วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

คู่มือการใช้พัดลมติดผนังและตั้งพื้น Venz

 คู่มือการใช้พัดลมติดผนังและตั้งพื้น Venz



วิธีการใช้พัดลม

1.เสียบปลี๊กไฟเข้ากับเต้ารับไฟฟ้า 220V 50Hz
2.กดปุ่มสวิทช์ปรับแรงลม ตามลำดับ

0 = ปิด
1 = แรงลมระดับต่ำ
2 = แรงลมระดับกลาง
3 = แรงลมระดับสูง

3.การปรับส่าย กดปุ่มส่ายลง พัดลมจะส่าย ซ้าย - ขวา และดึงปุ่มส่ายขึ้น เมื่อต้องการให้แรงลมไปยังทิศทางใดทิศทางนึง

ข้อควรรระวัง

1.ดึงปล๊กไฟ ออกทุกครั้งที่ทำการถอด,เปลี่ยน,หรือประกอบชิ้นส่วนของพัดลม
2.ไม่ควรติดตั้งพัดลมบริเวณที่มีอุณภูมิสูงจัด ใกล้เตาไฟ หรือบริเวณที่เปียกน้ำ
3.ไม่ควรเปิดพัดลมใกล้ผ้าม่าน มุ้ง เพราะพัดลมอาจดึงวัสดุที่เบาเข้าไปติดในเครื่อง ทำให้เกิดอันตรายได้
4.ห้ามใช้นิ้วมือ ไม้ หรือสิ่งของยื่นเข้าไปในตะแกรงพัดลม ขณะที่พัดลมกำลังหมุน
5.ห้ามพ่นสเปรย์ทุกชนิด เช่น สเปรย์แต่งผม สเปรย์ทำความสะอาด เข้าไปในตัวพัดลมโดยเด็ดขาด

การปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนของพัดลม

        หากชิ้นส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สายไฟ สวิทช์ มอเตอร์ ชำรุดไม่ควรซ่อมด้วยตัวเองควรนำส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของบริษัท หรือช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น


https://www.airpumpcenter.supply



วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คู่มือการใช้งานปั๊มหอยโข่ง (STAC)

คู่มือการใช้งาน 

 Centrifugal Pumps (ปั๊มหอยโข่ง)

 STAC JX Series

การติดตั้ง

                1. การติดตั้งปกติให้ขาปั้มยึดพื้นในแนวนอน หากจำเป็น ปั้มนี้สามารถติดตั้งในลักษณะอื่นๆได้แต่เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าติดตั้งปั๊มในสักษณะที่มอเตอร์อยู่ใต้ระดับปั้ม หรือ กล่องต่อสายไฟฟ้าของมอเตอร์หงายลงดิน

            2. เพื่อความปลอดภัย โปรดยึดห่อโดยมีฐานรองรับตัวมันเอง และต่อห่อโดยอย่าให้ส่งแรงถ่วงหรือแรงยึดมายังหน้าแปลนของปั๊ม ในการต่อท่อเข้าหน้าแปลน ควรใช้หน้าแปลนมาตรฐาน 10 กก/เซน 2 หรือ 16กก/เซน 2 ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านในลักษณะกลมแบนมีเกลียว เส้นผ่าศูนย์กลาง ภายในของห่อควรจะมีขนาดเท่ากับหรือใหญ่กว่าชนาดเข้า-ออกของปั้มถ้าเป็นไปได้ควรจัดหาขนาดของท่อซึ่งมีอัตราการไหลของของเหลวไม่เกิน 2 เมตร / วินาที ที่ทางดูดและ 3 เมตร / วินาที ที่ทางส่ง

            ในการดูดจากบ่อซึ่งมีระดับต่ำกว่าปั๊ม ควรใส่ ฟุตวาล์ว (foot valve) โดยที่ปลายท่อต้องจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา ท่อทางดูดไม่ควรจะมีรอยรั่วเลย มิฉะนั้น ลมจะเข้าปั๊ม ทำให้ดูดไม่ขึ้น

