วันจันทร์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2560

แผนผังรูปแบบการติดตั้งปั๊มน้ำกรุนด์ฟอส

แผนผังรูปแบบการติดตั้งปั๊มน้ำกรุนด์ฟอส

วันนี้เราจะมาดูรูปแบบของการติดตั้งปั๊มในรูปแบบที่ต่างกันนะคะ

1. ติดตั้งแบบถังพักน้ำด้านดูดอยู่ใต้ดิน 
• ควรใช้กับน้ำสะอาด
• ควรติดตั้งไกล้บ่อพักน้ำให้มากที่สุด
• ควรเดินท่อด้านดูด ให้สั้น ไม่รั่วซึมและข้องอน้อยที่สุด
• ควรใช้ท่อตามขนาด เข้า-ออก ของปั๊มน้ำ
• ไม่ควรติดตั้งปั๊มน้ำในที่โล่งแจ้ง


2. ติดตั้งแบบถังพักน้ำด้านดูดอยู่บนใต้ดิน 


--ใครที่กำลังจะติดตั้งปั๊มน้ำลองดูเป็นแนวทางกันได้นะคะ--

New website : https://www.airpumpcenter.supply
Website : http://www.airpumpcenter.com

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ข้อควรระวัง! ของปั๊มเคมี ยี่ห้อ MILTON ROY LMI model G Series

ข้อควรระวัง
• ก่อนเดินปั๊มทุกครั้งต้องเปิดวาล์วด้านดูดและจ่ายก่อน
• เมื่อปรับอัตราการจ่ายเรียบร้อย ต้องล็อคปุ่มปรับทุกครั้ง
• ไม่ควรปรับอัตราการจ่ายต่ำกว่า 0%
• เมื่อมีสิ่งผิดปกติ เช่น มีเคมีหรือน้ำมันรั่ว ให้หยุดเดินปั๊ม และรีบแจ้งทางตัวแทน เพื่อป้องกันความเสียหายของปั๊ม



ปัญหาและการแก้ไขเบื้องต้นของปั๊มเคมี ยี่ห้อ MILTON ROY LMI model G Series

ปัญหาและการแก้ไขเบื้องต้น




1. ปั๊มทำงานแต่ไม่มีสารเคมีออกมา
• มีอากาศอยู่ในหัวปั๊ม
• แผ่นไดอะแฟรมแตก
• ไม่เติมน้ำมันเกียร์ หรือเติมน้อยเกินไป (จะทำให้เฟืองด้านในเสียหายได้)
• มอเตอร์หมุนผิดทาง (ต้องหมุนตามเข็มนาฬิกา เมื่อมองจากด้านบน)

2. มีน้ำมันรั่วบริเวณจุกเดรนด้านล่างปั๊ม
• Oil seal ชำรุด

3. มีเคมีรั่วบริเวณจุกเดรนด้านล่างปั๊ม
• แผ่นไดอะแฟรมแตก (ให้หยุดปั๊มทันที)

4. มีน้ำมันรั่วบริเวณปุ่มปรับอัตราการสูบจ่าย
• ไม่ได้ล็อคปุ่มปรับ
• ปรับอัตราการจ่ายต่ำากว่า 0%



วันอาทิตย์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การบำรุงรักษาปั๊มเคมี ยี่ห้อ MILTON ROY LMI model G Series


การบำรุงรักษาปั๊มเคมี 
• ควรตรวจสอบสภาพทั่วไปของปั๊มเคมีอย่างสม่าเสมอ
• ควรตรวจสอบรอยรั่วตามจุดข้อต่อต่างๆอย่างสม่าเสมอ
• ควรตรวจเช็คหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆที่อาจเสื่อมสภาพได้ ตามการใช้งาน
• ดูแลรักษาความสะอาดตัวเรือนปั๊ม




วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ปัญหาปั๊มไม่สูบจ่ายของ Metering Pump ยี่ห้อ MILTON ROY LMI model G Series

ตัวอย่างปัญหาที่เกิดขึ้นกับตัวปั๊ม Metering Pump ยี่ห้อ MILTON ROY LMI model G Series คืออาการปั๊มไม่สูบจ่าย

การตรวจเช็คเบื้องต้น
- ไม่มีไฟเข้าสู่ปั๊ม หรือจ่ายไฟผิด (1)
- เซ็ตปุ่มปรับสโตรกไว้ที่ 0 (2)
- ที่วาล์วขาดูด หรือที่ขาจ่ายถูกบล็อกอยู่ (Valve, Filter) (3)
- ของเหลวในถังเก็บไม่เพียงพอ








วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วิธีประกอบเครื่องเติมอากาศกังหันตีน้ำ 4 ใบพัด



วิธีประกอบเครื่อง (กังหันตีน้ำไฟฟ้า 4 ใบพัด)
1. นำทุ่นมาตั้งเรียงกัน 3 ลำ
2. นำแท่น STL มาประกอบติดกับทุ่น โดยยึดน๊อตให้แน่น (ใช้น๊อต 12 ชุด)
3. นำตุ๊กตามาประกอบกับแท่น (ตามรูป) (ใช้น๊อต 4 ตัว)
4. ยกมอเตอร์เกียร์ขึ้นตั้งตรงกลางให้ได้ศูนย์กับตุ๊กตา (ใช้น๊อต 4 ตัว)
5. นำยางยอยครบชุดประกอบกับเพลาเกียร์ 2 ข้างให้แน่น
6. นำใบพัดสวมเข้าไปในเพลา STL 2 เส้น
7. ยึดน๊อตให้แน่นหมดทุกตัว



Web1 : https://www.กังหันตีน้ํา.com/16507136/-กังหันตีน้ำ-4-ใบพัดไฟ1เฟส-pp04-1ssWeb2 : https://www.airpumpcenter.supply/16701711/pure-power-ใบพัดเขียวWeb3 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=94442&Ntype=6

วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560

คู่มือการใช้งาน เครื่องเติมอากาศแบบตีใต้น้ำ (Air Jet Aerator)

คู่มือการใช้งาน
เครื่องเติมอากาศใต้ผิวน้ำ (Jet Aerator)
**คำแนะนำ กรุณาอ่านคู่มือ ก่อนประกอบติดตั้งเครื่อง**



การทำงานของเครื่อง
                Jet Aerator เป็นเครื่องเติมอากาศชนิดใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนเพลากลวง (Hollow Shaft) ที่มีใบพัดติดอยู่ปลายเพลา ด้วยความเร็วประมาณ 3000 รอบต่อนาที จะเกิดความดันที่แตกต่างกันที่บริเวณหัวจ่าย (Diffuser) ทำให้อากาศเหนือผิวน้ำจะถูกดูดลงไปตามรูเพลากลวง ผ่านหัวจ่าย (Diffuser) กระทบกับน้ำที่ถูกผลักด้วยความเร็วของใบพัดแตกกระจายเป็นฟอง ละเอียดเล็กๆ พุ่งลงไปในน้ำ ทำให้ฟองอากาศนี้แขวนลอยอยู่ในน้ำได้นาน ซึ่งเครื่องเติมอากาศแต่ละเครื่องมีความสามารถในการเติมออกซิเจนในสภาวะมาตรฐานได้ไม่น้อยกว่า 1.1 กก./ซม./แรงม้า
                เครื่องเติมอากาศตัวเครื่องจะยึดติดกับทุ่นที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ เครื่องนี้จะติดตั้งทำมุมกับผิวน้ำ และมุมนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ 30-60 องศา เพื่อให้เหมาะสมกับความตื้นลึกของน้ำ

รูปแบบแสดงการทำงาน


                เครื่องเติมอากาศตัวเครื่องจะยึดติดกับทุ่นที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ เครื่องนี้จะติดตั้งทำมุมกับผิวน้ำ และมุมนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ 20-23 องศา เพื่อให้เหมาะสมกับความตื้นของน้ำ ดังนี้



การติดตั้ง

การติดตั้งการใช้งานสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
                1. ติดตั้งตายตัวในกรณีที่ระดับน้ำที่จะทำการเตรียมออกซิเจนมีระดับคงที่ตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่จะติดตั้งโดยยึดด้านหน้า ( รูปที่1) หรือติดตั้งแบบยึดด้านข้าง (รูปที่2) และทำการปรับมุมก้มเงยตามความต้องการ

รูปที่1 ติดตั้งด้านหลังของเครื่อง

รูปที่2 ติดตั้งด้านข้างของเครื่อง

                2. ติดตั้งบนทุ่นลอยในกรณีที่ระดับน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทุ่นนี้จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำและจะปรับตัวเองไปตามการขึ้นลงของระดับน้ำ ทำให้รักษาระดับการพ่นของออกซิเจนลงไปในน้ำเป็นไปอย่างคงที่ เครื่องจะติดตั้งอยู่บนทุ่นลอยที่ทำจาก Polyethylene มีความเหนียวแข็งแรง หล่อเป็นชิ้นเดียวกันตลอด ภายในทุ่นบรรจุด้วยโฟม (Polyethylene) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันการจมของทุ่น ทุ่นนี้จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำและยึดด้วยเสาที่ท้ายทุ่น (รูปที่3) หรือยึดด้วยสลิงให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ (รูปที่4) จากนั้นให้ปรับมุมก้มเงยตามความต้องการ
 รูปที่3


 รูปที่4

                3. การต่อไฟฟ้าเข้าเครื่อง มอเตอร์ที่ใช้เป็นแบบ 3 สาย ใช้ได้ทั้งไฟ 220V และไฟ 380V โดยต่อไฟดังนี้
วิธีที่ 1. สำหรับไฟ 220V 3สาย ให้ต่อแบบ Delta (รูปที่5)
รูปที่5

วิธีที่ 2. สำหรับไฟ 380V 3สาย ให้ต่อแบบ Y (รูปที่6)
รูปที่6

                การต่อไฟฟ้าเข้ากับมอเตอร์ ต้องผ่านตู้ควบคุมไฟฟ้า ที่มีระบบ Overload Protection เพื่อป้องกันมอเตอร์เกิดการเสียหายจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน หรือลัดวงจร
                ให้ต่อสายเข้ามอเตอร์โดยมอเตอร์ต้องหมุนถูกต้องตามทิศทางการหมุนของใบพัด การตรวจสอบทิศทางการหมุนนี้ต้องกระทำโดยใบพัดต้องจมอยู่ใต้น้ำ เพราะบูชที่ปลายเพลาต้องการน้ำเป็นตัวหล่อลื่น (รูปที่7)
รูปที่7

ห้าม ทดลองหรือเดินเครื่องโดยใบพัดพ้นน้ำเป็นอันขาด บูชที่ปลายเพลาจะเสียหายทันที (รูปที่8)
รูปที่8

ต้อง แน่ใจว่า รูสำหรับให้น้ำเข้าไปหล่อลื่นที่บูชใบพัด ต้องจมอยู่ใต้น้ำ (รูปที่9)
รูปที่9

