คู่มือบำรุงรักษา
1.ข้อควรระวัง
1.1 ก่อนที่จะทำการตรวจเช็คหรือซ่อมบำรุงรักษามอเตอร์ จะต้องทำการปิดสวิทซ์ไฟฟ้าของปั๊มลมก่อนเสมอ1.2 จะต้องตรวจสอบฝาครอบตัวกรองอากาศ ฝาครอบมอเตอร์ปั๊มลมจะต้องครอบและอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์เสมอ
2.การติดตั้ง
2.1 ก่อนการติดตั้งปั๊มลมจะต้องตรวจสอบดูว่าระดับน้ำมันอยู่ในระดับปกติหรือไม่และทำการซ่อมแซมในส่วนที่ชำรุดก่อนทำการติดตั้งปั๊ม
2.2 ควรที่จะทำการติดตั้งพัดลมระบายอากาศภายในห้องปั๊มลม ถ้าหากอุณหภูมิในห้องสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส เพื่อทำการระบายอากาศร้อนออกไปและยังช่วยยืดอายุการใช้งานของปั๊มลม
2.3 เมื่ออากาศภายนอกมีความสกปรกมาก ควรที่จะติดตั้งกรองอากาศที่ทางดูดของปั๊มลม
2.4 เมื่อใช้เป็นปั๊มดูดลมควรที่จะติดตั้งกรองอากาศที่ทางดูดของปั๊มลมด้วย เพื่อป้องกันเศษวัสดุถูกดูดเข้าไปในตัวโรเตอร์ของปั๊มลม ซึ่งจะทำให้โรเตอร์ปั๊มเสียได้
2.5 ควรติดตั้งปั๊มลมบนแท่นเครื่องและควรมีแท่นยางรองรับแท่นมอเตอร์ปั๊มลม เพื่อช่วยลดแรงสั่นสะเทือนของปั๊มทำให้ยืดอายุการใช้งานให้นานขึ้น
3.ระบบท่อ
3.1 ติดตั้งวาลว์กันลมย้อนกลับเข้าไปในห้องปั๊ม ซึ่งจะป้องกันไม่ให้ปั๊มลมทำงานหนักมากกว่าปกติ
3.2 ท่อลมที่ใช้ควรเป็นท่อเหล็กและควรติดตั้งข้อต่ออ่อนระหว่างปั๊มลมกับท่อเมนลม เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนของท่อ
4. การเดินปั๊มลม
ก่อนที่จะทำการเดินปั๊มลมควรแน่ใจว่าได้ทำการตรวจสอบตามหัวข้อข้างล่างนี้แล้ว
4.1 ระบบไฟฟ้า
4.1.1 ตรวจสอบแรงดันไฟฟ้า กระแสไฟฟ้า ที่ออกมาว่าถูกต้องกับมอเตอร์หรือไม่
4.1.2 ตรวจสอบการเข้าสายมอเตอร์และขนาดสายไฟฟ้าที่ใช้ว่าถูกต้องหรือไม่
4.2 ระบบท่อลม
4.2.1 ตรวจสอบในระบบท่อว่ามีเศษวัสดุค้างในท่อหรือไม่พร้อมทั้งทำความสะอาดภายในระบบท่อโดยใช้ลมอัดไล่ออกมา
4.2.2 ควรทำการตรวจสอบระดับลาดเอียงของท่อว่าถูกต้องหรือไม่ เพราะจะทำให้เกี่ยวเนื่องต่อประสิทธิภาพของลมที่ออกมา ต้องเดินท่อตามหลักงานเดินท่อลม
4.3 ระบบขับสายพาน
4.3.1 ระยะตึงของสายพานที่ดีที่สุดควรมีค่าความหย่อนอยู่ที่ 5-10 มม. วิธีการตรวจสอบโดยการกดที่จุดกึ่งกลางของสายพานแล้วดูความหย่อน ถ้าพบว่าสายพานหย่อนเกินค่ามาตรฐานให้ทำการตั้งใหม่ทันทีและควรตรวจสอบทุกๆ สัปดาห์