            ท่อทางจ่ายควรติดตั้งเกตวาล์ว (gate valve) เพื่อปรับหัวน้ำและปริมาณน้ำที่งส่ง หากระดับหัวน้ำเกิน15เมตร ควรติดตั้งเช็ควาล์ว (check valve) ก่อนเกตวาล์ว (gate valve) เพื่อป้องกันการกระแทกกลับของน้ำ

       ก่อนต่อท่อ ควรให้แน่ใจก่อนว่าท่อสะอาด และควรหมุนปั๊มด้วยมือว่าไม่มีอะไรติดขัดการหมุนของปั็ม


การต่อสายไฟฟ้า


        สำหรับไฟ3สายให้ต่อสายไฟตามข้อมูลของปั๊มและตามแบบแปลนการต่อสายไฟที่แสดงอยู่ด้านในของฝาครอบกล่องต่อสายไฟของมอเตอร์ ควรติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับมอเตอร์ และควรติดตั้งสายดิน


การเดินเครื่อง


            ให้กรอกน้ำเข้าปั๊มและไล่อากาศออกจากปั๊มทั้งหมด โดยใช้วาล์วไล่อากาศ ห้ามเดินเครื่องปั๊มโดยไม่มีน้ำให้สูบ และไม่มีน้ำในปั๊ม (ห้ามวิ่งแห้ง)

            ควรตรวจดูทิศทางหมุนของปั๊มว่าถูกต้องหรือเปล่า หากใช้ไฟ3สายและเกิดการหมุนผิดทิษทาง ให้สลับสายไฟเพียง2เส้น เพื่อกลับทิษทางการหมุนให้ถูกต้อง ควรตรวจดูว่าปั๊มทำงานอยู่ภายใต้ขอบเขตการทำงานของปั๊มและมีแอมป์ไม่เกินกว่าที่แสดงบนป้ายของปั๊ม หากมีค่าเกินกว่าป้ายของปั๊ม ให้ปรับโดยเกตวาล์ว (gate valve) และสวิตช์ (pressure switch) หากมี หรือตรวจดูว่าปั๊มเกิดการอุดตันหรือเปล่า


การบำรุงรักษา


            เมื่อได้มีการทดสอบปั๊มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปั๊มรุ่น JX มักไม่ต้องมีการบำรุงรักษา ยกเว้นแต่การดูแลเป็นปกติเป็นระยะดังนี้

-ดูแอมป์ของมอเตอร์ ดูการดูด และหัวน้ำ

-ดูว่ามีการรั่วที่แมคคานิเคิ้ลซีล (Mechanical Seal) หรือไม่

-ฟังการทำงานของลูกปืน ว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ (อัดจารบี สำหรับชนิดลูกปืนที่ต้องการอัดจารบี)

หากปั๊มไม่ได้ใช้งาน และมีโอกาสเสี่ยงที่น้ำจะแข็งตัว ให้ถ่ายน้ำออกให้หมด เมื่อเดินปั๊มใหม่ ควรแน่ใจก่อนว่า ไม่มีอะไรอุดตันในปั๊ม หรือ ปัญหาอื่นที่จะทำให้ปั๊มไม่ทำงาน



https://www.airpumpcenter.supply





วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ชีวิตของเรากับเครื่องสูบน้ำ (ปั๊มพ์น้ำ)

ชีวิตของเรากับเครื่องสูบน้ำ (ปั๊มพ์น้ำ)

            น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อชีวิตของเราคนส่วนใหญ่อาจใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย โดยคิดว่าน้ำเป็นสิ่งที่ได้มาง่ายๆ แท้ที่จริงแล้วในสมัยโบราณการมีน้ำใช้อย่างไม่ขาดเป็นความฝันของมนุษย์ยุคนั้น ปัจจุบันความฝันเป็นจริงได้ก็ด้วยเครื่องมือชื่อ "เครื่องสูบน้ำ" หรือ "ปั๊มพ์น้ำ"

            เป็นที่ทราบกันดีถึงความสำคัญของเครื่องสูบน้ำในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา หากท่านสังเกตรอบตัวท่านท่านจะพบว่าเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ต่างๆ

