วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ปั๊มจ่ายสารเคมี ปั๊มฟีดเคมี LMI MILTON ROY P+ Series , G Series

ปั๊มจ่ายสารเคมี ปั๊มฟีดเคมี  LMI MILTON ROY 

สวัสดีคะ วันนี้เอาใจผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับปั๊มจ่ายสารเคมีกันนะคะ พูดถึงปั๊มจ่ายสารเคมี การแบ่งชนิดของปั๊ม จะแบ่งจากระบบขับเคลื่อนคะ




1. ขับเคลื่อนโดยขดลวดเหนี่ยวนำ ( P+ Series)
ข้อดี
 - มีระดับชั้นการป้องกัน IP65
 - มีการสึกหรอเนื่องจากทำงานน้อย เพราะมีแค่แกนที่ติดแผ่นไดอะแฟรมเท่านั้นที่เคลื่อนที่
 - สามารถรับสัญญาณภายนอกได้โดยที่ราคาไม่สูงมาก
 - ง่ายต่อการซ่อมแซม และบำรุงรักษา

ปั๊มเคมีขณะจ่ายสารเคมี
เมื่อจ่ายกระแสไฟให้ขดลวด จะเกิดสนามแม่ เหล็กรอบๆขดลวด
และเหนี่ยวนำให้แกนแผ่นไดอะแฟรมเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
บอลด้านดูดจะถูกดันให้ปิดไว้ ส่วนบอลด้านจ่ายจะถูกดันให้เปิด

ปั๊มเคมีขณะดูดสารเคมี
 - เมื่อหยุดจ่ายกระแสไฟให้ปั๊มเคมี สปริงจะดึงแกนแผ่นไดอะแฟรม ให้กลับเข้าสู่ที่เดิม
 - แผ่นไดอะแฟรมจะเคลื่อนที่ถอยหลังและจะดูดสารเคมีที่อยู่ที่ในท่อขึ้นมา

ข้อควรระวังในการติดตั้ง
 - อินเจคชั่นวาล์วควรติดตั้งในแนวดิ่งและควรวางตัวดังรูป

 - ฟุตวาล์วควรวางตัวในแนวดิ่งและควรให้อยู่สูงจากก้นถังประมาณ 5 cm.
 - สายเคมีไม่ควรตัดให้ยาวเกินไปจนขดเป็นเกลียว
 - ระยะดูดของปั๊มเคมีไม่ควรเกิน 1.5 m.

2. ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า ( G Series)
ข้อดี
 - ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบ Variable eccentric ซึ่งจะให้การจ่ายเคมีเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
 - สามารถสูบจ่ายสารเคมีได้สูงถึง 1,800 l/h และทำแรงดันได้ถึง 12 bar
 - มีปุ่มสำหรับล็อคปุ่มปรับ
 - ระยะดูดสูงสุดไม่ควรเกิน 3 m.

การบำรุงรักษาปั๊มเคมี
 - ควรตรวจสอบสภาพทั่วไปของปั๊มเคมีอย่างสม่ำเสมอ
 - ควรตรวจสอบรอยรั่วตามจุดข้อต่อต่างๆอย่างสม่ำเสมอ
 - ควรตรวจเช็คหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆที่อาจเสื่อมสภาพได้ตามการใช้งาน
 - ดูแลรักษาความสะอาดตัวเรือนปั๊ม






P Series
Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16793536/p-series
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539631314&Ntype=24

G Series
Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16793537/g-series
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539631313&Ntype=24

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น