การใช้งานและการดูแลรักษา
                ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนก็มีเพียงเพลากับใบพัด ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาน้อยมากในการดูแล แต่อย่างไรก็ดี ควรปฎิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
                ขั้นแรก ให้สังเกตการณ์ทำงานของเครื่องว่าเดินเรียบ ไม่มีการสั่นสะเทือนที่ตัวเครื่อง ถ้าเป็นเครื่องที่ติดตั้งตายตัวให้สังเกต โดยใช้มือสัมผัสกับขายึดเครื่อง และถ้าเป็นเครื่องที่ติดอยู่บนทุ่นลอยตัวให้สังเกตดูได้จากน้ำที่อยู่รอบข้างทุ่นว่ากระเพื่อมมากน้อยเพียงใด
                ถ้าเครื่องเดินไม่เรียบ มีการสั่นมาก อาจจะมีเศษขยะไปติดพันใบพัดหรือเพลา ให้ทำการแก้ไขถ้าไม่หายให้ตรวจสอบดูว่ายอยห์คดหรือไม่ ซึ่งปกติจะไม่มีปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะเป็นยอยห์สปริง แต่อาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ไม่เข้าใจในการถอดประกอบ โดยการโยกเพลาไปมามากเกินมุมกำหนดที่ยอยห์จะรับได้ ทำให้เพลาและยอยห์ ไม่ต่อเป็นแนวตรงเดียวกัน ทำให้มีอาการสั่นเมื่อเดินเครื่อง ในกรณีเช่นนี้อาจจะต้องเปลี่ยนเพลาทั้งเส้น
                7วันหลังจากติดตั้ง
                เมื่อติดตั้งเครื่องใหม่ๆ และใช้งานไปประมาณ 7 วัน ให้ตรวจขันน๊อตสกรูต่างๆ ว่าขันเข้าที่ทุกตัว หลังจากนั้นแล้วให้ตรวจสอบทุกๆ 6 เดือน
                ทุกๆ 6 เดือน
                ให้หยุดเครื่องและตรวจสอบสภาพการใช้งานทั่วไป
                1. ใช้มือหมุนใบพัดดูว่าหมุนไปได้คล่อง ไม่มีการติดขัดของลูกปืนมอเตอร์
                2. ใช้มือโยกใบพัดดูว่าเพลาไม่คลอนกับตัวบูชมากนัก ปกติตัวช่องว่างระหว่างเพลากับปลอกบูช จะอยู่ระหว่าง 0.5-1.5 มม.(รูปที่10) การใช้งานปกติโดยทั่วไป บูชนี้จะเสียหายต้องใช้เวลาเป็นปี แต่ในกรณีที่น้ำมีทรายปนมากๆ หรือมีวัตถุอื่นเจือปนที่มีลักษณะแข็งเหมือนผงขัด ก็จะทำให้บูชสึกหรอเร็วกว่าปกติ

รูปที่10

                3. ถ้ามีช่องว่างระหว่างปลอกเพลากับบูชมากเกินไป จะทำให้เครื่องเดินไม่เรียบ เพลาแกว่งและทำให้ลูกปืนมอเตอร์เสียเร็วกว่าปกติ และกินไฟฟ้า ให้ทำการเปลี่ยนปลอกเพลากับบูชใหม่ (ดูวิธีการถอดประกอบ)
                4. ตรวจสอบขันสกรูทุกตัวให้เข้าที่
                ทุกๆ 1 ปี
                ให้หยุดเครื่อง และถอดชิ้นส่วนต่างๆ ออกเพื่อตรวจสอบสภาพการใช้งาน เปลี่ยนชิ้นส่วนที่จำเป็นตรวจสอบลูกปืนมอเตอร์ เปลี่ยนหรืออัดจารบีตามความเหมาะสม (ดูวิธีการถอดประกอบ)


ปัญหาและการแก้ไข


การถอดประกอบ
                เมื่อปลดสายไฟฟ้า และเครื่องออกจากฐานติดตั้งแล้ว ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ การทำผิดขั้นตอนอาจจะก่อให้เกิดการเสียหายต่อชิ้นส่วนได้
การถอดตัวเครื่อง
1. เช็คเครื่องให้แห้งแล้วตั้งลงบนพื้นโดยให้ตัวมอเตอร์อยู่ด้านล่างและปลายใบพัดชี้ขึ้นด้านบน
2. คลายการ์ดใบพัดให้หลวม และรูดการ์ดลงมาด้านล่าง ให้ใบพัดไม่มีสิ่งกีดขวาง เพื่อสะดวกในการถอด (ดูรูปที่11)
3. ใช้ไขควงสอดเข้าที่รูอากาศที่เสื้อเครื่อง และร้อยทะลุผ่านช่องว่างกลมๆ ที่ยอยห์ออกไปอีกข้างหนึ่งเพื่อขวางไว้ไม่ให้เพลาหมุน (ใช้มือช่วยหมุ่นใบพัดขณะดูช่องว่างที่ยอยห์ ดูรูปที่11)
4. คลายน๊อตล็อคปลายใบพัดออก โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา
5. คลายใบพัดออกโดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา
6. ดึงการ์ดออกจากเสื้อเพลา
7. คลายน๊อตที่ยึดเสื้อกับมอเตอร์ออก
8. ดึงเสื้อออกจากมอเตอร์
9. ถอดปลอกรองปลายเพลาออก
10. คลายสกรูตัวหนอนที่ยอยห์ออก
11. ใช้เครื่องมือถอดยอยห์ดันยอยห์ออกมาจากเพลามอเตอร์ และถอดลิ่มออก (ดูรูปที่12)
รูปที่11


รูปที่12




วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

คู่มือการใช้งาน และวิธีการรักษา เครื่องเติมอากาศ ยี่ห้อ HIBLOW รุ่น HP-40 ถึง HP-200

AIR PUMP "HIBLOW"

คู่มือการใช้งาน และวิธีการรักษา เครื่องเติมอากาศ ยี่ห้อ HIBLOW รุ่น HP-40 ถึง HP-200


A.การติดตั้งเครื่องเติมอากาศ
1. ควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศอยู่เหนือระดับน้ำเสมอ เพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของของเหลว หรือน้ำเข้าเครื่องเติมอากาศ
2. ควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศภายในชายคา
3. ห้ามติดตั้งเครื่องเติมอากาศในพื้นที่มีน้ำไหลนอง
4. เพื่อลดการเกิดไฟฟ้าช็อตลัดวงจร ควรมีการต่อสายดิน
5. ควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศในพื้นที่ที่อากาศถ่ายเทสะดวก
6. หลังการเดินท่อ ควรตรวจสอบสิ่งอุดตันในท่อเพื่อป้องกันการอุดตันที่เกิดขึ้น