            เครื่องสูบน้ำเริ่มต้นเกิดจากความต้องการยกน้ำจากระดับที่ต่ำไปหาระดับที่สูงกว่า ถ้าเราจะมองไปที่ประวัติของการพัฒนาเครื่องสูบน้ำแล้วจะพบว่า คนรุ่นก่อนได้พยายามประดิษฐ์ และใช้เครื่องสูบน้ำด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง

            จากภูมิปัญญาที่อาศัยกฎของธรรมชาติ อุปกรณ์ยกน้ำง่าย ๆ ได้ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นจนกระทั่ง การเคลื่อนย้ายน้ำแบบ prime mover ปรากฎขึ้น ทำให้เครื่องสูบน้ำ(ปั๊มพ์น้ำ) พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เราสามารถสูบส่งน้ำได้สูงมากกว่าที่เคยคาดเอาไว้

            ในบรรดาเครื่องสูบน้ำที่หลากหลายนั้น เครื่องสูบน้ำโวลูท หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทยหรืออีกชื่อหนึ่งคือเครื่องสูบหอยโข่งหรือปั๊มพ์หอยโข่ง (volute pump) ถือว่าเป็นเครื่องสูบที่ได้รับการพัฒนาก้าวหน้ามากที่สุด เพราะว่าสามารถสูบน้ำได้ในอัตราที่สูงและมีการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

            

            ข้อดีของเครื่องสูบน้ำโวลูท คือ

 1.มีความเร็วรอบสูงที่มาสามารถต่อเพลาได้โดยตรงกับเครื่องฉุดที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า (โดยไม่ต้องทดรอบ) มีขนาดกะทัดรัดและราคาต่ำ

2.มีประสิทธิภาพสูง

3.มีโครงสร้างที่ง่าย ซึ่งสะดวกต่อการตรวจตราและการบำรุงรักษา

4.การไหลของน้ำเป็นไปอย่างต่อนื่องและความดันที่จุดซัท-ออฟ (Shut-Off) ต่ำ ทำให้การต่อท่อทำได้ง่าย

5.สามารถเลือกใช้งานในช่วงอัตตราการไหลต่างๆกว้าง



https://www.airpumpcenter.supply




คู่มือในการติดตั้ง และการซ่อมบำรุง UNOMACH ROTARY BLOWER

 คู่มือในการติดตั้งและการซ่อมบำรุง UNOMACH ROTARY BLOWER

 Model ARS&ARC




การติดตัังและต่อท่อ

1. สถานที่ติดตั้ง

ในการเลือกสถานที่ติดตั้ง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะมีความสะดวกในการบำรุงรักษาและตรวจตรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเช็คเกจวัดระดับน้ำามันหล่อลื่นที่ด้านข้างของเฟือง นอกจากนี้สถานที่จะต้องเอื้ออำนวยต่อการติดตั้งและสามารถใช้เครนหรือรอกโซ่ (Chain Block) ยกเหนือเครื่องเพื่อการ Overhaul หรือบำรุงรักษาเครื่อง นอกจากนี้การระบายอากาศ เป็นเครื่องที่จำเป็นมาก ถ้าหากติดตั้งภายในอาคาร