4.4 ตรวจสอบทิศทางการหมุนว่าถูกต้องหรือไม่
4.4.1 ทำการตรวจสอบทิศทางการหมุนของมอเตอร์ให้ถูกต้องตรงตามลูกศรที่ชี้บอก ซึ่งติดไว้บนฝาครอบมอเตอร์
4.5 ตรวจสอบวาลว์ระบายแรงดัน
4.5.1 ควรตั้งค่าวาลว์ระบายลมเกินอยู่ที่ค่าใช้แรงดัน 1.1-1.5 ปอนด์
4.6 ระบบหล่อลื่น
4.6.1 จะมีช่องตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่น 2 ช่อง ต้องตรวจสอบดูว่าน้ำมันอยู่ในระดับปกติหรือไม่ ระดับน้ำมันจะต้องอยู่ที่ 2/3 ของช่องระดับ ถ้าพบว่าเหลือน้อยกว่า ½ ของระดับน้ำมันให้ตรวจสอบดูว่าเกิดการรั่วตามจุดต่างๆ หรือไม่จุดที่ตรวจสอบได้แก่ ฝาครอบเกียร์,ช่องระดับ,รูถ่ายน้ำมัน หากพบรอยรั่วให้ทำการแก้ไข แล้วจึงเติมน้ำมันหล่อลื่นให้ได้ระดับก่อนที่จะเดินปั๊มลม
4.6.2 ระยะเวลาในการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง
- น้ำมันหล่อลื่นเปลี่ยนถ่ายทุก ๆ 5,000 ชม. หรือ ทุกๆ 6 เดือน
- ไส้กรองอากาศควรเปลี่ยนทุกๆ 3,000 ชม. หรือ ทุกๆ 4 เดือน
4.6.3 เบอร์น้ำมันหล่อลื่นที่ใช้ เชลล์ โอมาลา (SHELL-OMALA) เบอร์ 150-220 LONGTECH Lubricate เบอร์ 180-240 หรือที่เทียบเท่าเบอร์คุณภาพนี้
5.การบำรุงรักษา
5.1 ตรวจเป็นประจำ
ตรวจสอบทิศทางการหมุนของปั๊มลมว่าถูกต้องหรือไม่ และตรวจสอบวาลว์นิรภัยว่าตั้งถูกต้องกับค่ามาตรฐานหรือไม่
5.2 ตรวจสอบประจำวัน
ตรวจสอบแรงดันว่าถูกต้องหรือไม่,ตรวจสอบระดับน้ำมันว่าปกติหรือไม่ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าถูกต้องหรือไม่,ตรวจสอบสายพานปกติหรือไม่
5.3 ตรวจสอบประจำ 3 เดือน
ตรวจสอบสภาพน้ำมันว่าสกปรกหรือไม่,ระดับน้ำมันผิดปกติหรือไม่,ตรวจสอบและปรับระตึงหย่อนของสายพานให้อยู่ในสภาพปกติ,ตรวจสอบวาลว์นิรภัยและตั้งค่าให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน,ทำความสะอาดไส้กรองอากาศทางดูดเข้า
5.4 ตรวจสอบประจำ 4 เดือน เปลี่ยนไส้กรองอากาศ
5.5 ตรวจสอบประจำ 6 เดือน เปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น
5.6 ตรวจสอบประจำ 1 ปี เปลี่ยนสายพาน
5.7 ตรวจสอบประจำ 3 ปี เปลี่ยนลูกปืน และซีลกันน้ำมัน
6.วิธีการแก้ไข ปั๊มลมเบื้องต้น
6.1 ปัญหาที่พบ - ปั๊มลมหยุดทำงาน
สาเหตุ - ตัวโรเตอร์อาจเป็นสนิม หรือ อาจเกิดปัญหาห้องโร
เตอร์ที่เกิดลมดันย้อนหรือโรเตอร์ขัดกันเอง
