วันอังคารที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2565

คู่มือการใช้พัดลมติดผนังและตั้งพื้น Venz

 คู่มือการใช้พัดลมติดผนังและตั้งพื้น Venz



วิธีการใช้พัดลม

1.เสียบปลี๊กไฟเข้ากับเต้ารับไฟฟ้า 220V 50Hz
2.กดปุ่มสวิทช์ปรับแรงลม ตามลำดับ

0 = ปิด
1 = แรงลมระดับต่ำ
2 = แรงลมระดับกลาง
3 = แรงลมระดับสูง

3.การปรับส่าย กดปุ่มส่ายลง พัดลมจะส่าย ซ้าย - ขวา และดึงปุ่มส่ายขึ้น เมื่อต้องการให้แรงลมไปยังทิศทางใดทิศทางนึง

ข้อควรรระวัง

1.ดึงปล๊กไฟ ออกทุกครั้งที่ทำการถอด,เปลี่ยน,หรือประกอบชิ้นส่วนของพัดลม
2.ไม่ควรติดตั้งพัดลมบริเวณที่มีอุณภูมิสูงจัด ใกล้เตาไฟ หรือบริเวณที่เปียกน้ำ
3.ไม่ควรเปิดพัดลมใกล้ผ้าม่าน มุ้ง เพราะพัดลมอาจดึงวัสดุที่เบาเข้าไปติดในเครื่อง ทำให้เกิดอันตรายได้
4.ห้ามใช้นิ้วมือ ไม้ หรือสิ่งของยื่นเข้าไปในตะแกรงพัดลม ขณะที่พัดลมกำลังหมุน
5.ห้ามพ่นสเปรย์ทุกชนิด เช่น สเปรย์แต่งผม สเปรย์ทำความสะอาด เข้าไปในตัวพัดลมโดยเด็ดขาด

การปรับเปลี่ยนชิ้นส่วนของพัดลม

        หากชิ้นส่วนของอุปกรณ์ไฟฟ้า เช่น สายไฟ สวิทช์ มอเตอร์ ชำรุดไม่ควรซ่อมด้วยตัวเองควรนำส่งซ่อมที่ศูนย์บริการของบริษัท หรือช่างผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น


https://www.airpumpcenter.supply



วันอังคารที่ 28 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คู่มือการใช้งานปั๊มหอยโข่ง (STAC)

คู่มือการใช้งาน 

 Centrifugal Pumps (ปั๊มหอยโข่ง)

 STAC JX Series

การติดตั้ง

                1. การติดตั้งปกติให้ขาปั้มยึดพื้นในแนวนอน หากจำเป็น ปั้มนี้สามารถติดตั้งในลักษณะอื่นๆได้แต่เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าติดตั้งปั๊มในสักษณะที่มอเตอร์อยู่ใต้ระดับปั้ม หรือ กล่องต่อสายไฟฟ้าของมอเตอร์หงายลงดิน

            2. เพื่อความปลอดภัย โปรดยึดห่อโดยมีฐานรองรับตัวมันเอง และต่อห่อโดยอย่าให้ส่งแรงถ่วงหรือแรงยึดมายังหน้าแปลนของปั๊ม ในการต่อท่อเข้าหน้าแปลน ควรใช้หน้าแปลนมาตรฐาน 10 กก/เซน 2 หรือ 16กก/เซน 2 ซึ่งหาซื้อได้ตามร้านในลักษณะกลมแบนมีเกลียว เส้นผ่าศูนย์กลาง ภายในของห่อควรจะมีขนาดเท่ากับหรือใหญ่กว่าชนาดเข้า-ออกของปั้มถ้าเป็นไปได้ควรจัดหาขนาดของท่อซึ่งมีอัตราการไหลของของเหลวไม่เกิน 2 เมตร / วินาที ที่ทางดูดและ 3 เมตร / วินาที ที่ทางส่ง

            ในการดูดจากบ่อซึ่งมีระดับต่ำกว่าปั๊ม ควรใส่ ฟุตวาล์ว (foot valve) โดยที่ปลายท่อต้องจมอยู่ในน้ำตลอดเวลา ท่อทางดูดไม่ควรจะมีรอยรั่วเลย มิฉะนั้น ลมจะเข้าปั๊ม ทำให้ดูดไม่ขึ้น

            ท่อทางจ่ายควรติดตั้งเกตวาล์ว (gate valve) เพื่อปรับหัวน้ำและปริมาณน้ำที่งส่ง หากระดับหัวน้ำเกิน15เมตร ควรติดตั้งเช็ควาล์ว (check valve) ก่อนเกตวาล์ว (gate valve) เพื่อป้องกันการกระแทกกลับของน้ำ

       ก่อนต่อท่อ ควรให้แน่ใจก่อนว่าท่อสะอาด และควรหมุนปั๊มด้วยมือว่าไม่มีอะไรติดขัดการหมุนของปั็ม


การต่อสายไฟฟ้า


        สำหรับไฟ3สายให้ต่อสายไฟตามข้อมูลของปั๊มและตามแบบแปลนการต่อสายไฟที่แสดงอยู่ด้านในของฝาครอบกล่องต่อสายไฟของมอเตอร์ ควรติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันไฟฟ้าที่เหมาะสมสำหรับมอเตอร์ และควรติดตั้งสายดิน


การเดินเครื่อง


            ให้กรอกน้ำเข้าปั๊มและไล่อากาศออกจากปั๊มทั้งหมด โดยใช้วาล์วไล่อากาศ ห้ามเดินเครื่องปั๊มโดยไม่มีน้ำให้สูบ และไม่มีน้ำในปั๊ม (ห้ามวิ่งแห้ง)

            ควรตรวจดูทิศทางหมุนของปั๊มว่าถูกต้องหรือเปล่า หากใช้ไฟ3สายและเกิดการหมุนผิดทิษทาง ให้สลับสายไฟเพียง2เส้น เพื่อกลับทิษทางการหมุนให้ถูกต้อง ควรตรวจดูว่าปั๊มทำงานอยู่ภายใต้ขอบเขตการทำงานของปั๊มและมีแอมป์ไม่เกินกว่าที่แสดงบนป้ายของปั๊ม หากมีค่าเกินกว่าป้ายของปั๊ม ให้ปรับโดยเกตวาล์ว (gate valve) และสวิตช์ (pressure switch) หากมี หรือตรวจดูว่าปั๊มเกิดการอุดตันหรือเปล่า


การบำรุงรักษา


            เมื่อได้มีการทดสอบปั๊มเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ปั๊มรุ่น JX มักไม่ต้องมีการบำรุงรักษา ยกเว้นแต่การดูแลเป็นปกติเป็นระยะดังนี้

-ดูแอมป์ของมอเตอร์ ดูการดูด และหัวน้ำ

-ดูว่ามีการรั่วที่แมคคานิเคิ้ลซีล (Mechanical Seal) หรือไม่

-ฟังการทำงานของลูกปืน ว่ามีเสียงผิดปกติหรือไม่ (อัดจารบี สำหรับชนิดลูกปืนที่ต้องการอัดจารบี)

หากปั๊มไม่ได้ใช้งาน และมีโอกาสเสี่ยงที่น้ำจะแข็งตัว ให้ถ่ายน้ำออกให้หมด เมื่อเดินปั๊มใหม่ ควรแน่ใจก่อนว่า ไม่มีอะไรอุดตันในปั๊ม หรือ ปัญหาอื่นที่จะทำให้ปั๊มไม่ทำงาน



https://www.airpumpcenter.supply





วันจันทร์ที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2565

ชีวิตของเรากับเครื่องสูบน้ำ (ปั๊มพ์น้ำ)

ชีวิตของเรากับเครื่องสูบน้ำ (ปั๊มพ์น้ำ)

