วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

คู่มือวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษา PRESSURE DIAPHRAGM TANK



คู่มือวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษา
PRESSURE DIAPHRAGM TANK



ประโยชน์ของถังแรงดัน   PRESSURE DIAPHRAGM TANK
1. เพื่อช่วยหน่วงการทำงานของเครื่องสูบน้ำ (Start-Stop) ให้มีระยะเวลาที่นานขึ้น
มีผลทำให้เครื่องสูบน้ำและระบบ Booster Pump มีอายุการใช้งานได้นานขึ้นเช่นกัน
(ช่วยลดพลังงาน, ลดค่าใช้จ่าย, ลดการสึกหรอ)
2. เพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในระบบท่อ

ตำแหน่งการติดตั้ง
1. ติดตั้งถังอยู่ใกล้ปั๊ม เป็นแบบที่เลือกใช้มากที่สุด เพราะสะดวก
และสามารถควบคุมดูแลได้ง่าย
2. ติดตั้งตรงกลางหรือส่วนปลายท่อ ในกรณีที่แรงดันใช้งานต้นทางสูงกว่า
แรงดันสูงสุดของถังแรงดันที่สามารถรับได้
3. ติดตั้งใกล้กับส่วนที่ระบบเกิดการ Shock เพื่อควบคุมการกระแทกหรือการเปลี่ยนแปลง
ความดันในระบบอย่างรวดเร็ว หรือเพื่อป้องกันการเกิดแรงดันย้อนกลับ,
เพื่อป้องกันอุปกรณ์ในระบบเกิดความเสียหาย เช่น  เช็ควาล์ว, โซลีนอยด์วาล์ว,
มิกซิ่งวาล์ว, มิเตอร์, ปั๊ม และท่อ

ระยะเวลาในการตรวจเช็ค 
1. เช็คการทำงานของ Booster  Pump  ทำงานผิดปกติหรือไม่ ทุกสัปดาห์
2. ตรวจเช็คลมใน Pressure Tank ทุกๆ 6 เดือน



อาการเสียและการแก้ไข





วิธีปฏิบัติและขั้นตอนในการเช็คลมในถัง
1. เช็คการ Start-Stop ของระบบว่าปั๊มเดินที่แรงดันเท่าไร และปั๊มหยุดที่แรงดันเท่าไร
2. ปิดวาล์ว No.1 แล้วไปเปิดวาล์ว No.2  เพื่อระบายน้ำในถังแรงดันออกจนหมด
3. ใช้เครื่องมือวัดลมยางรถยนต์ทั่วไป วัดลมในถังที่จุ๊บเติมลม No.3
  
หมายเหตุ
  • ถ้ามีน้ำออกมามากและต่อเนื่องจากลูกศรในขณะที่กด ให้สันนิษฐานว่ายางไดอะแกรมแตก
  • ถ้ากดแล้วมีลมออกมานิดหน่อย วัดลม แล้วอ่านค่าและจดบันทึกลมใน Pressure Tank จากเครื่องวัด
ตัวอย่าง
สมมุติว่าปั๊มในระบบเดินที่ 40 PSI และหยุดที่ 55 PSI
ลมในถังแรงดัน (Precharge Pressure) คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับจุด Start หรือ น้อยกว่า 10% ของจุด Start
จากตัวอย่าง จุด Start ของปั๊มที่ 40 PSI
        ดังนั้น ลมในถังจะต้องมี = 40 PSI หรือ น้อยกว่า 10 % ของจุด Start = 36 PSI  

1. ถ้าค่าที่อ่านจากเครื่องมือวัดลมยาง อ่านได้น้อยกว่าจุด Start มากๆ ให้เติมลม
2. เพิ่มเข้าไป แต่ถ้ามีมากกว่าจุด Start ให้เอา  ลมออก
3. เมื่อเติมลมถูกต้องแล้วให้ปิดวาล์ว 2  และ เปิดวาล์ว 1  ตามลำดับ

ข้อควรระวัง
1. ถ้ามีลมในถังแรงดันมากกว่าจุด Start มากจะทำให้ปั๊มไม่สามารถอัดน้ำเข้าในถังได้
2. ถ้าลมในถังแรงดันมีมากกว่าจุด Start และ Stop ของปั๊มมากเกินไป จะทำให้ระบบการ
Start-Stop  กระชากอย่างรุนแรง








ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น