วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของปั๊มลม ปั้มลม ( AIR COMPRESSOR )

สวัสดีครับ ห่างหายไปนาน วันนี้เราจะมีพูดถึงประเภทของปั๊มลมกันนะครับว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ประเภทของปั๊มลม ปั้มลม ( AIR COMPRESSOR )

เขียนเมื่อ: วันอาทิตย์ 19 ธันวาคม 2553 16:21 ที่ใช้กันทั่วๆไปมี 6 ประเภท
  1. ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
  2. ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)
  3. ปั้มลมแบบ ไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR )
  4. ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )
  5. ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )
  6. ปั้มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR)
ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
เป็นปั้มลมที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถอัดลมได้ตั้งแต่ความดันต่ำ จนถึงความดันสูง สามารถสร้างความดันได้ตั้งแต่หนึ่งบาร์จนถึงเป็นพันบาร์
โดยขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นของการอัด ถ้าขั้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างความดันให้สูงขึ้นตามไปด้วย

ปั้มลมแบบสกรู ( SCREW COMPRESSOR )
ปั้มอัดลมชนิดนี้ภายในคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จะมีเพลา สกรูสองเพลาที่หมุนขบกัน เรียกว่า เพลาตัวผู้ และเพลาตัวเมีย
เพลาสกรูทั้งสองจะประกอบอยู่ในตัวเรือน เดียวกันโดยหมุนด้วยความเร็วรอบเกือบเท่ากัน ซึ่งเพลาตัวผู้จะหมุนเร็วกว่าเพลาตัวเมียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีทิศทางการหมุนเข้าหากัน
ทำให้ดูดลมจากด้านหนึ่ง และอัดส่งต่อไปอีกด้านหนึ่งได้ โดยสามารถทำให้ค่าความดันสูงถึง 10 บาร์ และมีอัตราการจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที
ปั้มลมแบบไดอะเฟรม ( DIAPHARGM COMPRESSOR )
ใช้หลักการของปั้มลมแบบลูกสูบโดยจะใช้ไดอะ เฟรมเป็นตัวทำให้ลูกสูบและห้องดูดอากาศแยกออกจากกัน นั่นหมายถึงว่า ลมที่ถูกดูดในปั้มอัดลมชนิดนี้จึงปราศจากน้ำมันหล่อลื่น ด้วยเหตุนี้ปั้มอัดลมแบบนี้ จึงนิยมใช้กันในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมเคมี
ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )
ปั้มลมชนิดนี้จะมีการหมุนที่เรียบสม่ำเสมอ เสียงไม่ดัง การผลิตลมเป็นไปอย่างคงที่ ความสามารถในการผลิตลมสามารถทำได้ 4 ถึง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ความดันที่ทำได้ 4 ถึง 10 บาร์
ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )
เมื่อโรเตอร์ทั้งสองหมุน อากาศจะถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ทำให้อากาศไม่ถูกอัดตัว แต่อากาศจะถูกอัดตัวในกรณีที่อากาศถูกส่งเข้าไปในถังเก็บลม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน
ปั้มลมแบบกังหัน ( RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR )
ปั้มลมชนิดนี้ใช้หลักการของกังหันใบพัด การเคลื่อนที่ของโรเตอร์มีความเร็วสูง จะทำให้ลมถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ปั้มลมแบบ นี้เหมาะกับงานที่ต้องการอัตราไหลของลมสูง คือ สามารถผลิตอัตราการจ่ายลมได้ตั้งแต่ 170 ถึง 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที แต่ความดันไม่สูงมากนัก คือ 4 ถึง 10 บาร์
 
เอนทรี่หน้าเราจะหาข้อมูลดีๆมาฝากกันอีกนะครับ

 ข้อมูลจาก raveeintertrade.com



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น