2.ฐานที่ตั้งของเครื่อง Blower

ฐานคอนกรีตควรจะได้ระดับ มีขนาดใหญ่และแข็งแรงพอที่จะรับนํ้าหนักของ blower และต้นกำลังขับ
- Blower รุ่น ARS32 – ARC100 สามารถที่จะติดตั้งบนพื้นคอนกรีตได้สะดวก โดยการเจาะฝังสลักเกลียวยึดแท่นฐานกับพื้นคอนกรีต เนื่องจากรุ่นเหล่านี้มีขนาดเล็กและนํ้าหนักเบา
- สำหรับรุ่น ARC125 – ARC300 จะต้องติดตั้งบนฐานที่ตั้งคอนกรีต (Foundation) ที่เหมาะสม
(มีขนาดใหญ่และแข็งแรงพอ)
- การจัดเตรียมช่องสลักเกลียว (Bolt boxes) ของฐานที่ตั้งก่อนที่จะเทคอนกรีตซึ่งควรจะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามแบบการติดตั้งฐาน โดยขนาดของฐานติดตั้ง และจำนวนช่องสลักเกลียวยึดฐานที่ใช้ของแต่ละรุ่นปรากฎ
- โดยทั่วไปสลักเกลียวยึดฐานรูปตัว L (ถ้าใช้แผ่นยางกันสะเทือน จะใช้สลักเกลียวรูตัว U ) ที่จะใช้ในการติดตั้งเครื่อง blower ควรเช็คทำความสะอาดนํ้ามันที่ทากันสนิมบนสลักเกลียวออกให้สะอาด( อาจจะเช็คด้วยทินเนอร์) เพื่อช่วยเพิ่มความเกาะติดระหว่างสลักเกลียวยึดฐานกับฐานคอนกรีต

3.การติดตั้งเครื่อง BLOWER

- ขนาดของฐานที่ตั้งให้แน่ใจว่าขนาดฐานที่ตัองเหมาะสมถูกต้องตามรุ่นนั้น ๆ ซึ่งควรจะได้ระดับแข็งแรงพอะที่จับนํ้าหนักของ blower
- ความสะอาดของพื้นผิวฐานที่ตั้งควรทำความสะอาดพื้นผิวของฐานติดตั้ง จนแน่ใจว่าสิ่งแปลกปลอม คราบน้ำมันและอื่นๆ ไม่ปรากฏอยู่ในบริเวณนั้น
- ติดตั้ง Taper liner หรือ แผ่นรองเหล็ก (Shim Plates) ติดตั้ง Taper liner 2 ตัวที่สองข้างของช่องสลักเกลียวยึดฐานโดยปรับให้มีความคลาดเคลื่อนด้านความสูงน้อยกว่า 1 mm. ในกรณีไม่ได้ใช้ Taper liner ให้ใช้แผ่นรองเหล็กที่มีความหนา 10 mm. หรือบางกว่าแทน
- การติดตั้ง Blower แบบชั่วคราวยกเครื่องและแท่นเครื่องขึ้นเครน ค่อย ๆ หย่อนแท่นเครื่องลงบนฐานคอนกรีตให้สลักเกลียวยึดฐานหย่อนลงไปในช่องสลักเกลียวที่ฐานคอนกรีตแล้วขันน๊อตให้แน่น
- ปรับระดับของเครื่อง
เช็คระดับของเครื่องที่ส่วนบนของหน้าแปลนท่อ (Flange) ด้วยตัววัดระดับแล้วปรับระดับความคลาเดคลื่อนให้ตํ่ากว่า 0.5 mm./m. ด้วย Taper lines ฐานจะต้องวางอย่างได้ระดับบน Taper liners ในการปรับระดับนี้ หน้าแปลนของท่อทางเข้า blower จะเปิดอยู่ ดังนั้นต้องระมัดระวังอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในเครื่อง
- ฉีดนํ้าลงไปในช่องสลักเกลียวของฐานคอนกรีตเสร็จแล้วเช็ดนํ้าที่ขังอยู่ในช่องสลักเกลียวออกให้ หมดค่อย ๆ เทปูนฉาบ (Mortar) ลงไปในช่อสลักเกลียวที่ฐานคอนกรีตและกดลงไปด้วยแท่งเหล็กหรือแท่งไม้เพื่อให้ปูนฉาบแน่นและไม่ให้มีอากาศตกค้างข้างในปูนฉาบหรือส่วนล่างของช่องสลักเกลียวของฐานคอนกรีต ในกรณีนี้ระวังอย่าให้เกิดความลาดเอียงของสลักเกลียวที่ฝังไว้
- ปูนฉาบที่ใช้ต้องให้มีอุณหภูมิห้องที่มีมากกว่า 15หลังจากเทปูนฉาบแล้วจะต้องทิ้งไว้5 -7 วัน เพื่อให้ปูนฉาบอยู่ตัวระหว่างนั้น จะต้องระวังไม่ให้มีอะไรกดทับที่บริเวณปูนฉาบนั้น และอย่าให้ปูนฉาบเจอความเย็นโดยทันที ซึ่งจะทำให้ปูนฉาบเกิดการแตกร้าวได้ง่าย ปูนฉาบที่ใช้ควรเป็นชนิดไม่หดตัว
- หลังจากปูนฉาบอยู่ตัวแล้ว ขันน๊อตยึดแท่นเครื่องกับสลักเกลียวให้แน่นเช็คระดับของเครื่องที่ระดับของหน้าแปลน ถ้าพบว่าระดับความคลาดเคลื่อนมากกว่า 0.5 mm./m ให้คลายน๊อตฐานคอนกรีตและปรับระดับใหม่โดยใช้ Taper liners (ในการตรวจเช็คระดับของหน้าแปลนท่อ blower ควรจะแน่ใจว่าได้ขันน๊อตยึดแท่นฐานของ b lower แน่นแล้ว)
- เพื่อป้องกันไม่ให้ Taper lines เลื่อน ให้สร้างบล็อกกั้นโดยรอบสลักเกลียวยึดฐานและเทปูนฉาบไว้