B.วิธีการดูแลรักษาเครื่องเติมอากาศ
1. ควรดูแลรักษาไส้กรองอากาศทุก 2-4 อาทิตย์ ต่อ ครั้ง (ตามสภาพบริเวณติดตั้ง)
2. ควรดูแลรักษาไส้กรองเสียงภายในเครื่องทุก 4 อาทิตย์ ต่อ ครั้ง
3. ควรดูแลปลั๊กไฟให้อยู่ในสภาพการใช้งานที่เหมาะสม

C.วิธีตรวจสอบ และการแก้ปัญหา
อาการ
1. เครื่องเติมอากาศไม่ทำงาน
สาเหตุ
1. ปลั๊กไฟฟ้าไม่มีไฟจ่ายออกมา
2. สายไฟชำรุด
3. เครื่องใช้งานเกินกำลัง
วิธีการแก้ปัญหา
1. ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟฟฟ้า
2. เปลี่ยนสายไฟเส้นใหม่
3. ตรวจสอบสวิทย์ภายในเครื่อง หรือส่งกลับหาตัวแทนจำหน่าย


หลักการทำงานเบื้่องต้นของเครื่องเติมอากาศ
     เมื่อไฟฟ้า กระแสสลับถูกส่งเข้าก้อนแม่เหล็กไฟ แท่นแม่เหล็กจะเคลื่อนที่ ซึ่งเกิดจากแรงดูดของแม่เหล็กและแรงผลักระหว่างก้อนแม่เหล็กไฟฟ้าและแท่งแม่เหล็ก แท่งแม่เหล็กจะสั่นที่ความถี่เทียบกับแหล่งกำเนิดพลังงานและเปลี่ยนพื้นที่ของช่องว่างระหว่างยางไดอะแฟรม และห้องเสื้อ ผลที่ตามมา คือ มีการไหลเข้าของอากาศเกิดการบีบอากาศและระบายออกผ่านวาวล์
1. ความทนทาน
ส่วนที่เคลื่อนไหวของปั๊มคือ แท่งแม่เหล็กซึ่งเกิดจากการสั่นสะเทือนของแผ่นยางสังเคราะห์พิเศษ 2 เท่านั้น จึงทำให้ปั๊มทำงานได้ต่อเนื่องและยาวนาน
2. ไม่จำเป็นต้องใส่น้ำมัน
ไม่มีการเสียดทานระหว่าง แท่งแม่เหล็กและแผ่นยาง ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องใส่น้ำมันในตัวปั๊ม เป็นให้ได้อากาศที่สะอาด
3. ประสิทธิภาพที่สูง
การทำงานของปั๊มอยู่บนพื้นฐานของการเคลื่อนไหวของก้อนแม่เหล็กไฟฟ้า โดยปราศจากการใช้งานของอุปกรณ์ในปั๊มจึงทำให้มีการกินไฟน้อย และได้ประสิทธิภาพที่สูง
4. เล็กกระทัดรัด
ปั๊มอากาศ ประกอบด้วย ก้อนแม่เหล็กไฟฟ้า 2 ก้อน ก้อนหนึ่งอยู่ด้านหน้า และอีกด้านหนึ่งก้อนหลังวางที่ตำแหน่งสมดุลกัน เพื่อให้ได้การเคลื่อนไหวของแท่งแม่เหล็กที่สมบูรณ์แบบ
5. เสียงเงียบ
ปั๊มถูกออกแบบให้ฉนวนเก็บเสียง และระบบลมที่ทำงานดีเยี่ยมเพื่อลดเสียงดังของการทำงาน
6. ปริมาณลมที่สม่ำเสมอ
ปริมาณลมที่ระบายออกจากปั๊ม เกิดจากระบบลมที่ทำงานและการเคลื่อนไหวสม่ำเสมอของก้อนแม่เหล็กไฟฟ้าด้วยเหตุผลนี้ จึงให้ได้ปริมาณที่สม่ำเสมอจากตัวปั๊ม
7. บำรุงรักษาง่าย
ปั๊มถูกออกแบบให้อุปกรณ์ชิ้นส่วนในปั๊มทำงานอย่างอิสระ จึงทำให้ง่ายและสะดวกต่อการเปลี่ยนอะไหล่ที่ชำรุด





วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

คู่มือการใช้งาน การติดตั้ง "ShinMaywa" ARH SERIES (Helical Rotor Blower)

คู่มือการใช้งาน การติดตั้ง
AIR BLOWER ( 3 Lobe, Helical Rotor Type)
ARH SERIES

การติดตั้ง
1. ติดตั้ง Blower แต่ละตัวให้มีพื้นที่โดยรอบเพียงพอเหมาะสำหรับงานซ่อมบำรุง เช่น
ถ่านน้ำมันหล่อ ลื่น, ถอดรื้อ Blower ฯลฯ
2. ติดตั้งในห้องที่มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก อุณหภูมิต่ำกว่า 40 องศาเซลเซียส
   1.1) การตรวจสอบก่อนติดตั้ง
       1. ตรวจสอบเพื่อความแน่นอนว่า Pulley สามารถหมุนได้อิสระ โดยทดลอง
หมุนด้วยมือ
       2. น้ำมันหล่อลื่นอยู่ในระดับที่กำหนด
   1.2) ติดตั้ง Blower บนฐานให้แน่นโดยใช้น็อตเป็นตัวยึด
   1.3) ต่อท่อปล่อยอากาศตรงทางออกของ Blower
       ก. น้ำหนักของท่อจะต้องไม่มีผลต่อหน้าแปลนของ Blower
       ข. สิ่งแปลกปลอมจะต้องไม่มีตกค้างอยู่ในท่อ
       ค. Safety Valve และ Silencer จะติดตั้งกับตัว Blower และขันน็อตให้
แน่น
   1.4) งานทางด้านไฟฟ้า
       ก. ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟฟ้าเช่น แรงดันไฟฟ้า (Voltage), ความถี่ ฯลฯ
ให้ตรงกับ Nameplate ของ Blower
       ข. งานทางไฟฟ้าทั้งหมดต้องอยู่ภายใต้การปฏิบัติงานของช่าง
ไฟฟ้า และเหมาะสมกับมาตรฐานของผู้ผลิตที่กำหนด
       ค. ตรวจสอบทิศทางการหมุนให้ถูกต้อง
   1.5) Pulley
ระดับเส้นขนานของ Pulley ; a = ในระยะ 1 mm /m


