วันศุกร์ที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2559

คู่มือการบำรุงรักษา เครื่องเติมอากาศใต้น้ำ “TSURUMI” SUBMERSIBLE EJECTOR / AERATOR

คู่มือการบำรุงรักษา
สำหรับ


การใช้งานและการบำรุงรักษาเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ “ซูรูมิ”

เพื่อให้เครื่องเติมอากาศใต้น้ำอยู่ในสภาพที่สามารถใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ก่อนเริ่มเดินเครื่องเติมอากาศ ควรศึกษาคู่มือฉบับนี้ก่อนให้เข้าใจและโปรดปฏิบัติตามขั้นตอนต่างๆ ตามคำแนะนำ
ถ้าหากมีปัญหาประการใด โปรดสอบถาม ฝ่ายบริการซูรูมิของทางห้างฯ ได้

1.  ส่วนประกอบของเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ


2.  การตรวจสอบก่อนใช้งาน

2.1 ตรวจสภาพเครื่องเติมอากาศจนแน่ใจว่าไม่มีส่วนใดชำรุดเสียหาย เนื่องจากการขนส่ง หรือการติดตั้งเครื่องเติมอากาศ
2.2 ห้ามทิ้งปลายสายไฟลงน้ำ หรือ ยกตัวเครื่องเติมอากาศด้วยสายไฟที่ติดมากับตัวเครื่องเติมอากาศ ซึ่งอาจทำให้น้ำเข้าเครื่องเติมอากาศ หรือทำให้สายไฟขาด และจะเป็นสาเหตุทำให้มอเตอร์ไหม้ได้
2.3 ในกรณีที่สายไฟจากตัวเครื่องเติมอากาศมีความยาวไม่เพียงพอ และจำเป็นต้องต่อสายไฟอย่าต่อขั้วสายไฟบริเวณที่น้ำอาจท่วมถึง เพราะจะทำให้ไฟฟ้าลัดวงจรได้ ความยาวสายไฟให้ใช้แต่เพียงพอเท่านั้น อย่าใช้สายไฟยาวเกินความจำเป็น และให้ใช้ขนาดที่พอเหมาะ ถ้าสายไฟยาวเกินไปอาจทำให้แรงดันต่ำเกินไป ทำให้ไม่สามารถสตาร์ทมอเตอร์ได้


3.  การเดินเครื่อง
3.1 การต่อขั้วสายไฟ ตามตารางด้านล่าง สายไฟจากตัวมอเตอร์จะเป็นดังนี้




รูปแสดง  ขั้วต่อสายไฟของเครื่องเติมอากาศใต้น้ำ


3.2 ทิศทางการหมุนของใบพัด  ถ้าการต่อสายถูกต้องตามรูปแบบ การหมุนของใบพัดก็จะหมุนในทิศทางที่ถูกต้อง คือ หมุนทวนเข็มนาฬิกา ถ้าดูจากทางด้านล่างของตัวเครื่องเติมอากาศ ถ้าหากการหมุนของใบพัดผิดทิศทาง ให้สลับเฟสจากแหล่งจ่ายไฟฟ้า 2 สายใดในจำนวน 3 สาย (R, S, T)   หรือ   (U, V, W)
3.3 เนื่องจากมอเตอร์ชนิดนี้ เป็นชนิดที่ต้องแช่น้ำตลอดเวลา ดังนั้นจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องต่อสายดิน (Ground) สายดินของเครื่องเติมอากาศจะเป็นสีเขียว
3.4 ระบบป้องกันมอเตอร์ไหม้จากความร้อน มีอุปกรณ์ติดตั้งไว้สำหรับหยุดการทำงานของมอเตอร์ ในกรณีที่ขดลวดของมอเตอร์ร้อนเกินไปอันเนื่องจากการทำงานผิดปกติ หรือเกินกำลังมอเตอร์ ซึ่งจะสั่งตัดการทำงานของมอเตอร์ที่อุณหภูมิ 1150C  ± 50C
-โดยขนาดของมอเตอร์ 7.5 kw. หรือต่ำกว่า จะใช้ Circle Thermal Protector (CTP) เมื่อมอเตอร์เย็นลง เครื่องจะทำงานโดยอัตโนมัติ ทำให้มอเตอร์สตาร์ทเครื่องเอง
-และขนาดของมอเตอร์ 11 kw. ขึ้นไป จะใช้ Miniature Thermal Protector (MTP) มีในมอเตอร์ที่สตาร์ทแบบ Star-Delta และมีหลักการทำงานคล้าย CTP ตัดการทำงานของมอเตอร์ด้วยความร้อน โดยจะส่งสัญญาณให้ไปตัดวงจรการทำงานของมอเตอร์ที่ตู้ควบคุมไฟฟ้า ถ้าต้องการให้ทำงาน ต้องกดปุ่ม RUN,ON ที่ตู้ควบคุม (ก่อนที่จะสตาร์ทมอเตอร์ ควรจะตรวจสอบว่ามีสาเหตุอะไรที่ทำให้มอเตอร์เกิดความร้อนสูง)