            น้ำเป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่งต่อชีวิตของเราคนส่วนใหญ่อาจใช้น้ำอย่างฟุ่มเฟือย โดยคิดว่าน้ำเป็นสิ่งที่ได้มาง่ายๆ แท้ที่จริงแล้วในสมัยโบราณการมีน้ำใช้อย่างไม่ขาดเป็นความฝันของมนุษย์ยุคนั้น ปัจจุบันความฝันเป็นจริงได้ก็ด้วยเครื่องมือชื่อ "เครื่องสูบน้ำ" หรือ "ปั๊มพ์น้ำ"

            เป็นที่ทราบกันดีถึงความสำคัญของเครื่องสูบน้ำในชีวิตประจำวันของมนุษย์เรา หากท่านสังเกตรอบตัวท่านท่านจะพบว่าเป็นสิ่งสำคัญจำเป็นอย่างยิ่งในสถานการณ์ต่างๆ

            เครื่องสูบน้ำเริ่มต้นเกิดจากความต้องการยกน้ำจากระดับที่ต่ำไปหาระดับที่สูงกว่า ถ้าเราจะมองไปที่ประวัติของการพัฒนาเครื่องสูบน้ำแล้วจะพบว่า คนรุ่นก่อนได้พยายามประดิษฐ์ และใช้เครื่องสูบน้ำด้วยความยากลำบากอย่างยิ่ง

            จากภูมิปัญญาที่อาศัยกฎของธรรมชาติ อุปกรณ์ยกน้ำง่าย ๆ ได้ค่อย ๆ พัฒนาขึ้นจนกระทั่ง การเคลื่อนย้ายน้ำแบบ prime mover ปรากฎขึ้น ทำให้เครื่องสูบน้ำ(ปั๊มพ์น้ำ) พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว ทำให้เราสามารถสูบส่งน้ำได้สูงมากกว่าที่เคยคาดเอาไว้

            ในบรรดาเครื่องสูบน้ำที่หลากหลายนั้น เครื่องสูบน้ำโวลูท หรือที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทยหรืออีกชื่อหนึ่งคือเครื่องสูบหอยโข่งหรือปั๊มพ์หอยโข่ง (volute pump) ถือว่าเป็นเครื่องสูบที่ได้รับการพัฒนาก้าวหน้ามากที่สุด เพราะว่าสามารถสูบน้ำได้ในอัตราที่สูงและมีการใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ

            

            ข้อดีของเครื่องสูบน้ำโวลูท คือ

 1.มีความเร็วรอบสูงที่มาสามารถต่อเพลาได้โดยตรงกับเครื่องฉุดที่เป็นมอเตอร์ไฟฟ้า (โดยไม่ต้องทดรอบ) มีขนาดกะทัดรัดและราคาต่ำ

2.มีประสิทธิภาพสูง

3.มีโครงสร้างที่ง่าย ซึ่งสะดวกต่อการตรวจตราและการบำรุงรักษา

4.การไหลของน้ำเป็นไปอย่างต่อนื่องและความดันที่จุดซัท-ออฟ (Shut-Off) ต่ำ ทำให้การต่อท่อทำได้ง่าย

5.สามารถเลือกใช้งานในช่วงอัตตราการไหลต่างๆกว้าง



https://www.airpumpcenter.supply




คู่มือในการติดตั้ง และการซ่อมบำรุง UNOMACH ROTARY BLOWER

 คู่มือในการติดตั้งและการซ่อมบำรุง UNOMACH ROTARY BLOWER

 Model ARS&ARC




การติดตัังและต่อท่อ

1. สถานที่ติดตั้ง

ในการเลือกสถานที่ติดตั้ง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าจะมีความสะดวกในการบำรุงรักษาและตรวจตรา โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการเช็คเกจวัดระดับน้ำามันหล่อลื่นที่ด้านข้างของเฟือง นอกจากนี้สถานที่จะต้องเอื้ออำนวยต่อการติดตั้งและสามารถใช้เครนหรือรอกโซ่ (Chain Block) ยกเหนือเครื่องเพื่อการ Overhaul หรือบำรุงรักษาเครื่อง นอกจากนี้การระบายอากาศ เป็นเครื่องที่จำเป็นมาก ถ้าหากติดตั้งภายในอาคาร

2.ฐานที่ตั้งของเครื่อง Blower

ฐานคอนกรีตควรจะได้ระดับ มีขนาดใหญ่และแข็งแรงพอที่จะรับนํ้าหนักของ blower และต้นกำลังขับ
- Blower รุ่น ARS32 – ARC100 สามารถที่จะติดตั้งบนพื้นคอนกรีตได้สะดวก โดยการเจาะฝังสลักเกลียวยึดแท่นฐานกับพื้นคอนกรีต เนื่องจากรุ่นเหล่านี้มีขนาดเล็กและนํ้าหนักเบา
- สำหรับรุ่น ARC125 – ARC300 จะต้องติดตั้งบนฐานที่ตั้งคอนกรีต (Foundation) ที่เหมาะสม
(มีขนาดใหญ่และแข็งแรงพอ)
- การจัดเตรียมช่องสลักเกลียว (Bolt boxes) ของฐานที่ตั้งก่อนที่จะเทคอนกรีตซึ่งควรจะอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องตามแบบการติดตั้งฐาน โดยขนาดของฐานติดตั้ง และจำนวนช่องสลักเกลียวยึดฐานที่ใช้ของแต่ละรุ่นปรากฎ
- โดยทั่วไปสลักเกลียวยึดฐานรูปตัว L (ถ้าใช้แผ่นยางกันสะเทือน จะใช้สลักเกลียวรูตัว U ) ที่จะใช้ในการติดตั้งเครื่อง blower ควรเช็คทำความสะอาดนํ้ามันที่ทากันสนิมบนสลักเกลียวออกให้สะอาด( อาจจะเช็คด้วยทินเนอร์) เพื่อช่วยเพิ่มความเกาะติดระหว่างสลักเกลียวยึดฐานกับฐานคอนกรีต