   1.6)Safety Valve
ปรับ Safety valve ดังต่อไปนี้
       ก. เปิดสวิทซ์ให้ Blower เริ่มการ
ทำงาน
       ข. ปิด Gate valve ทีละน้อยๆและ
เพิ่มแรงดัน
ขึ้นประมาณ 107% เมื่อเทียบกับ
แรงดันของ Spec สำหรับตัวอย่าง
แรงดันคือ 0.3kg/cm2 เพิ่มแรงดันเป็น 0.32 kg/cm2

       ค. คลายน็อตล็อก (Locknut)
       ง. คลายน็อตปรับแรงดัน (Adjustment Bolt) เพื่อระบายอากาศที่เพิ่มขึ้นของ
แรงดันออกไป
ข้อควรจำ : ถ้าแรงดันต่ำให้หมุนน็อตปรับแรงดัน (Adjustment Bolt) ทวน
เข็มนาฬิกา (หมุนทางซ้าย)
       จ. ขันน็อตล็อก (Locknut) จนแน่น
       ฉ. เปิด Gate valve ให้แรงดันต่ำลงและหยุดการคลาย Safety Valve
       ช. การทำงานของ Safety Valve จะทำการตรวจสอบใหม่โดยปิด Gate Valve ที
ละน้อยๆและเพิ่มแรงดันขึ้น สำหรับตัวอย่างเมื่อตั้งแรงดันไว้ที่ 0.32 kg/cm2
และ Safety Valve จะเริ่มทำงานใหม่อีกครั้งที่แรงดันเท่านี้
ข้อควรจำ : ในบางกรณีการเริ่มทำงานของ Blower มันต้องการเปิด Gate
Valve ให้เต็มที่และ Reset Safety Valve เพราะว่าทางออกของลมมีน้ำเป็น
Load มากเกินไป (เมื่อมีน้ำเต็มใน Aeration Pit) ในท่อ discharge




Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16701177/shinmaywa
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=538672849&Ntype=4


วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

คู่มือการใช้งานและติดตั้งปั๊ม SELF-PRIMING CENTRIFUGAL PUMP "GSD"

คู่มือการใช้งานและติดตั้งปั๊ม
SELF-PRIMING CENTRIFUGAL PUMP


การทดลองเดินปั๊มหลังการติดตั้ง
     หลังจากที่ได้ติดตั้งปั๊ม เข้ากับระบบท่อดูดและท่อส่งแล้ว ก่อนที่จะเดินเครื่องให้ปั๊มทำงานเป็นครั้งแรกจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสอบให้เรียบร้อยเสียก่อน มีอยู่บ่อยครั้งที่เสียหายในทันทีที่ทดลองให้ทำงานโดยมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการติดตั้ง ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มเดินเครื่องควรที่จะได้ตรวจสอบรายการดังต่อไปนี้เสียก่อน
     1. การหมุนของเพลา ตรวจสอบได้โดยการใช้มือหมุนเพราะดูว่าสามารถหมุนได้ง่ายหรือไม่ ถ้าฝืดมากไปหรือฝืดเป็นจุดแสดงว่าปั๊มและตัวกำลังยังไม่ได้ศูนย์ซึ่งกันและกันหรือมีการติดอุปกรณ์กันรั่วแน่นเกินไปจำเป็นต้องแก้ไขให้ถูกต้อง
     2. ทิศทางการหมุน ในกรณีที่ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าอาจมีการหมุนผิดทางได้ เนื่องจากต่อขั้วไฟฟ้าไม่ถูกต้องตรวจสอบได้โดยการเปิดและปิดสวิทซ์ทันที่ก็จะสังเกตทิศทางการหมุนได้
     3. การหล่อลื่น ในกรณีที่วัสดุหล่อลื่นของร่องลื่นเป็นน้ำมันก็จำเป็นต้องเติมน้ำมันที่มีคุณภาพตามที่
บริษัทผู้ผลิตกำหนดให้เติมตามระดับที่กำหนดไว้ และรักษาให้อยู่ในระดับดังกล่าวเสมอ
     4. การทำงานของอุปกรณ์ล่อน้ำ ตรวจสอบดูว่าอุปกรณ์ล่อน้ำทำงานตามที่ออกแบบไว้หรือไม่
     5. การทำความสะอาดภายในท่อระหว่างถังสูบและท่อสูบ ในการทำลองเดินเครื่องครั้งแรกสิ่งที่ระมัดระวังเป็นอย่างยิ่ง คือสิ่งแปลกปลอม เช่น ขยะหรือเศษโลหะต่างๆ ไหลเข้าไปติดในปั๊มถึงขนาดใช้งานไม่ได้ ดังนั้นอาจทำให้การติดตั้งเป็นแผ่นกรองชั่วคราวที่ท่อดูดเพื่อดักสิ่งแปลกปลอม

