การใช้งาน
สวิทซ์ลูกลอยเคเบิ้ลแบบใช้งานหนักรุ่น Q Series เป็นอุปกรณ์ควบคุมระดับของเหลว 2 ระดับ สามารถกำหนดให้การทำงานเป็นแบบสวิทช์ ON หรือสวิทซ์ OFF ที่ระดับของเหลวที่แตกต่างกันสองระดับในบ่อน้ำ หรือแท็งก์ก็ได้ความแตกต่างของตำแหน่งการ ON และตำแหน่งการ OFF สามารถปรับได้ ตั้งแต่ 150 ถึง 350 มม. สำหรับใช้ในน้ำ สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำมากกว่า 350มม. จำเป็นต้องใช้ลูกลอยเพิ่มเป็น2 ลูก ลูกแรกจะเป็น High Level Switch และอีกลูกหนึ่งจะเป็น Low Level Switch สวิทช์ลูกลอยนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกับน้ำ และยังสามารถใช้กับน้ำเสียได้อีกด้วย
สภาพแวดล้อมการใช้งาน
ลูกลอยชนิดนี้ทำจากโพลีโพพีลีน (Polypropylene) พร้อมสายเคเบิ้ลหุ้มไฮพาลอน (HypalonRubber) ไม่มีส่วนของโลหะที่สัมผัสกับของเหลว สามารถใช้งานได้กับของเหลวที่เป็นน้ำ น้ำทะเล กรด อัลคาไลน์ และน้ำยาเคมีหลายชนิด รวมไปถึงน้ำมัน น้ำมันที่สกปรกไขมันและในของเหลวอีกหลายชนิด ห้ามติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอย ที่มีระดับความลึกของการจมลงในน้ำมากเกินกว่า 30 เมตรหรือในภาชนะปิดที่มีความตันมากกว่า 300 kPa และในของเหลวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า -20' C หรือมากกว่า +80*C หากติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอย ในของเหลวที่มีอุณหภูมิเกินช่วงดังกล่าวนี้ อาจส่งผลให้อายุการใช้งานของสวิทช์ลดลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนำไปใช้งานในของเหลวที่มีสารละลายเคมีความเข้มข้นสูงปนรวมอยู่ด้วย สวิทช์จะสามารถใช้งานได้กับของเหลวที่มีค่าความถ่วงจำเพาะไม่ต่ำกว่า 0.6 ของเหลวที่มีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่านี้ จะทำให้แรงพยุงตัวของสวิทช์ลดลง และส่งผลให้เกิดการทำงานผิดพลาดตามค่าความถ่วงจำเพาะที่ลดลงไปด้วย
การติดตั้งใช้งาน
ติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอยด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยรอบข้าง และทำให้อายุการใช้งานลดลงไปได้ ให้ติดตั้งใช้งานในตำแหน่งที่คาดว่าปลอดภัยที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งสวิทช์ลูกลอยในตำแหน่งทางไหลเข้าหรือออกของน้ำ หรือในตำแหน่งที่คาดว่าสวิทช์ลูกลอยจะเกิดการเสียดสีหรือมีวัตถุมากระทบ หากเกิดการเสียดสีระหว่างสายเคเบิ้ลของสวิทช์ลูกลอย และบริเวณพื้นผิวใกล้เคียงจะส่งผลทำให้อายุการใช้งานของสวิทช์ลูกลอยลดลงอย่างมาก และอาจทำให้สวิทช์ลูกลอยเสียหาย จนไม่อาจสามารถใช้งานได้อีก หรือเกิดการทำงานผิดพลาดโดยไม่ทราบสาเหตุขึ้นได้ ในกรณีที่ติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอยหลายตัวต้องตรวจสอบดูให้แน่ใจว่าสายเคเบิ้ลที่ต่อกับลูกลอย จะไม่พันกันหรือไม่เกิดการเสียดสีซึ่งกันและกัน
การต่อสายใช้งาน
การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายไฟฟ้าของสวิทช์ลูกลอยนี้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎระเบียบขอท้องถิ่นการใช้งานนั้นๆ และต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้นสวิทช์ลูกลอยนี้ใช้วงจรไฟฟ้าขนาด 240 โวลท์ในการควบคุม ในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัย สามารถใช้สวิทช์ลูกลอยกับไฟขนาด 24 หรือ 48 โวลท์ได้เช่นเดียวกัน ในกรณีที่ใช้สวิทช์ลูกลอยกับวงจรควบคุม 240 โวลท์ จำเป็นต้องต่อผ่าน Earth Leakage Circuit Breaker (เครื่องตัดไฟรั่ว) สวิทช์ลูกลอย (Float Switch) จะประกอบด้วยไมโครสวิทช์ แบบ Single Pole Double Throw (SPDT) คุณสมบัติของไมโครสวิทช์จะแสดงไว้บนผิวหน้าของสวิทช์ การต่อสายไฟจะใช้สายเคเบิ้ลหุ้มรับเบอร์ 1.5 มม. 3 แกน สีของสายจะประกอบด้วยสีน้ำเงิน สีดำ และสีน้ำตาล สีน้ำเงินจะเป็นสาย Common เมื่อแขวนลูกลอยให้อยู่ในตำแหน่งห้อยหัวลงล่าง (Vertical Down) สายสีดำกับสายสีน้ำเงิน จะเป็นหน้าสัมผัสแบบปิด (Close) และถ้าสายสีน้ำตาลต่อเข้ากับสายสีน้ำเงิน จะเป็นหน้าสัมผัสแบบเปิด (Open) ถ้ากลับลูกลอยให้หัวตั้งขึ้นสายเคเบิ้ลจะอยู่ใต้ลูกลอย สายสีน้ำเงินกับสายสีดำจะเป็นหน้าสัมผัสแบบเปิด (Open) และสายสีน้ำตาลกับสายสีน้ำเงินจะเป็นหน้าสัมผัสแบบปิด (Close) ในการใช้งานโดยทั่วไป จะติดตั้งสวิทช์ลูกลอยไว้ใน Junction Box โดยปิดให้มิดชิดมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และตั้งไว้เหนือระดับของเหลวในแท็งก์ หรือบ่อน้ำ พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งใช้งานในตำแหน่งที่ห่างด้วยรางหรือท่อ ทั้งนี้เพราะอาจทำให้การบำรุงรักษา การทดสอบและแม้แต่การเปลี่ยนชิ้นสวนอุปกรณ์ทำได้ยาก ในการประยุกต์ใช้งานโดยทั่วไป จะใช้งานเฉพาะสาย Common (สีน้ำเงิน) และสายสีดำ หรือสีน้ำตาลก็ได้ สำหรับการประยุกต์ใช้งานแบบ2 สาย (Two-Wire) ให้ใช้ฉนวนหุ้มสายที่ไม่ใช้งาน คือสายที่สามเอาไว้เนื่องจากอาจจะมีกระแสไฟไหลผ่านได้ในระหว่างการเปลี่ยนสถานะของสวิทช์
การติดตั้งใช้งานบนพื้นที่เสี่ยงอันตราย
สวิทช์ลูกลอย (Float Switch) จัดเป็นอุปกรณ์ในกลุ่ม "Simple Device"ตัวสวิทช์จะไม่มีส่วนโครงสร้างเชิงกล สำหรับเก็บพลังงานหรือให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานรับรองใดๆ เมื่อนำไปติดตั้งใช้งานบริเวณพื้นที่เสี่ยงอันตราย ในการติดตั้งใช้งานที่ต้องแยก (Isolate) โดยใช้รีเลย์ป้องกันภายใน (Zener Barrier) เป็นตัวไอโซเลต (Isolate)
https://www.airpumpcenter.supply
สวิทซ์ลูกลอยเคเบิ้ลแบบใช้งานหนักรุ่น Q Series เป็นอุปกรณ์ควบคุมระดับของเหลว 2 ระดับ สามารถกำหนดให้การทำงานเป็นแบบสวิทช์ ON หรือสวิทซ์ OFF ที่ระดับของเหลวที่แตกต่างกันสองระดับในบ่อน้ำ หรือแท็งก์ก็ได้ความแตกต่างของตำแหน่งการ ON และตำแหน่งการ OFF สามารถปรับได้ ตั้งแต่ 150 ถึง 350 มม. สำหรับใช้ในน้ำ สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำมากกว่า 350มม. จำเป็นต้องใช้ลูกลอยเพิ่มเป็น2 ลูก ลูกแรกจะเป็น High Level Switch และอีกลูกหนึ่งจะเป็น Low Level Switch สวิทช์ลูกลอยนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกับน้ำ และยังสามารถใช้กับน้ำเสียได้อีกด้วย
การติดตั้งใช้งาน
ติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอยด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยรอบข้าง และทำให้อายุการใช้งานลดลงไปได้ ให้ติดตั้งใช้งานในตำแหน่งที่คาดว่าปลอดภัยที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งสวิทช์ลูกลอยในตำแหน่งทางไหลเข้าหรือออกของน้ำ หรือในตำแหน่งที่คาดว่าสวิทช์ลูกลอยจะเกิดการเสียดสีหรือมีวัตถุมากระทบ หากเกิดการเสียดสีระหว่างสายเคเบิ้ลของสวิทช์ลูกลอย และบริเวณพื้นผิวใกล้เคียงจะส่งผลทำให้อายุการใช้งานของสวิทช์ลูกลอยลดลงอย่างมาก และอาจทำให้สวิทช์ลูกลอยเสียหาย จนไม่อาจสามารถใช้งานได้อีก หรือเกิดการทำงานผิดพลาดโดยไม่ทราบสาเหตุขึ้นได้ ในกรณีที่ติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอยหลายตัวต้องตรวจสอบดูให้แน่ใจว่าสายเคเบิ้ลที่ต่อกับลูกลอย จะไม่พันกันหรือไม่เกิดการเสียดสีซึ่งกันและกัน
การต่อสายใช้งาน
การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายไฟฟ้าของสวิทช์ลูกลอยนี้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎระเบียบขอท้องถิ่นการใช้งานนั้นๆ และต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้นสวิทช์ลูกลอยนี้ใช้วงจรไฟฟ้าขนาด 240 โวลท์ในการควบคุม ในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัย สามารถใช้สวิทช์ลูกลอยกับไฟขนาด 24 หรือ 48 โวลท์ได้เช่นเดียวกัน ในกรณีที่ใช้สวิทช์ลูกลอยกับวงจรควบคุม 240 โวลท์ จำเป็นต้องต่อผ่าน Earth Leakage Circuit Breaker (เครื่องตัดไฟรั่ว) สวิทช์ลูกลอย (Float Switch) จะประกอบด้วยไมโครสวิทช์ แบบ Single Pole Double Throw (SPDT) คุณสมบัติของไมโครสวิทช์จะแสดงไว้บนผิวหน้าของสวิทช์ การต่อสายไฟจะใช้สายเคเบิ้ลหุ้มรับเบอร์ 1.5 มม. 3 แกน สีของสายจะประกอบด้วยสีน้ำเงิน สีดำ และสีน้ำตาล สีน้ำเงินจะเป็นสาย Common เมื่อแขวนลูกลอยให้อยู่ในตำแหน่งห้อยหัวลงล่าง (Vertical Down) สายสีดำกับสายสีน้ำเงิน จะเป็นหน้าสัมผัสแบบปิด (Close) และถ้าสายสีน้ำตาลต่อเข้ากับสายสีน้ำเงิน จะเป็นหน้าสัมผัสแบบเปิด (Open) ถ้ากลับลูกลอยให้หัวตั้งขึ้นสายเคเบิ้ลจะอยู่ใต้ลูกลอย สายสีน้ำเงินกับสายสีดำจะเป็นหน้าสัมผัสแบบเปิด (Open) และสายสีน้ำตาลกับสายสีน้ำเงินจะเป็นหน้าสัมผัสแบบปิด (Close) ในการใช้งานโดยทั่วไป จะติดตั้งสวิทช์ลูกลอยไว้ใน Junction Box โดยปิดให้มิดชิดมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และตั้งไว้เหนือระดับของเหลวในแท็งก์ หรือบ่อน้ำ พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งใช้งานในตำแหน่งที่ห่างด้วยรางหรือท่อ ทั้งนี้เพราะอาจทำให้การบำรุงรักษา การทดสอบและแม้แต่การเปลี่ยนชิ้นสวนอุปกรณ์ทำได้ยาก ในการประยุกต์ใช้งานโดยทั่วไป จะใช้งานเฉพาะสาย Common (สีน้ำเงิน) และสายสีดำ หรือสีน้ำตาลก็ได้ สำหรับการประยุกต์ใช้งานแบบ2 สาย (Two-Wire) ให้ใช้ฉนวนหุ้มสายที่ไม่ใช้งาน คือสายที่สามเอาไว้เนื่องจากอาจจะมีกระแสไฟไหลผ่านได้ในระหว่างการเปลี่ยนสถานะของสวิทช์
การติดตั้งใช้งานบนพื้นที่เสี่ยงอันตราย
สวิทช์ลูกลอย (Float Switch) จัดเป็นอุปกรณ์ในกลุ่ม "Simple Device"ตัวสวิทช์จะไม่มีส่วนโครงสร้างเชิงกล สำหรับเก็บพลังงานหรือให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานรับรองใดๆ เมื่อนำไปติดตั้งใช้งานบริเวณพื้นที่เสี่ยงอันตราย ในการติดตั้งใช้งานที่ต้องแยก (Isolate) โดยใช้รีเลย์ป้องกันภายใน (Zener Barrier) เป็นตัวไอโซเลต (Isolate)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น