วันพฤหัสบดีที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2557

การดูแลบำรุงรักษา Air pump

การติดตั้งและดูแลบำรุงรักษา เครื่องเติมอากาศ
              เครื่องเติมอากาศนั้นจะมีการทำงานอยู่ 2 ระบบ คือ ระบบไดอะแฟรม และระบบลูกสูบ ซึ่งการดูแลบำรุงรักษานั้นจะแตกต่างกัน เรามาดูการทำงานและการบำรุงรักษาของทั้ง 2 ระบบกันดีกว่า



ระบบไดอะแฟรม (Diaphragm Pump) 


หลักการทำงานเบื้องต้น
เมื่อกระแสไฟไหลผ่านขดลวดที่พันอยู่กับลวดแม่เหล็ก  จะทำให้เกิดพลังแม่เหล็กที่แท่งแม่เหล็กนั้น  แท่งแม่เหล็กจะเคลื่อนที่ไปทิศทางแรงดูดของแม่เหล็กและแรงผลักระหว่างก้อนแม่เหล็กไฟฟ้า ซึ่งจะเป็นความถี่เดียวกับกระแสไฟ AC การที่แท่งแม่เหล็กขยับส่งผลให้ระยะห่างระหว่างแผ่นไดอะแฟรมและห้องเสื้อทำให้เกิดการไหลเข้าของอากาศผ่านวาล์วแล้วบีบออกทางช่องลมอย่างสม่ำเสมอ

วันจันทร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2557

AIR JET AERATOR เครื่องเติมอากาศแบบใต้ผิวน้ำ

Air Jet Aerator



               เป็นเครื่องเติมอากาศชนิด  HORIZONTAL ASPIRATING AERATOR โดยอาศัยการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งอยู่เหนือน้ำ มอเตอร์จะต่อกับแกนเพลาทำหน้าที่ขับใบพัดซึ่งอยู่ใต้น้ำ เมื่อใบพัดหมุนจะดันน้ำทำให้เกิดความดันที่แตกต่าง ทำให้อากาศภายนอกถูกดูดผ่านเข้ามาภายในแกนเพลา ทำให้เกิดฟองอากาศในน้ำจำนวนมาก จึงใช้สำหรับเป็นเครื่องเติมอากาศ และเพิ่มการไหลของน้ำในบ่อ

วันพุธที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2557

น้ำเสียชุมชน


เพิ่มอากาศด้วย Air Jet Aerator

น้ำเสีย หมายถึง  น้ำที่มีสิ่งเจือปนต่าง ๆ มากมาย จนกระทั่งกลายเป็นน้ำที่ไม่เป็นที่ต้องการ และน่ารังเกียจของคนทั่วไป ไม่เหมาะสมสำหรับใช้ประโยชน์อีกต่อไป หรือถ้าปล่อยลงสู่ลำน้ำธรรมชาติก็จะทำให้คุณภาพน้ำของธรรมชาติเสียหายได้