4.  การตรวจสภาพเครื่องเติมอากาศ
ระยะที่ต้องตรวจ และหลักการตัดสินว่าเครื่องเติมอากาศทำงานปกติหรือไม่ ในระหว่างการทดสอบในสถานที่ใช้งาน (Field Test) หรือการทำงานประจำวัน มีดังต่อไปนี้
4.1 ตรวจสอบระบบหล่อลื่นน้ำมัน ตรวจสภาพทุกๆ 6 เดือน และเปลี่ยนทุกๆ 1 ปี ถอด Oil Plug ของเครื่องเติมอากาศ เทน้ำมันออก ถ้าพบว่ามีน้ำผสมอยู่ในน้ำมัน (สังเกตได้โดยน้ำมันจะมีสภาพผิดปกติ) ซีลของเพลามีความจำเป็นต้องเปลี่ยน ถ้าน้ำมันที่เทออกมาแล้วอยู่ในสภาพปกติ ให้เติมน้ำมันใหม่ในปริมาณที่กำหนดไว้ แล้วทำการอุดด้วย Oil Plug (น้ำมันที่ใช้ Turbine Oil ISO VG 32) ให้เปลี่ยนซีลยาง (O-Ring) ของ Oil Plug ด้วยถ้าพบว่าชำรุด
4.2 ถ้าสมรรถนะของตัวเครื่องเติมอากาศลดลง อาจจะเป็นเพราะว่าใบพัดของตัวเครื่องเติมอากาศสึกกร่อน หรือมีขยะอุดตันที่ใบพัด ถ้าเป็นเช่นนี้ให้ถอดใบพัดและเอาขยะที่อุดตันออก
4.3 การตรวจสอบเครื่องเติมอากาศ และระบบท่อส่ง
4.3.1 ตรวจเครื่องเติมอากาศ : ตั้งอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้อง และทำงานตามที่ระบุไว้ที่เครื่อง
4.3.2 ตรวจใบพัดของเครื่องเติมอากาศ : ไม่ตันและไม่สึกกร่อน

5.  การตรวจสอบระบบไฟฟ้า (ตามปกติ)
5.1  ตรวจแหล่งจ่ายแรงดันไฟฟ้า ว่าจ่ายแรงดันและกระแสไฟฟ้าตามปกติหรือไม่
        5.2  ตรวจขนาดของฟิวส์ได้ตามขนาดที่ต้องการหรือไม่ ควรมีฟิวส์สำรองไว้ในตู้ควบคุม
        5.3  ตรวจขนาดและค่าต่างๆ ของอุปกรณ์ภายในตู้ควบคุม ตั้งได้ค่าและตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่ (เช่น พวกเทอร์มอล รีเลย์ ฯลฯ)
        5.4 ตรวจสภาพของฉนวนไฟฟ้าของขดลวดพันมอเตอร์โดยใช้ Megger Tester ให้ถอดสายไฟฟ้าของตัวเครื่องเติมอากาศออกจากตู้ควบคุมก่อนทำการตรวจวัดทุกครั้ง โดยวัดสภาพของฉนวนระหว่างสายไฟฟ้ากับสายดิน ค่าที่วัดได้ต้องมีค่าตั้งแต่ 10 Megohm ขึ้นไป มอเตอร์จึงจะอยู่ในสภาพใช้งานได้ ถ้าค่าที่วัดได้ต่ำกว่า 10 Megohm จะต้องทำการถอด Motor และทำการซ่อมแซม การตรวจสภาพฉนวนไฟฟ้า ควรตรวจทุก 3 เดือน