4.ข้อควรระวังในการติดตั้งส่วนประกอบอื่น ๆ และการติดตั้งท่อ

- เมื่อเดินท่อ ควรจะเอาวัสดุที่อุดช่องทางเข้าและช่องทางออกของ blower ออกเสียก่อน ถ้าปฏิบัติงานในขณะสิ่งห่อหุ้มอยู่อาจทำให้เกิดความดันสูงผิดปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาข้างในตัว b lower หลังจากเอาสิ่งห่อหุ้มออกไปแล้ว ควรใช้ผ้าคลุมพลาสติกคลุมไว้เพื่อป้องกันฝุ่น ในระหว่างที่รอการติดตั้งท่อ
- ต่อท่อเก็บเสียงด้านท่อดูดโดยใช้ชุดลูกยาง (Rubber packing) ซึ่งถูกออกแบบให้ดูดซับการสั่นสะเทือน
- ติดตั้ง relief valve ในแนวตั้ง ทางด้านท่อจ่าย พร้อมทั้งติด vacuum breaker ในแนวตั้งทางท่อดูด
- ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือนที่เกจวัดความดัน ( เกจสูญญากาศ) เข้าที่ตำแหน่งของเกจวัดความดันบนข้อต่อรูปตัว T ของ relief valve (ติดกับท่อด้านดูด) ในกรณีที่ติดตั้งเกจวัดความดันที่ไม่กันความสั่นสะเทือน จะต้องเชื่อมต่อท่อด้วยข้อต่ออ่อน (flexible tube) และท่อเหล็กที่ติดตั้งเกจวัดความดัน
ควรยึดติดกับนผัง
- เมื่อติดยางกันสั่นสะเทือนเข้าที่ฐานของ blower ต้องใช้ข้อต่ออ่อน (Flexible joint) วิธีการนี้จะช่วยป้องกันท่อจากความสั่นสะเทือนและขจัดเสียงดัง
- ในการติดตั้งเช็ควาล์วให้ตรวจสอบทิศทางการไหล และติดตั้งให้ได้ระดับ
- ถ้าใช้ข้อต่ออ่อนในการต่อท่อต้องติดตั้ง support ที่ท่อหรือ discharge silencer เพื่อรองรับนํ้าหนัก ถ้าไม่มีตัว support อาจทำให้ข้อต่ออ่อนนี้เสือมสภาพเร็วขึ้น
- ทำความสะอาดภายในท่อและนำเศษโลหะจากการเชื่อมท่อ เศษเหล็กและอื่น ๆ ออกมาให้หมด ควรติดตั้ง Strainer ทางด้านท่อดูดของ blower หลังจากใช้งาน blower ไปเป็นเวลา 1 เดือน ก็ควรถอด Strainer ออกเพื่อทำความสะอาด
- การตรวจเช็คการติดตั้งท่อ เช็คตัว blower และหน้าแปลนท่อ (flange) ดูค่าความเบี่ยงเบนของ alignment โดยคลายน๊อตที่สลักเลียวยึดฐาน ถ้าค่าความเบี่ยงเบนของ alignment สูงเกินไปให้ปรับใหม่จนได้ระยะที่ถูกต้อง นํ้าหนักของท่อและอุปกรณ์ต่างๆ ที่กระทำกับ blower หนักเกินไป อาจเป็ นสาเหตุหนึ่งของค่าความเบี่ยงเบนของ alignment และยังอาจทำให้ตัวเรือน blower เสียหายได้

