ้นส่วนในปั้มทำงานอย่างอิสระ
จึงทำให้ง่ายและสะดวกต่อการดูแลและการเปลี่ยนอะไหล่ที่ชำรุด
อุณหภูมิขณะใช้งานที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 41 ๐F - 104 ๐F
การใช้งานในอุณหภูมิที่สูงกว่ากำหนดเป็นสาเหตุให้ปั้มเสียหาย
หรือ ลดอายุการใช้งาน ควรตรวจสอบแผ่นกรองอากาศอุดตัน หรือ ท่อส่งอากาศอุดตันหรือเปล่า
กรณีปั้มตกน้ำ หรือ
น้ำเข้าเครื่อง ห้ามแตะ หรือ
จับตัวปั้มเด็ดขาด
ควรดึงปลั๊กออกก่อนแล้วค่อยมาซ่อมบำรุง ตรวจเช็ค
หรือส่งกลับที่ศูนย์จัดจำหน่ายและบริการ
ระบบลูกสูบ
การติดตั้่งเครื่องเติมอากาศ MEDO สำหรับถังบำบัดน้ำเสียแบบเติมอากาศ
กรุณาปฏิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ เพื่อลดความเสี่ยงความเสียหายและอุบัติเหตุ
ข้อควรระวัง การป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร
- อย่าติดตั้งเครื่องเติมอากาศในที่ที่มีน้ำท่วมขัง
- งานด้านไฟฟ้าควรกระทำโดยช่างไฟฟ้าที่มีความชำนาญ
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่ากระแสไฟฟ้าที่ระบุแผ่นป้ายของตัวเครื่องตรงกับ แนะแสไฟที่ใช้งานจริง
- จุดจ่ายไฟควนเป็นระบบที่กันน้ำและมีระบบสายดิน
- ถ้าสายไฟชำรุด ให้ทำการเปลี่ยนทันที
กรุณาปฏิบัติตามข้อกำหนเทั้ง 5 ข้อ เพื่อป้องกันอันตรายจากไฟฟ้าลัดวงจร
- ตรวจสอบใหเ้แน่ใจว่ากระแสไฟฟ้าที่ระบุในแผ่นป้่ายของเครื่องตรงกับกระแสไฟฟ้าที่ใช้งานจริง
- ถ้าพบความเสียหายของตัวสินค้า หรือปลั๊กไฟ ให้ระงับการใช้งานและติดต่อตัวแทน
- ติดตั้งเครื่องเติมอากาศให้อยู่สูงกว่าระดับน้ำ เพื่อป้องกันน้ำไหลย้อนกลับเข้าเครื่องในกรณ๊ทีปิดเครื่องหรือไฟฟ้าดับ
- ทำความสะอาดแผ่นกรองที่อยู่ด้านบนของตัวเครื่องทุกๆ 3 เดือนหรือมากกว่านั้น
วิธีดูแลแผ่นกรองอากาศ
- ถอดปลั๊กไฟทุกครั้งก่อนทำการถอดฝาเครื่อง
- ถอดสกูที่ฝาด้านบนและเปิดฝาครอบแผ่นกรองอากาศ
- หยิบแผ่นกรองอากาศออกมา
- ทำความสะอาดหรือเปลี่ยนแผ่นกรองอากาศ
- นำแผ่กรองอากาศกลับเข้าที่เดิม
- ปิดฝาครอบและขันสกรูกลับให้เรียบร้อย
การเลือกสถานที่ติดตั้ง
- ควรติดตั้งให้ใกล้กับถึงบำบัดน้ำเสียให้มากที่สุด ถ้าติดตั้งห่างเกินไประบบบำบัดอาจทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ เนืองจากแรงดันอากาศไม่เพียงพอ
- ติดตั้งในสถานที่ที่ง่ายต่อการดูแล บำรุงรักษา
- อย่าคิดคั้งเครื่องในพื้นที่ที่ไม่แข็งแรง หรือมีการยุบตัว
- ติดตั้งให้ห่างจากผนังอาคารอย่างน้อย 30 ซม.
- ติดตั้งในสถานที่ที่มีอุณหภูมิเย็นเท่าที่เป็นไปได้
- ไม่ควรนำสิ่งใดมาปิดหรือครอบเครื่องเติมอากาศ
- หลิกเลี่ยงสถานที่ที่มีฝุ่นละอองมาก
ความชื้นเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาเฃือกสถานที่ติดตั้ง
- อย่าติดตั้งเครื่องเติมอากาศในสถานที่ที่มีน้ำท่วมขัง
- อย่าติดตั้งเครื่องเติมอากาศในที่ที่มีความชื่นสูง
เสียงก็เป็นปัจจัยในการเลือกสถานที่ติดตั้ง
- อย่าติดตั้งเครื่องเติมอากาศไกล้ห้องนอนหรือหน้าต่าง เนืองจากเป็นการรบกวนเพราะเครื่องต้องทำงานตลอดทั้งวันทั้งคืน
วิธีการติดตั้ง
- ควรวางเครื่องบนพื้นที่เป็นคอนกรีต มีความทนทานพอที่จะรับน้ำหนักและแรงสั้นสะเทือนของตัวเครื่อง
- พื้นคอนกรีตควรอยู่สูงกว่าพื้นดินอย่างน้อย 10 ซ.ม. และมีขนาดใหญ่กว่าตัวเครื่องเติมอากาศประมาณ 5 ซ.ม.
- จัดหาปลั๊กไฟแยกเฉพาะสำหรับเครื่องเติมอากาศ
- งานระบบไฟควรได้รับการดูแลติดตั้งดดยช่างที่มีความชำนาญ
- กระแสไฟฟ้าที่ใช้ต้องตรงกับที่ระบุไว้บนเครื่อง
- จุดจ่ายไฟควรมีระบบป้องกันน้ำ พร้อมทั้งมีระบบสายดิน
- วางเครื่องเติมอากาศในแนวขนานกับพื้น
- ใช้ข้อต่อยางอ่อนที่ให้มาสเป็นตัวเชือมระหว่างเครื่องเติมอากาศและท่อที่ติดตั้งไปยังถังบำบัดและรัดด้วยสปริงรัดสาย
- หลังจากการต่อระบบลมเรียบร้อยให้ตรวยสอบดูว่าข้อต่อยางอ่อนไม่หักงอ
- ก่อนเปิดเครื่องเติมอากาศให้ตรวจสอบ ระดับน้ำในถังบำบัดให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม
- เสียบปลั๊กไฟเข้ากับเต้าเสียบที่มีระบบสายดิน
- ก่อนให้เครื่องเติมอากาศให้มั่นใจว่า ไม่มีลมรั่วจากข้อต่อยาง และท่อต่อลม
- อาจมีเสียงเครื่องที่เกิดจากการทำงานบ้าง ซึ่งเป็นเรื่องปกติ
- แรงสั่นสะเทอนจะไม่ส่งผลไปยังถังบำบัด
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น