6.  เหตุขัดข้องและวิธีแก้ไข  EJECTOR, AERATOR




TRN Series
Web1 : http://www.tsurumicenter.com/16634010/trn-series-aerator
Web2 : https://www.airpumpcenter.supply/16701195/tsurumi
Web3 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=94673&Ntype=6

BER Series
Web1 : http://www.tsurumicenter.com/16811724/ber-series-ejector
Web2 : https://www.airpumpcenter.supply/16701199/tsurumi
Web3 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=94412&Ntype=6



วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเภทของปั๊มลม ปั้มลม ( AIR COMPRESSOR )

สวัสดีคะ วันนี้เราจะมีพูดถึงประเภทของปั๊มลมกันนะค่ะ ว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ประเภทของปั๊มลม ปั๊มลม ( AIR COMPRESSOR )
เขียนเมื่อ: วันอาทิตย์ 19 ธันวาคม 2553 16:21 ที่ใช้กันทั่วๆไปมี 6 ประเภท

  1. ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
  2. ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)
  3. ปั้มลมแบบ ไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR )
  4. ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )
  5. ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )
  6. ปั้มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR)

 

ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
เป็นปั้มลมที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถอัดลมได้ตั้งแต่ความดันต่ำ จนถึงความดันสูง สามารถสร้างความดันได้ตั้งแต่หนึ่งบาร์จนถึงเป็นพันบาร์
โดยขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นของการอัด ถ้าขั้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างความดันให้สูงขึ้นตามไปด้วย

ปั้มลมแบบสกรู ( SCREW COMPRESSOR ) 
ปั้มอัดลมชนิดนี้ภายในคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จะมีเพลา สกรูสองเพลาที่หมุนขบกัน เรียกว่า เพลาตัวผู้ และเพลาตัวเมีย
เพลาสกรูทั้งสองจะประกอบอยู่ในตัวเรือน เดียวกันโดยหมุนด้วยความเร็วรอบเกือบเท่ากัน ซึ่งเพลาตัวผู้จะหมุนเร็วกว่าเพลาตัวเมียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีทิศทางการหมุนเข้าหากัน
ทำให้ดูดลมจากด้านหนึ่ง และอัดส่งต่อไปอีกด้านหนึ่งได้ โดยสามารถทำให้ค่าความดันสูงถึง 10 บาร์ และมีอัตราการจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที

ปั้มลมแบบไดอะเฟรม ( DIAPHARGM COMPRESSOR ) 
ใช้หลักการของปั้มลมแบบลูกสูบโดยจะใช้ไดอะ เฟรมเป็นตัวทำให้ลูกสูบและห้องดูดอากาศแยกออกจากกัน นั่นหมายถึงว่า ลมที่ถูกดูดในปั้มอัดลมชนิดนี้จึงปราศจากน้ำมันหล่อลื่น ด้วยเหตุนี้ปั้มอัดลมแบบนี้ จึงนิยมใช้กันในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมเคมี

ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )
ปั้มลมชนิดนี้จะมีการหมุนที่เรียบสม่ำเสมอ เสียงไม่ดัง การผลิตลมเป็นไปอย่างคงที่ ความสามารถในการผลิตลมสามารถทำได้ 4 ถึง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ความดันที่ทำได้ 4 ถึง 10 บาร์

ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )
เมื่อโรเตอร์ทั้งสองหมุน อากาศจะถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ทำให้อากาศไม่ถูกอัดตัว แต่อากาศจะถูกอัดตัวในกรณีที่อากาศถูกส่งเข้าไปในถังเก็บลม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน

ปั้มลมแบบกังหัน ( RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR )
ปั้มลมชนิดนี้ใช้หลักการของกังหันใบพัด การเคลื่อนที่ของโรเตอร์มีความเร็วสูง จะทำให้ลมถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ปั้มลมแบบ นี้เหมาะกับงานที่ต้องการอัตราไหลของลมสูง คือ สามารถผลิตอัตราการจ่ายลมได้ตั้งแต่ 170 ถึง 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที แต่ความดันไม่สูงมากนัก คือ 4 ถึง 10 บาร์