3.การติดตั้งเครื่อง BLOWER

- ขนาดของฐานที่ตั้งให้แน่ใจว่าขนาดฐานที่ตัองเหมาะสมถูกต้องตามรุ่นนั้น ๆ ซึ่งควรจะได้ระดับแข็งแรงพอะที่จับนํ้าหนักของ blower
- ความสะอาดของพื้นผิวฐานที่ตั้งควรทำความสะอาดพื้นผิวของฐานติดตั้ง จนแน่ใจว่าสิ่งแปลกปลอม คราบน้ำมันและอื่นๆ ไม่ปรากฏอยู่ในบริเวณนั้น
- ติดตั้ง Taper liner หรือ แผ่นรองเหล็ก (Shim Plates) ติดตั้ง Taper liner 2 ตัวที่สองข้างของช่องสลักเกลียวยึดฐานโดยปรับให้มีความคลาดเคลื่อนด้านความสูงน้อยกว่า 1 mm. ในกรณีไม่ได้ใช้ Taper liner ให้ใช้แผ่นรองเหล็กที่มีความหนา 10 mm. หรือบางกว่าแทน
- การติดตั้ง Blower แบบชั่วคราวยกเครื่องและแท่นเครื่องขึ้นเครน ค่อย ๆ หย่อนแท่นเครื่องลงบนฐานคอนกรีตให้สลักเกลียวยึดฐานหย่อนลงไปในช่องสลักเกลียวที่ฐานคอนกรีตแล้วขันน๊อตให้แน่น
- ปรับระดับของเครื่อง
เช็คระดับของเครื่องที่ส่วนบนของหน้าแปลนท่อ (Flange) ด้วยตัววัดระดับแล้วปรับระดับความคลาเดคลื่อนให้ตํ่ากว่า 0.5 mm./m. ด้วย Taper lines ฐานจะต้องวางอย่างได้ระดับบน Taper liners ในการปรับระดับนี้ หน้าแปลนของท่อทางเข้า blower จะเปิดอยู่ ดังนั้นต้องระมัดระวังอย่าให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในเครื่อง
- ฉีดนํ้าลงไปในช่องสลักเกลียวของฐานคอนกรีตเสร็จแล้วเช็ดนํ้าที่ขังอยู่ในช่องสลักเกลียวออกให้ หมดค่อย ๆ เทปูนฉาบ (Mortar) ลงไปในช่อสลักเกลียวที่ฐานคอนกรีตและกดลงไปด้วยแท่งเหล็กหรือแท่งไม้เพื่อให้ปูนฉาบแน่นและไม่ให้มีอากาศตกค้างข้างในปูนฉาบหรือส่วนล่างของช่องสลักเกลียวของฐานคอนกรีต ในกรณีนี้ระวังอย่าให้เกิดความลาดเอียงของสลักเกลียวที่ฝังไว้
- ปูนฉาบที่ใช้ต้องให้มีอุณหภูมิห้องที่มีมากกว่า 15หลังจากเทปูนฉาบแล้วจะต้องทิ้งไว้5 -7 วัน เพื่อให้ปูนฉาบอยู่ตัวระหว่างนั้น จะต้องระวังไม่ให้มีอะไรกดทับที่บริเวณปูนฉาบนั้น และอย่าให้ปูนฉาบเจอความเย็นโดยทันที ซึ่งจะทำให้ปูนฉาบเกิดการแตกร้าวได้ง่าย ปูนฉาบที่ใช้ควรเป็นชนิดไม่หดตัว
- หลังจากปูนฉาบอยู่ตัวแล้ว ขันน๊อตยึดแท่นเครื่องกับสลักเกลียวให้แน่นเช็คระดับของเครื่องที่ระดับของหน้าแปลน ถ้าพบว่าระดับความคลาดเคลื่อนมากกว่า 0.5 mm./m ให้คลายน๊อตฐานคอนกรีตและปรับระดับใหม่โดยใช้ Taper liners (ในการตรวจเช็คระดับของหน้าแปลนท่อ blower ควรจะแน่ใจว่าได้ขันน๊อตยึดแท่นฐานของ b lower แน่นแล้ว)
- เพื่อป้องกันไม่ให้ Taper lines เลื่อน ให้สร้างบล็อกกั้นโดยรอบสลักเกลียวยึดฐานและเทปูนฉาบไว้

4.ข้อควรระวังในการติดตั้งส่วนประกอบอื่น ๆ และการติดตั้งท่อ

- เมื่อเดินท่อ ควรจะเอาวัสดุที่อุดช่องทางเข้าและช่องทางออกของ blower ออกเสียก่อน ถ้าปฏิบัติงานในขณะสิ่งห่อหุ้มอยู่อาจทำให้เกิดความดันสูงผิดปกติ ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาข้างในตัว b lower หลังจากเอาสิ่งห่อหุ้มออกไปแล้ว ควรใช้ผ้าคลุมพลาสติกคลุมไว้เพื่อป้องกันฝุ่น ในระหว่างที่รอการติดตั้งท่อ
- ต่อท่อเก็บเสียงด้านท่อดูดโดยใช้ชุดลูกยาง (Rubber packing) ซึ่งถูกออกแบบให้ดูดซับการสั่นสะเทือน
- ติดตั้ง relief valve ในแนวตั้ง ทางด้านท่อจ่าย พร้อมทั้งติด vacuum breaker ในแนวตั้งทางท่อดูด
- ติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการสั่นสะเทือนที่เกจวัดความดัน ( เกจสูญญากาศ) เข้าที่ตำแหน่งของเกจวัดความดันบนข้อต่อรูปตัว T ของ relief valve (ติดกับท่อด้านดูด) ในกรณีที่ติดตั้งเกจวัดความดันที่ไม่กันความสั่นสะเทือน จะต้องเชื่อมต่อท่อด้วยข้อต่ออ่อน (flexible tube) และท่อเหล็กที่ติดตั้งเกจวัดความดัน
ควรยึดติดกับนผัง
- เมื่อติดยางกันสั่นสะเทือนเข้าที่ฐานของ blower ต้องใช้ข้อต่ออ่อน (Flexible joint) วิธีการนี้จะช่วยป้องกันท่อจากความสั่นสะเทือนและขจัดเสียงดัง
- ในการติดตั้งเช็ควาล์วให้ตรวจสอบทิศทางการไหล และติดตั้งให้ได้ระดับ
- ถ้าใช้ข้อต่ออ่อนในการต่อท่อต้องติดตั้ง support ที่ท่อหรือ discharge silencer เพื่อรองรับนํ้าหนัก ถ้าไม่มีตัว support อาจทำให้ข้อต่ออ่อนนี้เสือมสภาพเร็วขึ้น
- ทำความสะอาดภายในท่อและนำเศษโลหะจากการเชื่อมท่อ เศษเหล็กและอื่น ๆ ออกมาให้หมด ควรติดตั้ง Strainer ทางด้านท่อดูดของ blower หลังจากใช้งาน blower ไปเป็นเวลา 1 เดือน ก็ควรถอด Strainer ออกเพื่อทำความสะอาด
- การตรวจเช็คการติดตั้งท่อ เช็คตัว blower และหน้าแปลนท่อ (flange) ดูค่าความเบี่ยงเบนของ alignment โดยคลายน๊อตที่สลักเลียวยึดฐาน ถ้าค่าความเบี่ยงเบนของ alignment สูงเกินไปให้ปรับใหม่จนได้ระยะที่ถูกต้อง นํ้าหนักของท่อและอุปกรณ์ต่างๆ ที่กระทำกับ blower หนักเกินไป อาจเป็ นสาเหตุหนึ่งของค่าความเบี่ยงเบนของ alignment และยังอาจทำให้ตัวเรือน blower เสียหายได้

การตรวจเช็คและการบำรุงรักษา

- การตรวจเช็คทุกวัน (ทุกอาทิตย์)เช็คระดับนํ้ามันหล่อลื่น การรั่วของนํ้ามันหล่อลื่น อุณหภูมิลูกปืน ความดันกระแสไฟฟ้า
- การตรวจเช็คทุกเดือนเช็คและปรับความตึงของสายพานเช็คคุณภาพของนํ้ามันหล่อลื่น และปรับเทียบค่าศูนย์ของเข็ม ( set zero ) ของเกจวัดความดัน และ ammeter
- การตรวจเช็คทุก ๆ 4 เดือนเปลี่ยนนํ้ามันหล่อลื่นทุกชนิดนอกจากนี้ ตรวจเช็คทุกอย่างเหมือนการตรวจเช็คทุกเดือน
- การตรวจเช็คทุกปีถอด suction silencer, head cover หรือท่อด้านดูดเข้า เช็ค rotorและตัวถังเครื่องภายในเช็ค oil seal สลักข้อต่อ (coupling pin) ลูกาง (rubber) และสายพานตัว V ถ้ามีความสึกหรอก็เปลี่ยนเสีย


https://www.airpumpcenter.supply





คู่มือการใช้งาน Vacuum Pump / ปั๊มสุญญากาศ

 คู่มือการใช้งาน Vacuum Pump / ปั๊มสูญญากาศ



รายละเอียดปั๊มแวคคั่ม

1.ปั๊มสุญญากาศชนิดไม่ใช้น้ำมัน
2.ความสามารถในการดูดอากาศได้ 8.0 CFM
3.ความสามารถทำสุญญากาศในระบบได้ 26 “Hg
4. ขนาดมอเตอร์ ¾ แรงม้า 220V  50Hz
5.ความเร็วรอบไม่ต่ำกว่า 1425 รอบต่อนาที
6.มีมาตรวัดแรงดูดและวาล์วปรับแรงดูด
7. มีมาตรวัดแรงดันและวาล์วปรับแรงดัน