การตรวจเช็คและการบำรุงรักษา

- การตรวจเช็คทุกวัน (ทุกอาทิตย์)เช็คระดับนํ้ามันหล่อลื่น การรั่วของนํ้ามันหล่อลื่น อุณหภูมิลูกปืน ความดันกระแสไฟฟ้า
- การตรวจเช็คทุกเดือนเช็คและปรับความตึงของสายพานเช็คคุณภาพของนํ้ามันหล่อลื่น และปรับเทียบค่าศูนย์ของเข็ม ( set zero ) ของเกจวัดความดัน และ ammeter
- การตรวจเช็คทุก ๆ 4 เดือนเปลี่ยนนํ้ามันหล่อลื่นทุกชนิดนอกจากนี้ ตรวจเช็คทุกอย่างเหมือนการตรวจเช็คทุกเดือน
- การตรวจเช็คทุกปีถอด suction silencer, head cover หรือท่อด้านดูดเข้า เช็ค rotorและตัวถังเครื่องภายในเช็ค oil seal สลักข้อต่อ (coupling pin) ลูกาง (rubber) และสายพานตัว V ถ้ามีความสึกหรอก็เปลี่ยนเสีย


https://www.airpumpcenter.supply





คู่มือการใช้งาน Vacuum Pump / ปั๊มสุญญากาศ

 คู่มือการใช้งาน Vacuum Pump / ปั๊มสูญญากาศ



รายละเอียดปั๊มแวคคั่ม

1.ปั๊มสุญญากาศชนิดไม่ใช้น้ำมัน
2.ความสามารถในการดูดอากาศได้ 8.0 CFM
3.ความสามารถทำสุญญากาศในระบบได้ 26 “Hg
4. ขนาดมอเตอร์ ¾ แรงม้า 220V  50Hz
5.ความเร็วรอบไม่ต่ำกว่า 1425 รอบต่อนาที
6.มีมาตรวัดแรงดูดและวาล์วปรับแรงดูด
7. มีมาตรวัดแรงดันและวาล์วปรับแรงดัน

วิธีการใช้งานและดูแลบำรุงรักษา

1.เช็คเครื่องและอุปกรณ์ต่อพ่วงพร้อมใช้งานก่อน
2.ก่อนเลิกใช้งาน ควรเปิดตัวเครื่องวิ่งเปล่า ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที
3.ควรทำความสะอาดไส้กรองอากาศ ทุกๆ 1-2 สัปดาห์
4.ตัวปั๊มทำหน้าที่ดูดอากาศออกเท่านั้น เพื่อทำเป็นสูญญากาศ 
(หากมีสารเคมี/ไอระเหย เข้าเครื่องควรทำความสะอาดทันที)



https://www.airpumpcenter.supply





วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คู่มือการใช้งาน KB KUOBAO COAXIAL VACUUM ACID