- สายพานลื่นหรือขาด
- กระแสไฟฟ้าตกหรือมาไม่ครบเฟส
การแก้ไข - ทำความสะอาดโรเตอร์และตรวจสอบทิศทางการหมุน,
ตรวจสอบแรงตึงของสายพาน
- เปลี่ยนสายพานหรือปรับใหม่ให้ถูกต้อง
- ตรวจสอบกระแสไฟฟ้าที่มาถูกต้องหรือไม่
6.2 ปัญหาที่พบ - ไม่มีลมออกมา
สาเหตุ - วาลว์ไม่เปิด,เช็ควาลว์ค้างหรือขัดตัวหรือติดเช็ควาลว์ผิดทาง
- โรเตอร์หมุนกลับทิศทาง
- มีการรั่วในท่อและข้อต่อต่างๆ
- มีสิ่งของหรือเศษวัสดุอุดตันในเส้นท่อลม
การแก้ไข - เปิดวาลว์ ตรวจสอบเช็ควาวล์ และติดตั้งทิศทางการไหลให้ถูกต้อง
- สลับขั้วไฟฟ้า 2 สาย จากไฟฟ้า 3 เฟส ขั้ว UVW
- อุดรอยรั่วต่างๆ และขันใหม่ให้แน่น
- ทำความสะอาดท่อใหม่ทั้งหมด
6.3 ปัญหาที่พบ - เสียงดังผิดปกติ
สาเหตุ - มีสิ่งสกปรกในห้องเครื่องโรเตอร์
- ลูกปืนแตกซึ่งทำให้โรเตอร์ติดกันจึงเกิดเสียงดังขึ้นมา
- เกียร์ขับโรเตอร์ชำรุดจึงทำให้โรเตอร์แตะกันจึงเกิดเสียงดังขึ้นมา
- ไม่มีน้ำมันหล่อลื่น
- อัตราการไหลลมออกมาสูงมากกว่าปกติ
- น้ำมันหล่อลื่นสกปรกมาก
การแก้ไข - ตรวจสอบท่อทางออก,เช็ควาลว์ต่างๆว่าปรับ และตั้งค่าถูกต้องหรือไม่
- ตรวจสอบระดับน้ำมันหล่อลื่นอยู่ในระดับปกติหรือไม่
- ติดตั้งพัดลมระบายอากาศในห้องปั๊มลมเพื่อระบายอากาศร้อนออกไปให้เร็วขึ้น
6.4 ปัญหาที่พบ - น้ำมันรั่ว
สาเหตุ - ตรวจสอบที่รูถ่ายน้ำมันด้านล่างของห้องเกียร์ว่าปิดสนิทหรือไม่
- ตรวจสอบว่าน้ำมันร้อนเกินไปหรือไม่ซึ่งทำให้เกิดแรงดันน้ำมัน
ไม่เพียงพอหรือใส่เบอร์น้ำมันหล่อลื่นปั๊มลมผิด
- ห้องเก็บน้ำมันมีปัญหามีรอยรั่วซึม
- ซีลกันน้ำมันรั่วหรือประกอบซีลที่ฝาครอบผิด
- ช่องตรวจน้ำมันรั่วซึมออกมา
การแก้ไข - หยุดเดินปั๊มลมปิดสวิทซ์ไฟฟ้าก่อนซ่อมแล้วตรวจสอบระดับ
น้ำมันหล่อลื่นว่าถูกต้องหรือไม่
- ตรวจสอบความร้อนของน้ำมันผิดปกติแรงดันถูกต้องหรือไม่
เบอร์ น้ำมันหล่อลื่นถูกต้องหรือไม่
- ประกอบฝาครอบน้ำมันใหม่หรือเปลี่ยนใหม่
- เปลี่ยนซีลกันน้ำมันใหม่และประกอบให้ถูกต้อง
- ขันช่องตรวจสอบให้แน่น
- ตรวจสอบน้ำมันหล่อลื่นว่าสกปรกหรือไม่
Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16701189/longtech
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=203541&Ntype=4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น