วิธีการใช้งานและดูแลบำรุงรักษา

1.เช็คเครื่องและอุปกรณ์ต่อพ่วงพร้อมใช้งานก่อน
2.ก่อนเลิกใช้งาน ควรเปิดตัวเครื่องวิ่งเปล่า ทิ้งไว้ประมาณ 5-10 นาที
3.ควรทำความสะอาดไส้กรองอากาศ ทุกๆ 1-2 สัปดาห์
4.ตัวปั๊มทำหน้าที่ดูดอากาศออกเท่านั้น เพื่อทำเป็นสูญญากาศ 
(หากมีสารเคมี/ไอระเหย เข้าเครื่องควรทำความสะอาดทันที)



https://www.airpumpcenter.supply





วันอาทิตย์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คู่มือการใช้งาน KB KUOBAO COAXIAL VACUUM ACID

 คู่มือการใช้งาน KB KUOBAO COAXIAL VACUUM ACID 


วิธีการใช้งาน
ข้อควรระวังก่อน RUN
เครื่อง

1. ก่อน RUN เครื่องให้ยืนยัน SPEC ของปั๊มที่เลือกว่าถูกต้องเหมาะสมกับสารเคมีที่ใช้งานหรือไม่
   (ชื่อสารเคมี, ความเข้มข้น, อุณหภูมิ, GRAVITY, สิ่งเจือปน, GRAVITY, HEAD,
  VOLT, HZ)
2. ตรวจสอบการติดตั้งหน้าแปลนทั้งทางเข้า-ออก และระบบว่าเรียบร้อยหรือไม่ จากนั้นยึดท่อให้มั่นคง
    โดยเฉพาะท่อเข้า ระวังอย่าให้มีอากาศเข้าปั๊ม
3. ตรวจสอบ กรอกสารเคมีเข้าปั๊ม
4. ตรวจสอบ การต่อไฟของ MOTOR แล้วSTART เครื่อง ให้หมุนตามเข็มนาฬิกา มิฉะนั้นให้
    แก้ไขการต่อไฟเพื่อให้หมุนในทิศทางที่ถูกต้อง
5. เมื่อ MOTOR หมุนถูกทางแล้ว ให้ตรวจสอบดูว่ามีน้ำออกจากทางออกปกติหรือไม่
6. เมื่อปฏิบัติตามวิธีข้างต้นเรียบร้อยแล้วให้ตรวจสอบระบบท่อและปั๊มว่ามีรอยรั่วหรือไม่
7. START ปั๊มให้ทำงานตามปกติ


ข้อควรระวัง 

** ติด FOOT VALVE หรือตัวกรองที่ทางเข้าของปั๊ม เพื่อป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าปั๊ม
** ระดับผิวน้ำของสารเคมีที่ต่ำที่สุดให้สูงกว่าทางเข้าปั๊ม 30 cm. ขึ้นไปเพื่อป้องกันอากาศเข้าปั๊ม
** ติดตั้ง LEVEL SWITCH เพื่อป้องกันปัญหาปั๊มเดินตัวเปล่า (RUN DRY)



https://www.airpumpcenter.supply




วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คู่มือการใช้งาน Vacuum Cleaner : AVC – 55

 คู่มือการใช้งาน

 Vacuum Cleaner : AVC – 55 






ขั้นตอนการทำงานของ Vacuum Cleaner

1.ปั้มลมที่ใช้ร่วมกับ AVC – 55 / APPQO-550 ต้องมีขนาด 5 แรงม้า ( HP )ขึ้นไป
ตัวอุปกรณ์ จึงจะทำงานได้เต็มประสิทธิภาพส่วนรุุ่น APPQO 400 EX
จะต้องการปั้มลมที่มีขนาด 3 แรงม้า( HP) ส่วนรุ่น APPQO EX
ต้องการปั้มลมที่มีขนาด 1 แรงม้า ( HP )
2. เปิดวาล์วที่ปั้มลม
3. ตั้งแรงดันลมที่ชุดกรองลม ( Regulator ) 5 -7 Bar
4. เปิดวาล์วที่ตัวอุปกรณ์ ( ปั้มก็จะเริ่มทำงาน )


วิธีการทำความสะอาดและเก็บรักษา Vacuum Cleaner


1. ของเหลวจำพวก นํ้าสกปรกต่างๆ ทำความสะอาดโดยดูดนํ้าสะอาดล้างภายใน
ท่อและตัวถังให้สะอาด แล้วใช้ลมเป่าและใช้ผ้าเช็ดให้แห้ง
2. ของเหลวจำพวก นํ้ามันทั่วไป, นํ้ายาหล่อเย็น, กากตะกอน, และอื่นๆ ทำความ
สะอาดโดยการใช้ตัวทำละลายดูดทำความสะอาดภายในท่อและตัวถังให้สะอาดหลัง
จากนั้นใช้ลมเป่าตัวอุปกรณ์และใช้ผ้าเช็ดทำความสะอาดให้แห้ง
3. ของแข็งจำพวก ฝุ่น, ผง, เศษโลหะที่ประปนกัน ทำความสะอาดโดยการใช้ลมเป่า
ภายในท่อและตัวอุปกรณ์ และถัง ใช้ผ้าเช็ดให้สะอาด

หลังจากใช้งานเสร็จควรเก็บชุดอุปกรณ์ Vacuum Cleaner
ในสถานที่ ที่ไม่มีไอระเหยของสารเคมี ซึ่งจะช่วยลดการกัดกร่อนภายในอุปกรณ์ได้
และเก็บให้เป็นระเบียบเพื่อง่ายต่อการใช้งานในครั้งต่อไป



https://www.airpumpcenter.supply






วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565

การติดตั้งและใช้งานสวิทช์ลูกลอยเคเบิ้ลแบบใช้งานหนัก




การใช้งาน

     
  สวิทซ์ลูกลอยเคเบิ้ลแบบใช้งานหนักรุ่น Q Series เป็นอุปกรณ์ควบคุมระดับของเหลว 2 ระดับ สามารถกำหนดให้การทำงานเป็นแบบสวิทช์ ON หรือสวิทซ์ OFF ที่ระดับของเหลวที่แตกต่างกันสองระดับในบ่อน้ำ หรือแท็งก์ก็ได้ความแตกต่างของตำแหน่งการ ON และตำแหน่งการ OFF สามารถปรับได้ ตั้งแต่ 150 ถึง 350 มม. สำหรับใช้ในน้ำ สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำมากกว่า 350มม. จำเป็นต้องใช้ลูกลอยเพิ่มเป็น2 ลูก ลูกแรกจะเป็น High Level Switch และอีกลูกหนึ่งจะเป็น Low Level Switch สวิทช์ลูกลอยนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกับน้ำ และยังสามารถใช้กับน้ำเสียได้อีกด้วย

สภาพแวดล้อมการใช้งาน

      ลูกลอยชนิดนี้ทำจากโพลีโพพีลีน (Polypropylene) พร้อมสายเคเบิ้ลหุ้มไฮพาลอน (HypalonRubber) ไม่มีส่วนของโลหะที่สัมผัสกับของเหลว สามารถใช้งานได้กับของเหลวที่เป็นน้ำ น้ำทะเล กรด อัลคาไลน์ และน้ำยาเคมีหลายชนิด รวมไปถึงน้ำมัน น้ำมันที่สกปรกไขมันและในของเหลวอีกหลายชนิด ห้ามติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอย ที่มีระดับความลึกของการจมลงในน้ำมากเกินกว่า 30 เมตรหรือในภาชนะปิดที่มีความตันมากกว่า 300 kPa และในของเหลวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า -20' C หรือมากกว่า +80*C หากติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอย ในของเหลวที่มีอุณหภูมิเกินช่วงดังกล่าวนี้ อาจส่งผลให้อายุการใช้งานของสวิทช์ลดลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนำไปใช้งานในของเหลวที่มีสารละลายเคมีความเข้มข้นสูงปนรวมอยู่ด้วย สวิทช์จะสามารถใช้งานได้กับของเหลวที่มีค่าความถ่วงจำเพาะไม่ต่ำกว่า 0.6 ของเหลวที่มีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่านี้ จะทำให้แรงพยุงตัวของสวิทช์ลดลง และส่งผลให้เกิดการทำงานผิดพลาดตามค่าความถ่วงจำเพาะที่ลดลงไปด้วย