ข้อควรระวังก่อนการเริ่มเดินปั๊ม
ขั้นตอนในการเดินเครื่องปั๊มทำงานนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของปั๊มและการติดตั้งให้ปั๊มทำงานเมื่อเริ่มเดินเครื่องให้ปฏิบัติดังนี้
     1. ทำท่อน้ำให้น้ำเข้ามาหล่อเลี้ยงเรือนปั๊มจนเต็มก่อน ก่อนจะเดินเครื่องจะต้องแน่ใจว่ามีน้ำในท่อสูบ ทั้งนี้ เพราะว่าปั๊มส่วนใหญ่ต้องการน้ำมาหล่อลื่นระบายความร้อน ถ้าเดินเครื่องโดยไม่มีน้ำหล่อเลี้ยงเป็นเวลานาน แผ่นกันสึก ร่องลื่นและอุปกรณ์กันรั่วนี้จะชำรุดได้
     2. ท่อดูดจ่ายน้ำทางด้านท่อจ่าย โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเริ่มเดินเครื่องนั้นให้ใส่น้ำอยู่ในท่อเลย ทั้งนี้เพื่อ
ป้องกันไม่ให้มีอัตราการสูบสูง ให้มีประสิทธิภาพและไม่เกินวอเตอร์แฮมเมอร์ในระบบท่อขึ้น รวมทั้งไม่เกิดคาวิเตชั้นขึ้นด้วย
     3. เมื่อทุกอย่างพร้อมแล้วกดปุ่มเดินเครื่องปั๊มน้ำ
     4. หลังจากที่มอเตอร์หมุนได้รอบความดันในท่อสูบหรือหน้าประตูน้ำระดับที่กำหนดแล้วก็ค่อยๆ เปิดประตูจ่ายน้ำลดน้อยจนกระทั่งสุดหรือได้ตามอัตราที่ต้องการ



Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16792012/gsd
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539631410&Ntype=18


วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2560

คู่มือการใช้และการดูแลบำรุงรักษา เครื่องเติมอากาศ

คู่มือการใช้และการดูแลบำรุงรักษา
เครื่องเติมอากาศ
หลักการทำงานเบื้องต้น

            เมื่อกระแสไฟไหลผ่านขดลวดที่พันอยู่กับลวดแม่เหล็ก จะทำให้เกิดพลังแม่เหล็กที่แท่งแม่เหล็กนั้น แท่งแม่เหล็กจะเคลื่อนที่ไปทิศทางแรงดูดของแม่เหล็กและแรงผลักระหว่างก้อนแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นความถี่ เดียวกับกระแสไฟ AC การที่แท่งแม่เหล็กขยับส่งผลให้ระยะห่างระหว่างแผ่นไดอะแฟรมและห้องเสื้อทำให้เกิด การไหลเข้าของอากาศผ่านวาล์วแล้วบีบออกทางช่องลมอย่างสม่ำเสมอ

1. การติดตั้งของเครื่องเติมอากาศ
     1.1 ควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศอยู่ในที่ร่มหรือใต้อาคารที่ระบายอากาศได้ดี ไม่เปียกชื้น
     1.2 ควรติดตั้งเครื่องเติมอากาศ สูง กว่าระดับน้ำ เพื่อป้องกันปัญหาน้ำไหลย้อนกลับเข้าเครื่อง
เวลาปิดเครื่อง และหรือไฟฟ้าดับทันที
     1.3 การติดตั้งเครื่องเติมอากาศควรจะเผื่อระยะสายไฟกับเต้าเสียบไม่ให้ตึงเกินไป หรือ ระยะ
ห้อยของสายไฟมากเกินไป
     1.4 เมื่อติดตั้งเครื่องเสร็จแล้ว ควรตรวจสอบให้ละเอียดอีกครั้งก่อนใช้งาน อย่าเสียบปลั๊กหรือ
สายไฟเปียกชื้น
     1.5 ในกรณีที่เพิ่มสายไฟ ควรตรวจสอบก่อนว่าขนาดเบอร์ของสายไฟใช้ร่วมกันได้หรือไม่

2. การใช้งานและดูแลบำรุงรักษา
     2.1 เครื่องเติมอากาศถูกออกแบบมาใช้เป่าอากาศ ห้าม นำไปใช้ในน้ำ หรือ ของเหลว
     2.2 ควรทำความสะอาดแผ่นกรองอากาศทุก 3 เดือน แผ่นกรองอากาศที่อุดตันเป็นสาเหตุของ
ความร้อนสูงผิดปกติ
     2.3 ไม่มีการเสียดทานระหว่างแท่งแม่เหล็กและแผ่นยางไดอะแฟรม ดังนั้นไม่จำเป็นต้องใส่
น้ำมันในตัวปั้ม อากาศที่ออกมาสะอาด
     2.4 เครื่องเติมอกาศถูกออกแบบให้อุปกรณืชิ้นส่วนในปั้มทำงานอย่างอิสระ จึงทำให้ง่ายและ
สะดวกต่อการดูแลและการเปลี่ยนอะไหล่ที่ชำรุด
     2.5 อุณหภูมิขณะใช้งานที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 41 °F - 104 °F
     2.6 การใช้งานในอุณหภูมิที่สูงกว่ากำหนดเป็นสาเหตุให้ปั้มเสียหาย หรือ ลดอายุการใช้งาน ควร
ตรวจสอบแผ่นกรองอากาศอุดตัน หรือ ท่อส่งอากาศอุดตันหรือเปล่า
     2.7 กรณีปั้มตกน้ำ หรือ น้ำเข้าเครื่อง ห้ามแตะ หรือ จับตัวปั้มเด็ดขาด ควรดึงปลั๊กออกก่อนแล้ว
ค่อยมาซ่อมบำรุง ตรวจเช็ค หรือส่งกลับที่ศูนย์จัดจำหน่ายและบริการ



Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php

วันอังคารที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2560

คู่มือบำรุงรักษา เครื่องจ่ายอากาศ(AIR BLOWER) LONGTECH ROOTS BLOWER

คู่มือบำรุงรักษา



1.ข้อควรระวัง 
  1.1 ก่อนที่จะทำการตรวจเช็คหรือซ่อมบำรุงรักษามอเตอร์ จะต้องทำการปิดสวิทซ์ไฟฟ้าของปั๊มลมก่อนเสมอ
  1.2 จะต้องตรวจสอบฝาครอบตัวกรองอากาศ ฝาครอบมอเตอร์ปั๊มลมจะต้องครอบและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เสมอ

2.การติดตั้ง
  2.1 ก่อนการติดตั้งปั๊มลมจะต้องตรวจสอบดูว่าระดับน้ำมันอยู่ในระดับปกติหรือไม่และทำการซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุดก่อนทำการติดตั้งปั๊ม
  2.2 ควรที่จะทำการติดตั้งพัดลมระบายอากาศภายในห้องปั๊มลม ถ้าหากอุณหภูมิในห้องสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เพื่อทำการระบายอากาศร้อนออกไปและยังช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มลม
  2.3 เมื่ออากาศภายนอกมีความสกปรกมาก ควรที่จะติดตั้งกรองอากาศที่ทางดูดของปั๊มลม
  2.4 เมื่อใช้เป็นปั๊มดูดลมควรที่จะติดตั้งกรองอากาศที่ทางดูดของปั๊มลมด้วย เพื่อป้องกันเศษวัสดุถูกดูดเข้าไปในตัวโรเตอร์ของปั๊มลม ซึ่งจะทำให้โรเตอร์ปั๊มเสียได้
  2.5 ควรติดตั้งปั๊มลมบนแท่นเครื่องและควรมีแท่นยางรองรับแท่นมอเตอร์ปั๊มลม เพื่อช่วยลดแรงสั่นสะเทือนของปั๊มทำให้ยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น

3.ระบบท่อ
  3.1 ติดตั้งวาลว์กันลมย้อนกลับเข้าไปในห้องปั๊ม ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ปั๊มลมทำงานหนักมากกว่าปกติ
  3.2 ท่อลมที่ใช้ควรเป็นท่อเหล็กและควรติดตั้งข้อต่ออ่อนระหว่างปั๊มลมกับท่อเมนลม เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนของท่อ

4. การเดินปั๊มลม
ก่อนที่จะทำการเดินปั๊มลมควรแน่ใจว่าได้ทำการตรวจสอบตามหัวข้อข้างล่างนี้แล้ว
  4.1 ระบบไฟฟ้า
  4.1.1 ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ที่ออกมาว่าถูกต้องกับมอเตอร์หรือไม่
  4.1.2 ตรวจสอบการเข้าสายมอเตอร์และขนาดสายไฟฟ้าที่ใช้ว่าถูกต้องหรือไม่
  4.2 ระบบท่อลม
  4.2.1 ตรวจสอบในระบบท่อว่ามีเศษวัสดุค้างในท่อหรือไม่พร้อมทั้งทำความสะอาดภายในระบบท่อโดยใช้ลมอัดไล่ออกมา
  4.2.2 ควรทำการตรวจสอบระดับลาดเอียงของท่อว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะจะทำให้เกี่ยวเนื่องต่อประสิทธิภาพของลมที่ออกมา ต้องเดินท่อตามหลักงานเดินท่อลม
     4.3 ระบบขับสายพาน
          4.3.1 ระยะตึงของสายพานที่ดีที่สุดควรมีค่าความหย่อนอยู่ที่ 5-10 มม. วิธีการตรวจสอบโดยการกดที่จุดกึ่งกลางของสายพานแล้วดูความหย่อน ถ้าพบว่าสายพานหย่อนเกินค่ามาตรฐานให้ทำการตั้งใหม่ทันทีและควรตรวจสอบทุกๆ สัปดาห์
  4.4 ตรวจสอบทิศทางการหมุนว่าถูกต้องหรือไม่
  4.4.1 ทำการตรวจสอบทิศทางการหมุนของมอเตอร์ให้ถูกต้องตรงตามลูกศรที่ชี้บอก ซึ่งติดไว้บนฝาครอบมอเตอร์
  4.5 ตรวจสอบวาลว์ระบายแรงดัน
  4.5.1 ควรตั้งค่าวาลว์ระบายลมเกินอยู่ที่ค่าใช้แรงดัน 1.1-1.5 ปอนด์
  4.6 ระบบหล่อลื่น
  4.6.1 จะมีช่องตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น 2 ช่อง ต้องตรวจสอบดูว่าน้ำมันอยู่ในระดับปกติหรือไม่ ระดับน้ำมันจะต้องอยู่ที่ 2/3 ของช่องระดับ ถ้าพบว่าเหลือน้อยกว่า ½ ของระดับน้ำมันให้ตรวจสอบดูว่าเกิดการรั่วตามจุดต่างๆ หรือไม่จุดที่ตรวจสอบได้แก่ ฝาครอบเกียร์,ช่องระดับ,รูถ่ายน้ำมัน หากพบรอยรั่วให้ทำการแก้ไข แล้วจึงเติมน้ำมันหล่อลื่นให้ได้ระดับก่อนที่จะเดินปั๊มลม
  4.6.2 ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
- น้ำมันหล่อลื่นเปลี่ยนถ่ายทุก ๆ 5,000 ชม. หรือ ทุกๆ 6 เดือน
- ไส้กรองอากาศควรเปลี่ยนทุกๆ 3,000 ชม. หรือ ทุกๆ 4 เดือน
  4.6.3 เบอร์น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ เชลล์ โอมาลา (SHELL-OMALA) เบอร์ 150-220 LONGTECH Lubricate เบอร์ 180-240 หรือที่เทียบเท่าเบอร์คุณภาพนี้