ลักษณะน้ำเสีย
เกิดจากบ้านพักอาศัยประกอบไปด้วยน้ำเสียจากกิจกรรมต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ซึ่งมีองค์ประกอบต่าง ๆ ดังนี้
1. สารอินทรีย์ ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน เช่น เศษข้าว ก๋วยเตี๋ยว น้ำแกง เศษใบตอง พืชผัก ชิ้นเนื้อ เป็นต้น ซึ่งสามารถถูกย่อยสลายได้ โดยจุลินทรีย์ที่ใช้ออกซิเจน ทำให้ระดับออกซิเจนละลายน้ำ (Dissolved Oxygen) ลดลงเกิดสภาพเน่าเหม็นได้ ปริมาณของสารอินทรีย์ในน้ำนิยมวัดด้วยค่าบีโอดี (BOD) เมื่อค่าบีโอดีในน้ำสูง แสดงว่ามีสารอินทรีย์ปะปนอยู่มาก และสภาพเน่าเหม็นจะเกิดขึ้นได้ง่าย
2. สารอนินทรีย์ ได้แก่ แร่ธาตุต่าง ๆ ที่อาจไม่ทำให้เกิดน้ำเน่าเหม็น แต่อาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต ได้แก่ คลอไรด์, ซัลเฟอร์ เป็นต้น
3. โลหะหนักและสารพิษ อาจอยู่ในรูปของสารอินทรีย์หรืออนินทรีย์และสามารถสะสมอยู่ในวงจรอาหาร เกิดเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต เช่น ปรอท โครเมียม ทองแดง ปกติจะอยู่ในน้ำเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และสารเคมีที่ใช้ในการกำจัดศัตรูพืชที่ปนมากับน้ำทิ้งจากการเกษตร สำหรับในเขตชุมชนอาจมีสารมลพิษนี้มาจากอุตสาหกรรมในครัวเรือนบางประเภท เช่น ร้านชุบโลหะ อู่ซ่อมรถ และน้ำเสียจากโรงพยาบาล เป็นต้น
4. น้ำมันและสารลอยน้ำต่าง ๆ เป็นอุปสรรคต่อการสังเคราะห์แสง และกีดขวางการกระจายของออกซิเจนจากอากาศลงสู่น้ำ นอกจากนั้นยังทำให้เกิดสภาพไม่น่าดู
5. ของแข็ง เมื่อจมตัวสู่ก้นลำน้ำ ทำให้เกิดสภาพไร้ออกซิเจนที่ท้องน้ำ ทำให้แหล่งน้ำตื้นเขิน มีความขุ่นสูง มีผลกระทบต่อการดำรงชีพของสัตว์น้ำ
6. สารก่อให้เกิดฟอง/สารซักฟอก ได้แก่ ผงซักฟอก สบู่ ฟองจะกีดกันการกระจายของออกซิเจนในอากาศสู่น้ำ และอาจเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตในน้ำ
7. จุลินทรีย์ น้ำเสียจากโรงฟอกหนัง โรงฆ่าสัตว์ หรือโรงงานอาหารกระป๋อง จะมีจุลินทรีย์เป็นจำนวนมากจุลินทรีย์เหล่านี้ใช้ออกซิเจนในการดำรงชีวิต สามารถลดระดับของออกซิเจนละลายน้ำ ทำให้เกิดสภาพเน่าเหม็น นอกจากนี้จุลินทรีย์บางชนิดอาจเป็นเชื้อโรคที่เป็นอันตรายต่อประชาชน เช่น จุลินทรีย์ในน้ำเสียจากโรงพยาบาล
8. ธาตุอาหาร ได้แก่ ไนโตรเจน และฟอสฟอรัส เมื่อมีปริมาณสูงจะทำให้เกิดการเจริญเติบโตและเพิ่มปริมาณอย่างรวดเร็วของสาหร่าย (Algae Bloom) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญทำให้ระดับออกซิเจนในน้ำลดลงต่ำมากในช่วงกลางคืน อีกทั้งยังทำให้เกิดวัชพืชน้ำ ซึ่งเป็นปัญหาแก่การสัญจรทางน้ำ
9. กลิ่น เกิดจากก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ ซึ่งเกิดจากการย่อยสลายของสารอินทรีย์แบบไร้ออกซิเจน หรือกลิ่นอื่น ๆ จากโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น โรงงานทำปลาป่น โรงฆ่าสัตว์ เป็นต้น



Web1 : https://www.กังหันตีน้ํา.com/16506869/jet-aerator
Web2 : https://www.airpumpcenter.supply/16701707/pure-power
Web3 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=91666&Ntype=6

วันอาทิตย์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2557

ประโยชน์ของการเติมอากาศในน้ำ



เครื่องเติมอากาศแบบ JET AERATOR

ประโยชน์ของการเติมอากาศในน้ำ

การเติมออกซิเจน (อังกฤษ: oxygenation) หรือการเติมอากาศ (Aeration) เป็นหัวใจของการทำงานของระบบบำบัดน้ำเสียแบบใช้ออกซิเจนจากอากาศ เพราะหากระบบบำบัดน้ำเสียขาดออกซิเจน จุลินทรีย์ทั้ง หลายก็ไม่สามารถทำงานได้ ถ้ามีปริมาณออกซิเจนละลายน้ำอยู่สูง ระบบก็สามารถบำบัดน้ำได้ดีหรือสามารถรับน้ำเสียได้มากขึ้น แต่เนื่องจากค่าการละลายน้ำของออกซิเจนที่ความดันบรรยากาศมีค่าต่ำย่อมจะทำ ให้มีแรงขับ (Driving Force) ต่ำตามไปด้วย

ดังนั้น การเพิ่มอัตราการละลายน้ำของออกซิเจนที่ความดันบรรยากาศ จึงได้แก่การเพิ่มผิวสัมผัส (Interfacia Area) ระหว่างอากาศกับน้ำให้มีค่ามากที่สุด

สภาพการทำงานโดยทั่วไปของระบบบำบัดน้ำเสีย จะมีค่าความต้องการออกซิเจนเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาตามปริมาณความต้องการ ออกซิเจนของจุลินทรีย์ ซึ่งขึ้นอยู่กับอัตราการไหลของน้ำเสียและความเข้มข้นของมวลสารอินทรีย์ ซึ่งในการออกแบบจะต้องเติมออกซิเจนให้แก่ระบบที่ความต้องการสูงสุดได้อย่าง เพียงพอ การเติมอากาศให้กับระบบำบัดน้ำเสียสามารถเติมได้โดย