 ข้อมูลจาก raveeintertrade.com


Website : http://www.airpumpcenter.com/
New website : https://www.airpumpcenter.supply/16801905/air-compressor-ปั๊มลมลูกสูบ-ปั๊มลมแบบสกรู

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วิธีการติดตั้ง "ปั๊มน้ำ"

วิธีการติดตั้ง "ปั๊มน้ำ"
1. ระยะดูดจากระดับผิวน้ำถึงกึ่งกลางตัวปั๊ม ไม่ควรเกิน 6 เมตร
2. ระยะ (L) ไม่ควรเกิน 1 เมตร เพื่อลดแรงต้านทาน และแรงสูญญากาศ
3. อย่าใช้ท่ออ่นอหรือสายยางทำท่อดูดและท่อส่ง เพื่อหลีกเลี่ยงท่อตีบและบิดงอ
4. ใช้ท่อที่มีขนาดเท่ากับทางเข้า-ออกของปั๊ม
5. ควรติดตั้งวาล์วทั้งสองด้านของปั๊ม ห่างจากปั๊มด้านละประมาณ 1-2 ฟุต
เพื่อสะดวกในการถอดปั๊มซ่อมแซม และช่วยป้องกันน้ำไหลย้อนขณะไล่อากาศก่อนใช้ปั๊ม
6. ปลายท่อดูดควรห่างจากก้นบ่อและผนัง อย่างน้อย 1.5-2เท่า ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อดูด
7. ควนใส่หัวกระโหลก หรือใส่อุปกรณ์กรองที่ปลอยท่อดูด (แต่ช่องที่น้ำหลผ่าน หน้าตัดรวมต้องไม่น้อย
กว่าหน้าตัดท่อดูด)
8. อย่าต่อท่อหลายทาง หรือต่อท่อโค้งงอ
9. ติดตั้งปั๊มที่ร่ม ไม่โดนฝนและแสงแดด
10. ติดตั้งปั๊มห่างจากแหล่งกำเนิดความร้อนต่างๆ อย่างน้อย 2-3 เมตร
11. ติดตั้งปั๊มห่างจากผนังรอบด้าน อย่างน้อย 1 ฟุต เพื่อนสะดวกในการตรวจเช็คซ่อมบำรุง
และระบายความร้อน
12. ใช้วัสดุยืดหยุ่นและซับแรงสั่นสะเทือนในการยึดฐานปั๊ม เช่น ยาง ฯลฯ
13. กระแสไฟฟ้าต้องเป็นระบบเดียวกับปั๊ม ควรติดตั้งอุปรณ์ตัดไฟ และต่อสายดินทุกครั้ง


การใช้งานและข้อควรระวัง

1. ทดลองหมุนเพลาของปั๊มด้วยมือโดยหมุนที่ใบพัดหลังให้มั่นใจว่าหมุนคล่องตัง
2. ปิดวาล์วทางออกน้ำ (1) เพื่อเตรียมการล่อน้ำ
3. เปิดสกรู A เติมน้ำใส่ให้เต็มเพื่อไล่อากาศและปิด
4. เปิดปั๊ม
5. ค่อยๆเปิดวาล์วทางออกน้ำ (1) ให้สุด
6. หลีกเลี่ยงการดูดของเหลวที่ไม่ใช่น้ำ หรือน้ำปนสารเคมี
7. ก่อนการซ่อมบำรุง ควรตัดกระแสไฟฟ้าก่อนทุกครั้ง
นี่ก็คือหลักการเบื้องต้น ของการใช้ปั๊มน้ำ เป็นการช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของปั๊มได้มากขึ้นครับ



New website : https://www.airpumpcenter.supply

Website : http://www.airpumpcenter.com

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

คู่มือวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษา PRESSURE DIAPHRAGM TANK



คู่มือวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษา
PRESSURE DIAPHRAGM TANK