การติดตั้งใช้งาน


          ติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอยด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยรอบข้าง และทำให้อายุการใช้งานลดลงไปได้ ให้ติดตั้งใช้งานในตำแหน่งที่คาดว่าปลอดภัยที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งสวิทช์ลูกลอยในตำแหน่งทางไหลเข้าหรือออกของน้ำ หรือในตำแหน่งที่คาดว่าสวิทช์ลูกลอยจะเกิดการเสียดสีหรือมีวัตถุมากระทบ หากเกิดการเสียดสีระหว่างสายเคเบิ้ลของสวิทช์ลูกลอย และบริเวณพื้นผิวใกล้เคียงจะส่งผลทำให้อายุการใช้งานของสวิทช์ลูกลอยลดลงอย่างมาก และอาจทำให้สวิทช์ลูกลอยเสียหาย จนไม่อาจสามารถใช้งานได้อีก หรือเกิดการทำงานผิดพลาดโดยไม่ทราบสาเหตุขึ้นได้ ในกรณีที่ติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอยหลายตัวต้องตรวจสอบดูให้แน่ใจว่าสายเคเบิ้ลที่ต่อกับลูกลอย จะไม่พันกันหรือไม่เกิดการเสียดสีซึ่งกันและกัน


การต่อสายใช้งาน


        การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายไฟฟ้าของสวิทช์ลูกลอยนี้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎระเบียบขอท้องถิ่นการใช้งานนั้นๆ และต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้นสวิทช์ลูกลอยนี้ใช้วงจรไฟฟ้าขนาด 240 โวลท์ในการควบคุม ในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัย สามารถใช้สวิทช์ลูกลอยกับไฟขนาด 24 หรือ 48 โวลท์ได้เช่นเดียวกัน ในกรณีที่ใช้สวิทช์ลูกลอยกับวงจรควบคุม 240 โวลท์ จำเป็นต้องต่อผ่าน Earth Leakage Circuit Breaker (เครื่องตัดไฟรั่ว) สวิทช์ลูกลอย (Float Switch) จะประกอบด้วยไมโครสวิทช์ แบบ Single Pole Double Throw (SPDT) คุณสมบัติของไมโครสวิทช์จะแสดงไว้บนผิวหน้าของสวิทช์ การต่อสายไฟจะใช้สายเคเบิ้ลหุ้มรับเบอร์ 1.5 มม. 3 แกน สีของสายจะประกอบด้วยสีน้ำเงิน สีดำ และสีน้ำตาล สีน้ำเงินจะเป็นสาย Common เมื่อแขวนลูกลอยให้อยู่ในตำแหน่งห้อยหัวลงล่าง (Vertical Down) สายสีดำกับสายสีน้ำเงิน จะเป็นหน้าสัมผัสแบบปิด (Close) และถ้าสายสีน้ำตาลต่อเข้ากับสายสีน้ำเงิน จะเป็นหน้าสัมผัสแบบเปิด (Open) ถ้ากลับลูกลอยให้หัวตั้งขึ้นสายเคเบิ้ลจะอยู่ใต้ลูกลอย สายสีน้ำเงินกับสายสีดำจะเป็นหน้าสัมผัสแบบเปิด (Open) และสายสีน้ำตาลกับสายสีน้ำเงินจะเป็นหน้าสัมผัสแบบปิด (Close) ในการใช้งานโดยทั่วไป จะติดตั้งสวิทช์ลูกลอยไว้ใน Junction Box โดยปิดให้มิดชิดมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และตั้งไว้เหนือระดับของเหลวในแท็งก์ หรือบ่อน้ำ พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งใช้งานในตำแหน่งที่ห่างด้วยรางหรือท่อ ทั้งนี้เพราะอาจทำให้การบำรุงรักษา การทดสอบและแม้แต่การเปลี่ยนชิ้นสวนอุปกรณ์ทำได้ยาก ในการประยุกต์ใช้งานโดยทั่วไป จะใช้งานเฉพาะสาย Common (สีน้ำเงิน) และสายสีดำ หรือสีน้ำตาลก็ได้ สำหรับการประยุกต์ใช้งานแบบ2 สาย (Two-Wire) ให้ใช้ฉนวนหุ้มสายที่ไม่ใช้งาน คือสายที่สามเอาไว้เนื่องจากอาจจะมีกระแสไฟไหลผ่านได้ในระหว่างการเปลี่ยนสถานะของสวิทช์


การติดตั้งใช้งานบนพื้นที่เสี่ยงอันตราย


        สวิทช์ลูกลอย (Float Switch) จัดเป็นอุปกรณ์ในกลุ่ม "Simple Device"ตัวสวิทช์จะไม่มีส่วนโครงสร้างเชิงกล สำหรับเก็บพลังงานหรือให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานรับรองใดๆ เมื่อนำไปติดตั้งใช้งานบริเวณพื้นที่เสี่ยงอันตราย ในการติดตั้งใช้งานที่ต้องแยก (Isolate) โดยใช้รีเลย์ป้องกันภายใน (Zener Barrier) เป็นตัวไอโซเลต (Isolate)



https://www.airpumpcenter.supply






คู่มือการใช้งาน MOTOR MITSUBISHI

 คู่มือการใช้งาน

MOTOR MITSUBISHI





การติดตั้ง


1. ติดตั้งมอเตอร์ในที่ที่มีการระบายอากาศได้ดี สะอาดและแห้ง เว้นระยะรอบ

ตัวมอเตอร์เพื่อการระบายอากาศ (โดยปรกติอย่างน้อย 20 ชม.)

2. ยึดมอเตอร์กับฐานที่มั่นคงแข็งแรง


 การต่อเชื่อมกับเครื่องจักร


1. การประกอบอุปกรณ์เชื่อมต่อเครื่องจักร (คัปปสิง, มู่เล่, ฯลฯ)

ในการติดตั้ง ต้องระวังอย่าให้มีการกระทบกระเทือนรุนแรง เพราะอาจทำให้

ตลับลูกปืนเสียหายได้ ควรเลือกชนาดรูกลางที่เหมาะสม เวลาประกอบต้อง

ให้แนวแกนของอุปกรณ์เชื่อมต่อเครื่องจักร กับแนวแกนเพลามอเตอร์ตรงเป็น

แนวเดียวกันมากที่สุด

2. ต่อเชื่อมด้วยคัปปลิง

ติดตั้งมอเตอร์ให้ศูนย์กลางของเพลามอเตอร์และเพลาเครื่องจักรตรงกัน

ไม่เอียงทำมุมกัน และไม่เยื้องศูนย์กัน คลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.03 มม.