5.การบำรุงรักษา
  5.1 ตรวจเป็นประจำ
ตรวจสอบทิศทางการหมุนของปั๊มลมว่าถูกต้องหรือไม่ และตรวจสอบวาลว์นิรภัยว่าตั้งถูกต้องกับค่ามาตรฐานหรือไม่
  5.2 ตรวจสอบประจำวัน
ตรวจสอบแรงดันว่าถูกต้องหรือไม่,ตรวจสอบระดับน้ำมันว่าปกติหรือไม่ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าถูกต้องหรือไม่,ตรวจสอบสายพานปกติหรือไม่
  5.3 ตรวจสอบประจำ 3 เดือน
ตรวจสอบสภาพน้ำมันว่าสกปรกหรือไม่,ระดับน้ำมันผิดปกติหรือไม่,ตรวจสอบและปรับระตึงหย่อนของสายพานให้อยู่ในสภาพปกติ,ตรวจสอบวาลว์นิรภัยและตั้งค่าให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน,ทำความสะอาดไส้กรองอากาศทางดูดเข้า
  5.4 ตรวจสอบประจำ 4 เดือน เปลี่ยนไส้กรองอากาศ
  5.5 ตรวจสอบประจำ 6 เดือน เปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น
  5.6 ตรวจสอบประจำ 1 ปี เปลี่ยนสายพาน
  5.7 ตรวจสอบประจำ 3 ปี เปลี่ยนลูกปืน และซีลกันน้ำมัน


6.วิธีการแก้ไข ปั๊มลมเบื้องต้น
  6.1 ปัญหาที่พบ -  ปั๊มลมหยุดทำงาน
สาเหตุ -  ตัวโรเตอร์อาจเป็นสนิม หรือ อาจเกิดปัญหาห้องโร
   เตอร์ที่เกิดลมดันย้อนหรือโรเตอร์ขัดกันเอง
-  สายพานลื่นหรือขาด
-  กระแสไฟฟ้าตกหรือมาไม่ครบเฟส
การแก้ไข -  ทำความสะอาดโรเตอร์และตรวจสอบทิศทางการหมุน,
   ตรวจสอบแรงตึงของสายพาน
-  เปลี่ยนสายพานหรือปรับใหม่ให้ถูกต้อง
-  ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าที่มาถูกต้องหรือไม่
  6.2  ปัญหาที่พบ -  ไม่มีลมออกมา
สาเหตุ -  วาลว์ไม่เปิด,เช็ควาลว์ค้างหรือขัดตัวหรือติดเช็ควาลว์ผิดทาง
-  โรเตอร์หมุนกลับทิศทาง
-  มีการรั่วในท่อและข้อต่อต่างๆ
-  มีสิ่งของหรือเศษวัสดุอุดตันในเส้นท่อลม
การแก้ไข -  เปิดวาลว์ ตรวจสอบเช็ควาวล์ และติดตั้งทิศทางการไหลให้ถูกต้อง
-  สลับขั้วไฟฟ้า 2 สาย จากไฟฟ้า 3 เฟส ขั้ว UVW
-   อุดรอยรั่วต่างๆ  และขันใหม่ให้แน่น
-  ทำความสะอาดท่อใหม่ทั้งหมด
  6.3  ปัญหาที่พบ -  เสียงดังผิดปกติ
สาเหตุ -  มีสิ่งสกปรกในห้องเครื่องโรเตอร์
-  ลูกปืนแตกซึ่งทำให้โรเตอร์ติดกันจึงเกิดเสียงดังขึ้นมา
-  เกียร์ขับโรเตอร์ชำรุดจึงทำให้โรเตอร์แตะกันจึงเกิดเสียงดังขึ้นมา
-  ไม่มีน้ำมันหล่อลื่น
-  อัตราการไหลลมออกมาสูงมากกว่าปกติ
-  น้ำมันหล่อลื่นสกปรกมาก
การแก้ไข -  ตรวจสอบท่อทางออก,เช็ควาลว์ต่างๆว่าปรับ และตั้งค่าถูกต้องหรือไม่
-  ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นอยู่ในระดับปกติหรือไม่
-  ติดตั้งพัดลมระบายอากาศในห้องปั๊มลมเพื่อระบายอากาศร้อนออกไปให้เร็วขึ้น
  6.4  ปัญหาที่พบ -  น้ำมันรั่ว
สาเหตุ -  ตรวจสอบที่รูถ่ายน้ำมันด้านล่างของห้องเกียร์ว่าปิดสนิทหรือไม่
-  ตรวจสอบว่าน้ำมันร้อนเกินไปหรือไม่ซึ่งทำให้เกิดแรงดันน้ำมัน
           ไม่เพียงพอหรือใส่เบอร์น้ำมันหล่อลื่นปั๊มลมผิด
-  ห้องเก็บน้ำมันมีปัญหามีรอยรั่วซึม
-  ซีลกันน้ำมันรั่วหรือประกอบซีลที่ฝาครอบผิด
-  ช่องตรวจน้ำมันรั่วซึมออกมา
การแก้ไข -  หยุดเดินปั๊มลมปิดสวิทซ์ไฟฟ้าก่อนซ่อมแล้วตรวจสอบระดับ
   น้ำมันหล่อลื่นว่าถูกต้องหรือไม่
-  ตรวจสอบความร้อนของน้ำมันผิดปกติแรงดันถูกต้องหรือไม่ 
       เบอร์ น้ำมันหล่อลื่นถูกต้องหรือไม่
-  ประกอบฝาครอบน้ำมันใหม่หรือเปลี่ยนใหม่
-  เปลี่ยนซีลกันน้ำมันใหม่และประกอบให้ถูกต้อง
-  ขันช่องตรวจสอบให้แน่น
-  ตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่นว่าสกปรกหรือไม่



Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16701189/longtech
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=203541&Ntype=4