 คู่มือการใช้งาน KB KUOBAO COAXIAL VACUUM ACID 


วิธีการใช้งาน
ข้อควรระวังก่อน RUN
เครื่อง

1. ก่อน RUN เครื่องให้ยืนยัน SPEC ของปั๊มที่เลือกว่าถูกต้องเหมาะสมกับสารเคมีที่ใช้งานหรือไม่
   (ชื่อสารเคมี, ความเข้มข้น, อุณหภูมิ, GRAVITY, สิ่งเจือปน, GRAVITY, HEAD,
  VOLT, HZ)
2. ตรวจสอบการติดตั้งหน้าแปลนทั้งทางเข้า-ออก และระบบว่าเรียบร้อยหรือไม่ จากนั้นยึดท่อให้มั่นคง
    โดยเฉพาะท่อเข้า ระวังอย่าให้มีอากาศเข้าปั๊ม
3. ตรวจสอบ กรอกสารเคมีเข้าปั๊ม
4. ตรวจสอบ การต่อไฟของ MOTOR แล้วSTART เครื่อง ให้หมุนตามเข็มนาฬิกา มิฉะนั้นให้
    แก้ไขการต่อไฟเพื่อให้หมุนในทิศทางที่ถูกต้อง
5. เมื่อ MOTOR หมุนถูกทางแล้ว ให้ตรวจสอบดูว่ามีน้ำออกจากทางออกปกติหรือไม่
6. เมื่อปฏิบัติตามวิธีข้างต้นเรียบร้อยแล้วให้ตรวจสอบระบบท่อและปั๊มว่ามีรอยรั่วหรือไม่
7. START ปั๊มให้ทำงานตามปกติ


ข้อควรระวัง 

** ติด FOOT VALVE หรือตัวกรองที่ทางเข้าของปั๊ม เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าปั๊ม
** ระดับผิวน้ำของสารเคมีที่ต่ำที่สุดให้สูงกว่าทางเข้าปั๊ม 30 cm. ขึ้นไปเพื่อป้องกันอากาศเข้าปั๊ม
** ติดตั้ง LEVEL SWITCH เพื่อป้องกันปัญหาปั๊มเดินตัวเปล่า (RUN DRY)



https://www.airpumpcenter.supply




วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คู่มือการใช้งาน Vacuum Cleaner : AVC – 55

 คู่มือการใช้งาน

 Vacuum Cleaner : AVC – 55 






ขั้นตอนการทำงานของ Vacuum Cleaner

1.ปั้มลมที่ใช้ร่วมกับ AVC – 55 / APPQO-550 ต้องมีขนาด 5 แรงม้า ( HP )ขึ้นไป
ตัวอุปกรณ์ จึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพส่วนรุุ่น APPQO 400 EX
จะต้องการปั้มลมที่มีขนาด 3 แรงม้า( HP) ส่วนรุ่น APPQO EX
ต้องการปั้มลมที่มีขนาด 1 แรงม้า ( HP )
2. เปิดวาล์วที่ปั้มลม
3. ตั้งแรงดันลมที่ชุดกรองลม ( Regulator ) 5 -7 Bar
4. เปิดวาล์วที่ตัวอุปกรณ์ ( ปั้มก็จะเริ่มทำงาน )


วิธีการทำความสะอาดและเก็บรักษา Vacuum Cleaner


1. ของเหลวจำพวก นํ้าสกปรกต่างๆ ทำความสะอาดโดยดูดนํ้าสะอาดล้างภายใน
ท่อและตัวถังให้สะอาด แล้วใช้ลมเป่าและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง
2. ของเหลวจำพวก นํ้ามันทั่วไป, นํ้ายาหล่อเย็น, กากตะกอน, และอื่นๆ ทำความ
สะอาดโดยการใช้ตัวทำละลายดูดทำความสะอาดภายในท่อและตัวถังให้สะอาดหลัง
จากนั้นใช้ลมเป่าตัวอุปกรณ์และใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดให้แห้ง
3. ของแข็งจำพวก ฝุ่น, ผง, เศษโลหะที่ประปนกัน ทำความสะอาดโดยการใช้ลมเป่า
ภายในท่อและตัวอุปกรณ์ และถัง ใช้ผ้าเช็ดให้สะอาด

หลังจากใช้งานเสร็จควรเก็บชุดอุปกรณ์ Vacuum Cleaner
ในสถานที่ ที่ไม่มีไอระเหยของสารเคมี ซึ่งจะช่วยลดการกัดกร่อนภายในอุปกรณ์ได้
และเก็บให้เป็นระเบียบเพื่อง่ายต่อการใช้งานในครั้งต่อไป



https://www.airpumpcenter.supply