 การใช้งาน


1. การใช้งานครั้งแรก

- เพลามอเตอร์ต้องสามารถหมุนได้ด้วยมือ โดยไม่ติดขัด

- ตรวจเช็คว่ามีการติดตั้งฟิวส์ขนาดเหมาะสมไว้แล้ว

- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ต่อสายไฟและสายดินแล้ว

- ตรวจสอบทิศทางการหมุนของมอเตอร์ให้ตรงกับเครื่องจักรที่ใช้

- ตรวจเช็คว่าการเชื่อมต่อกับเครื่องจักรแน่นหนาและแข็งแรงเพียงพอ


2. การใช้งานทั่วไป

- ลดโหลดในขณะทำการสตาร์ทให้น้อยที่สุด แล้วค่อยเพิ่มโหลดเมื่อมอเตอร์

ถึงความเร็วสูงสุด

- ตรวจวัดกระแสในขณะทำงานว่าเกินกว่าที่ระบุไว้ในป้ายระบุสินค้าหรือไม่

หากเกินให้ปรับลดโหลดลง มิฉะนั้นอาจทำให้ขดลวดมอเตอร์ไหม้ได้

- ตรวจสอบว่าไม่มีเสียงดังผิดปรกติ ในตลับลูกปืน

- หากเกิดไฟตับ ให้ทำการสับสวิทซ์ตัดไฟ เพื่อป้องกันมอเตอร์โอเวอร์โหลด

หรืออันตร้ายอื่นๆ เนื่องจากมอเตอร์รับโหลดกะทันหันเมื่อไฟมา

- หยุดมอเตอร์ทันทีหากเกิดความผิดปรกติขึ้น


 ระยะเวลาการตรวจสอบและซ่อมบำรุง


1. มอเตอร์ที่มีการใช้งานน้อยจะมีความขึ้นเนื่องจากหยุดเป็นเวลานาน

การตรวจสอบประจำวันจึงมีความสำคัญ ในทางกลับกันการถอดชิ้นส่วน

ตรวจสอบนั้นไม่จำเป็นต้องทำบ่อยครั้ง

2. มอเตอร์ที่ใช้งานต่อเนื่อง เช่น ปั๊มและพัดลม ควรหมั่นทำการถอดชิ้นส่วน

ตรวจสอบ



https://www.airpumpcenter.supply



วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คู่มือการใช้งาน PACKAGED BOOSTER PUMP

 วิธีการติดตั้ง PACKAGED BOOSTER PUMP





การติดตั้งระบบท่อ

1. ควรติดตั้งชุด PACKAGED BOOSTER PUMP บนแท่นคอนกรีตที่มีความแข็งแรงเพียงพอ และได้ระดับไม่ขรุขระ และควรยึดแท่นฐานปั๊มกับแท่นคอนกรีตด้วย ANCHOR BOLT พร้อมรองแท่นปั๊มด้วยยางรองแท่นเพื่อลดการสั่นสะเทือน
2. ควรจัดเตรียมแท่นคอนกรีตและวางแท่นปั๊มให้สะดวกในการขนย้าย ตรวจสอบ และซ่อมบำรุง
3. ควรติดตั้งชุด PACKAGED BOOSTER PUMP ให้ใกล้แหล่งน้ำที่สุด เพื่อลดระยะของท่อทางดูด (SUCTION PIPE) จะทำให้สะดวกในการล่อน้ำ (PRIMING)
4. ควรติดตั้งฟุตวาวล์ (FOOT VALVE) ที่ปลายทางดูดของปั๊มแต่ละตัว กรณีระดับน้ำอยู่ต่ำกว่าตัวปั๊ม (ไม่ควรเดินท่อดูดร่วมกันและใช้ฟุตวาวล์ตัวเดียวร่วมกัน)
5. ควรติดตั้งเกทวาวล์ (GATE VALVE) ที่บริเวณทางดูดของปั๊ม กรณีระดับน้ำอยู่สูงกว่าตัวปั๊ม เพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุงในอนาคต
6. ควรติดตั้งยูเนี่ยน (กรณีข้อต่อแบบเกลียว) ที่บริเวณทางดูดของปั๊ม เพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุงในอนาคต
7. ควรติดตั้งเกทวาวล์ (GATE VALVE) ที่บริเวณ HEADER ทางส่ง และเดินท่อ BYPASS และใส่GATE VALVE กลับมายังแหล่งน้ำเพื่อความสะดวกในการทดสอบและซ่อมบำรุง
8. ควรติดตั้งอุปกรณ์ยึดท่อ (PIPE HANGER & SUPPORT)ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันน้ำหนักจากท่อมาดึงหรือกระทำต่อชุด Packaged Booster pump
9. ควรติดตั้งข้อต่ออ่อน (FLEXIBLE CONNECTOR) ที่บริเวณทางดูดของปั๊มแต่ละตัว และที่ HEADER ทางส่งของชุด PACKAGED BOOSTER PUMP เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนไปที่ท่อขณะที่ปั๊มทำงาน

การติดตั้งระบบไฟฟ้า

1. ชุด PACKAGED BOOSTER PUMP ได้ทำการเดินเข้าสายไฟฟ้าจากตู้คอนโทรลไปที่ตัวมอเตอร์ และตัวสวิทส์แรงดัน (PRESSURE SWITCH) แต่ละตัวให้เรียบร้อยแล้ว
2. ให้เดินสายไฟขนาดที่เหมาะสมกับกำลังของมอเตอร์รวมทั้ง 2 ตัวมาที่ตู้คอนโทรลของชุด PACKAGED BOOSTER PUMP จำนวน 4 เส้นคือ R – S – T – N
3. เดินสายไฟขนาด 1.5 mm2 จำนวน 3 เส้น (E1 , E2, E3) จากตู้คอนโทรลไปที่ตัว ELECTRODE HOLDER ซึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณจากก้าน ELECTRODE ที่วัดระดับน้ำในแหล่งน้ำและควบคุมการทำงานของปั๊มเพื่อปัองกันความเสียหายของปั๊มที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากระดับน้ำต่ำ (ต่ำกว่าระดับของฟุตวาวล์)
4. ผู้ติดตั้งควรรู้ความลึกของแหล่งน้ำ และระดับของฟุตวาวล์ (โดยปกติระดับฟุตวาวล์จะอยู่สูงจากพื้นบ่ออย่างน้อย 30 เซนติเมตร) เพื่อจะสามารถตัดก้าน ELECTRODE เพื่อตั้งระดับแต่ละก้านดังนี้
 - ก้าน E3 COMMON อยู่ที่ระดับฟุตวาวล์หรือต่ำกว่า
 - ก้าน E2 LOW LEVEL CUT-OFF (ระดับตัดการทำงาน) อยู่เหนือระดับฟุตวาวล์ 30 ซ.ม.
 - ก้าน E1 START & INTERLOCK (ระดับต่อการทำงาน) อยู่ที่ระดับครึ่งบ่อหรือตามเหมาะสม
5. ควรติดกล่องพลาสติกกันน้ำครอบตัว ELECTRODE HOLDER กรณีตั้งอยู่กลางแจ้ง


วิธีการใช้งาน PACKAGED BOOSTER PUMP

ก่อนการทดสอบระบบ PACKAGED BOOSTER PUMP ควรตรวจสอบสิ่งต่อไปนี้เพื่อลดปัญหาและป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
1. การล่อน้ำ (PRIMING)
- ทำการล่อน้ำและไล่อากาศในท่อทางดูดและตัวปั๊มแต่ละตัวให้เรียบร้อย
- ตรวจสอบระดับน้ำภายในแหล่งน้ำให้เพียงพอ ระดับน้ำต้องสูงกว่าระดับ E1 หรือต้องไม่ต่ำกว่าระดับ E2
2. ระบบไฟฟ้า (ELECTRICAL SYSTEM)
- ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟ ว่ามีไฟครบทุกเฟส R – S – T รวมทั้ง NEUTRAL ด้วย
- ตรวจสอบการต่อสายไฟให้ถูกต้อง รวมทั้งตรวจสอบการหลวมคลอนของขั้วสายไฟ
3. ทดสอบระบบการทำงานด้วยมือ (MANUAL OPERATION)
- ตรวจสอบหลอดไฟของแหล่งจ่ายไฟที่หน้าตู้ “POWER” (หลอดจะสว่างเมื่อมีไฟเข้าที่ตู้)
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “MAN – OFF – AUTO” ไปที่ตำแหน่ง “MAN”
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “PUMP#1 – ALT – PUMP#2” ไปที่ตำแหน่ง “PUMP#1” ตรวจสอบทิศทางการหมุนของปั๊ม#1 (หมุนตามเข็มนาฬิกามองจากท้ายมอเตอร์) ในขณะที่ปั๊มตัวที่ #1 ทำงานให้สังเกตุ หลอดไฟ“RUN NO#1” จะต้องสว่าง
- ทำการตรวจเช็คการทำงานด้วยมือของปั๊มตัวที่ #2 เหมือนกับตัวที่ #1
- หากต้องการสั่งให้ปั๊มตัวที่#1และปั๊มตัวที่#2 ทำงานแบบ MANUAL ทั้งสองตัวให้บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “PUMP#1 – ALT – PUMP#2” ไปที่ตำแหน่ง “ALT”
4. ทดสอบระบบการทำงานอัตโนมัติ (AUTOMATIC SYSTEM)
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “MAN – OFF – AUTO” ไปที่ตำแหน่ง “AUTO”
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “PUMP#1 – ALT – PUMP#2” ไปที่ตำแหน่ง “PUMP#1” ปั๊มตัวที่#1 จะทำงานอัตโนมัติตามสวิทส์แรงดัน (PRESSURE SWITCH) เป็นตัวแรก (LEAD PUMP) ส่วนปั๊มตัวที#2 จะเป็นตัวช่วย (LAG PUMP)
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “PUMP#1 – ALT – PUMP#2” ไปที่ตำแหน่ง “PUMP#2” ปั๊มตัวที่#2 จะทำงานเป็นตัวแรก (LEAD PUMP) ส่วนปั๊มตัวที#1 จะเป็นตัวช่วย (LAG PUMP)
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “PUMP#1 – ALT – PUMP#2” ไปที่ตำแหน่ง “ALT” ปั๊มตัวที่#1 และปั๊มตัวที่#2จะสลับกันเป็น LEAD PUMP และ LAG PUMP ตามลำดับ
5. ระหว่างทดสอบการทำงานของระบบควรตรวจสอบสิ่งผิดปกติต่างๆ เช่น แรงดัน เสีบง และการสั่นสะเทือน ฯลฯ
6. การตั้งค่าแรงดันของลม (PRE-CHARGED PRESSURE) ของถังแรงดัน (PRESSURE TANK) ให้ตั้งค่าตอนที่ยังไม่มีน้ำในถัง โดยตั้งค่าต่ำกว่าค่าแรงดัน START PRESSURE ของ PRESSURE SWITCH ตัว#1 ประมาณ 2 PSI

การตรวจสอบและบำรุงรักษา PACKAGED BOOSTER PUMP

โดยปกติควรดำเนินการตรวจเช็คอยู่เป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และควรจัดให้มีการซ่อมบำรุงตามกำหนดเวลาเพื่อรักษาระดับการทำงานตลอดอายุการใช้งาน
1. ควรมีการบันทึกข้อมูลการทำงานของปั๊ม เช่น
ค่าแรงดัน START PRESSURE และ STOP PRESSURE ของ PRESSURE SWITCH ตัวที่ #1และตัวที่ #2
ค่ากระแสแต่ละเฟสของปั๊มตัวที่#1และตัวที่ #2
ค่าแรงดันในถังแรงดัน PRE-CHARGED AIR PRESSURE (ควรตรวจเช็คอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน)
2. ตรวจสอบความผิดปกติของเสียงที่มาจากการทำงาน และรีบแก้ไขสาเหตุดังกล่าวทันที
3. ตรวจสอบหน้าสัมผัสของแมกเนติค และรีเลย์ต่างๆ หากมีเขม่าดำควรรีบเปลี่ยนทันที ก่อนที่จะกระทบการทำงาน หรือทำความเสียหายให้กับมอเตอร์
4. ตรวจสอบสภาพของสวิทส์เลือกการทำงาน และการหลวมคลอนของขั้วสายไฟต่างๆ ควรขันยึดให้แน่น
5. ตรวจเช็คหลอดไฟแสดงผลที่หน้าตู้ หากพบว่าหลอดเสียหรือไส้หลอดขาดให้เปลี่ยนหลอดใหม่
6. ควรเปลี่ยนอะไหล่ของปั๊มที่สึกหรอตามอายุการใช้งานตามกำหนดเวลาที่เหมาะสม
อะไหล่ที่สึกหรอ ระยะเวลาที่ควรเปลี่ยน
 - ลูกปืนปั๊มและมอเตอร์ (BEARING) 1 – 2 ปี
 - ปะเก็นเชือก (PACKING SEAL) 0.5 – 1 ปี
 - แมคคานิคเคิลซีล (MECHANICAL SEAL) 1 – 2 ปี
 - อะไหล่อื่นๆ ตามความเหมาะสม
7. ตรวจสอบสภาพท่อมิให้เกิดรอยรั่วหรือแตกผุ โดยเฉพาะท่อทางดูดเพราะจะมีผลทำให้ปั๊มดูดไม่ขึ้นซึ่งจะทำให้ปั๊มเสียหายมากเช่น ซีลแตก มอเตอร์ไหม้ เป็นต้น


วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คู่มือการใช้งานปั๊มสูบน้ำเสีย Kawamoto

 คู่มือการใช้งาน Kawamoto

 Submersible Vortex Pump TYPE : WUO





การติดตั้งและการเดินท่อ

การติดตั้ง

1. ควรติดตั้งปั๊มบนพื้นที่เรียบและแข็งแรงพอ

2. เมื่อติดตั้งปั๊ม 2 ตัวในบ่อเดียวกัน ควรจะติดตั้งปั๊มทุกตัวให้อยู่ในระดับเดียวกัน


3. ไม่ติดตั้งปั๊มในตำแหน่งที่ไปขวางทางน้ำที่จะไหลลงบ่อ และควรเดินท่อ จัดสายไฟ เชือกหรือโซ่ ให้เรียบร้อย ไม่ให้ไป ขวางการทำงานของลูกลอย หรือปั๊ม

(เชือกหรือโซ่ที่กองไว้ในบ่ออาจถูกปั๊มดูดเข้าไปทำให้ปั๊มเสียหายได้)


4. ถ้าปั๊มต้องติดตั้งอยู่ในบ่อตกตะกอน ควรติดตั้งปั๊มให้สูงกว่าระดับพื้น


การเดินท่อ

1.ขันท่อเข้ากับข้อต่อเกลียว หรือหน้าแปลนต่างๆให้แน่น


2. เมื่อติดตั้งเช็ควาวล์ ใช้เช็ควาวล์ที่ใช้กับน้ำเสีย เช่น SWING CHECK VALVE


การบำรุงรักษาและการตรวจเช็คประจำวัน


1. ตรวจเช็คค่า กระแสไฟฟ้า : ไม่ให้เกินค่าพิกัดกระแสที่ระบุอยู่ที่ Nameplate


2. ตรวจเช็คค่า แรงดันไฟฟ้า : มีค่าไม่เกิน + 10% ของค่าพิกัดแรงดันที่ระบุอยู่ที่ Nameplate


3. ลูกปืน : ไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับ การสั่นสะเทือน เสียงผิดปกติตอนเริ่มทำงาน


4. ค่าความต้านทานไฟฟ้า : ต้องมีค่าไม่ต่ำกว่า 1 MΩ (เช็คเป็นรายเดือน)


อะไหล่ที่ต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน

1. Mechanical seal - ทุกๆ1 - 2 ปี


2. Lubricating oil (Turbine oil ISO VG32) - เมื่อสีน้ำมันเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือดำ (เดิมใสๆ)


3. O-ring - ทุกครั้งที่มีการถอดปั๊ม


4. Ball bearing (Motor) - ทุกๆ2 - 3 ปี



https://www.airpumpcenter.supply/














คู่มือการใช้งานและติดตั้งปั๊มสระน้ำ SAWADA

คู่มือการใช้งานและติดติั้งปั๊มสระน้ำ

SAWADA


1.จำเป็นต้องติดตั้งปั๊มน้ำในที่ร่ม หรือในอาคารป้องกันปั๊มน้ำ
จาการสัมผัสจากแสงแดดและฝนโดยตรง

2.กำหนดแหล่งจ่ายไฟฟ้าให้มีระยะใกล้กับปั๊มมากที่สุด

3.ตรวจสอบพิกัดแหล่งจ่ายไฟให้เต็มหน่วย เช่น 220V 2สาย หรือ 380V 3สาย

4.กำหนดขนาดของสายไฟให้เหมาะสมกับแรงม้าของปั๊ม และระยะทาง
 ระหว่างปั๊มกับ แหล่งจ่ายไฟฟ้า
หากมีระยะเกิน 15 เมตร อาจต้องได้รับคำแนะนำจากฝ่ายวิศวกรรม

5.ติดตั้งปั๊มน้ำให้ใกล้กับแหล่งจ่ายน้ำให้มากที่สุด ต้องมีระยะไม่เกิน 8 เมตร
 ระหว่างปั๊มกับผิวน้ำที่จะทำการดูด ท่อดูดต้องไม่รั่วและไม่มีอากาศเข้าระบบดูดเด็ดขาด

6.ให้ติดตั้งฟุตวาล์ว ไว้ในบ่อ ห่างจากพื้นบ่อประมาณ 1-2 เมตร 
ท่อต้องมีขนาดเดียวกับท่อดูดของปั๊ม
และมีข้องอน้อยที่สุด และไม่มีอากาศเข้าเด็ดขาด

7.ก่อนเริ่มต้นเปิดทำงานปั๊มน้ำ ต้องเติมน้ำที่เรียกว่าล่อน้ำ
 ให้น้ำเข้าไปอยู่ในตัวปั๊ม และ เติมเต็มท่อดูดทั้งเส้น
สังเกตน้ำต้องไม่รั่วซึมออกมา

8.หลังเติมน้ำแล้วให้ปิดจุดเติมให้แน่น อาจต้องขันจุกปล่อยน้ำให้แน่นอีกหน
 แล้วเริ่มเดินปั๊ม รอสัก 2-5 นาที
จะมีน้ำขึ้นมาให้เราตามต้องการ


https://www.airpumpcenter.supply/






วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565

 รูปแบบการติดตั้งแบบรางเลื่อนเครื่องสูบน้ำเสีย

ระบบติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสียแบบมีรางเลื่อน (Guide Rail Fitting System)
สามารถเชื่อมต่อเครื่องสูบน้ำกับท่อน้ำเสีย ทั้งท่อส่งน้ำเสีย และท่อรับน้ำเสียได้
เพียงแค่หย่อนเครื่องสูบน้ำลงไป ทำให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา
และการตรวจสอบสภาพโดยไม่จำเป็นต้องลงไปในบ่อน้ำเสีย
รุ่นของเครื่องสูบน้ำที่ใช้ควบคู่กับระบบติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสีย
จะถูกจำแนกด้วยตัวอักษรนำหน้า ซึ่งได้แก่ "TO" / "TOS" , "TS" และ "TOK"
ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้จากข้อกำหนดมาตรฐานของรุ่นที่มี และเลขรุ่น (model number)

ชุดขาตั้งพื้น, ชุดตีนเป็ด, Guide Rail Fitting, tsurumi, ปั๊มดูดโคลน, ซูรูมิ, submersible pump, ปั๊มน้ำเสีย, ปั๊มน้ำทิ้ง, ปั๊มทนการกัดกร่อน, อุปกรณ์ป้องกันน้ำเสีย บำบัดน้ำเสีย, ปั๊มน้ำเสียทั่วไป, ปั๊มสูบน้ำที่มีทรายปน, ปั๊มดูดน้ำลึก, ปั๊มระบายน้ำ, ปั๊มสแตนเลส, ปั๊มงานก่อสร้าง, ปั๊มเรซิน, ปั๊มไทเทเนียม, ปั๊มแช่สูบน้ำเสีย, ปั๊มแช่, ปั๊มจุ่ม, ไดโว่

TOS และ TO
TOS / TO เป็นระบบรางเลื่อนติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสียมาตรฐาน ที่ทำมาจากเหล็กหล่อ
และสามารถใช้งานได้กับเครื่องสูบที่ทำจากเหล็กหล่อเหมือนกัน
เครื่องสูบน้ำที่มีท่อส่งน้ำขนาด 50mmถึง 150mm จะใช้คู่กับระบบ Guide Rail รุ่น TOS
ส่วนเครื่องสูบน้ำที่มีท่อส่ง ขนาด 200mm ถึง 800 mm จะใช้คู่กับระบบ Guide Rail รุ่น TO

ชุดขาตั้งพื้น, ชุดตีนเป็ด, Guide Rail Fitting, tsurumi, ปั๊มดูดโคลน, ซูรูมิ, submersible pump, ปั๊มน้ำเสีย, ปั๊มน้ำทิ้ง, ปั๊มทนการกัดกร่อน, อุปกรณ์ป้องกันน้ำเสีย บำบัดน้ำเสีย, ปั๊มน้ำเสียทั่วไป, ปั๊มสูบน้ำที่มีทรายปน, ปั๊มดูดน้ำลึก, ปั๊มระบายน้ำ, ปั๊มสแตนเลส, ปั๊มงานก่อสร้าง, ปั๊มเรซิน, ปั๊มไทเทเนียม, ปั๊มแช่สูบน้ำเสีย, ปั๊มแช่, ปั๊มจุ่ม, ไดโว่

TS

ระบบรางเลื่อนติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสียรุ่นนี้
เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานีสูบน้ำเสียสำเร็จรูป (Prefabricated lift station)
ตัวหน้าแปลนระบายน้ำสามารถใช้ได้กับหน้าแปลนมาตรฐานส่วนใหญ่
รวมทั้งรุ่น ANSI 150lb รุ่น BS PN10 และรุ่น DIN PN10
สำหรับเครื่องสูบน้ำทีสามารถใช้กับระบบ Guide Rail รุ่น TS ได้นั้น
จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทางระบายตั้งแต่ 50mm ถึง 100mm



ชุดขาตั้งพื้น, ชุดตีนเป็ด, Guide Rail Fitting, tsurumi, ปั๊มดูดโคลน, ซูรูมิ, submersible pump, ปั๊มน้ำเสีย, ปั๊มน้ำทิ้ง, ปั๊มทนการกัดกร่อน, อุปกรณ์ป้องกันน้ำเสีย บำบัดน้ำเสีย, ปั๊มน้ำเสียทั่วไป, ปั๊มสูบน้ำที่มีทรายปน, ปั๊มดูดน้ำลึก, ปั๊มระบายน้ำ, ปั๊มสแตนเลส, ปั๊มงานก่อสร้าง, ปั๊มเรซิน, ปั๊มไทเทเนียม, ปั๊มแช่สูบน้ำเสีย, ปั๊มแช่, ปั๊มจุ่ม, ไดโว่

TOK

ทำมาจากเรซินที่มีคุณภาพสูง
รางเลื่อนรุ่น TOK ออกแบบมาสำหรับเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กที่มีน้ำหนักเบา
เมื่อเครื่องสูบน้ำเริ่มทำงานยางหุ้มที่ติดอยู่กับขอเกี่ยวจะถูกพลิกกลับไปยังข้องอตีนเป็ด
ซึ่งจะช่วยในการป้องกันการรั่วซึมที่จุดเชื่อม แม้ว่ารางเลื่อนรุ่น TOK
จะถูกนำไปใช้กับเครื่องสูบที่มีน้ำหนักเบาก็ตาม