ประโยชน์ของถังแรงดัน   PRESSURE DIAPHRAGM TANK
1. เพื่อช่วยหน่วงการทำงานของเครื่องสูบน้ำ (Start-Stop) ให้มีระยะเวลาที่นานขึ้น
มีผลทำให้เครื่องสูบน้ำและระบบ Booster Pump มีอายุการใช้งานได้นานขึ้นเช่นกัน
(ช่วยลดพลังงาน, ลดค่าใช้จ่าย, ลดการสึกหรอ)
2. เพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในระบบท่อ

ตำแหน่งการติดตั้ง
1. ติดตั้งถังอยู่ใกล้ปั๊ม เป็นแบบที่เลือกใช้มากที่สุด เพราะสะดวก
และสามารถควบคุมดูแลได้ง่าย
2. ติดตั้งตรงกลางหรือส่วนปลายท่อ ในกรณีที่แรงดันใช้งานต้นทางสูงกว่า
แรงดันสูงสุดของถังแรงดันที่สามารถรับได้
3. ติดตั้งใกล้กับส่วนที่ระบบเกิดการ Shock เพื่อควบคุมการกระแทกหรือการเปลี่ยนแปลง
ความดันในระบบอย่างรวดเร็ว หรือเพื่อป้องกันการเกิดแรงดันย้อนกลับ,
เพื่อป้องกันอุปกรณ์ในระบบเกิดความเสียหาย เช่น  เช็ควาล์ว, โซลีนอยด์วาล์ว,
มิกซิ่งวาล์ว, มิเตอร์, ปั๊ม และท่อ

ระยะเวลาในการตรวจเช็ค 
1. เช็คการทำงานของ Booster  Pump  ทำงานผิดปกติหรือไม่ ทุกสัปดาห์
2. ตรวจเช็คลมใน Pressure Tank ทุกๆ 6 เดือน



อาการเสียและการแก้ไข





วิธีปฏิบัติและขั้นตอนในการเช็คลมในถัง
1. เช็คการ Start-Stop ของระบบว่าปั๊มเดินที่แรงดันเท่าไร และปั๊มหยุดที่แรงดันเท่าไร
2. ปิดวาล์ว No.1 แล้วไปเปิดวาล์ว No.2  เพื่อระบายน้ำในถังแรงดันออกจนหมด
3. ใช้เครื่องมือวัดลมยางรถยนต์ทั่วไป วัดลมในถังที่จุ๊บเติมลม No.3
  
หมายเหตุ
  • ถ้ามีน้ำออกมามากและต่อเนื่องจากลูกศรในขณะที่กด ให้สันนิษฐานว่ายางไดอะแกรมแตก
  • ถ้ากดแล้วมีลมออกมานิดหน่อย วัดลม แล้วอ่านค่าและจดบันทึกลมใน Pressure Tank จากเครื่องวัด
ตัวอย่าง
สมมุติว่าปั๊มในระบบเดินที่ 40 PSI และหยุดที่ 55 PSI
ลมในถังแรงดัน (Precharge Pressure) คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับจุด Start หรือ น้อยกว่า 10% ของจุด Start
จากตัวอย่าง จุด Start ของปั๊มที่ 40 PSI
        ดังนั้น ลมในถังจะต้องมี = 40 PSI หรือ น้อยกว่า 10 % ของจุด Start = 36 PSI  

1. ถ้าค่าที่อ่านจากเครื่องมือวัดลมยาง อ่านได้น้อยกว่าจุด Start มากๆ ให้เติมลม
2. เพิ่มเข้าไป แต่ถ้ามีมากกว่าจุด Start ให้เอา  ลมออก
3. เมื่อเติมลมถูกต้องแล้วให้ปิดวาล์ว 2  และ เปิดวาล์ว 1  ตามลำดับ

ข้อควรระวัง
1. ถ้ามีลมในถังแรงดันมากกว่าจุด Start มากจะทำให้ปั๊มไม่สามารถอัดน้ำเข้าในถังได้
2. ถ้าลมในถังแรงดันมีมากกว่าจุด Start และ Stop ของปั๊มมากเกินไป จะทำให้ระบบการ
Start-Stop  กระชากอย่างรุนแรง








วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Centrifugal Pump EBARA หรือที่เรียกกันว่า ปั๊มหอยโข่ง

Centrifugal Pump EBARA



          ปั๊มแบบหมุนเหวี่ยง (Centrifugal pump) อาจเรียกว่า ปั๊มหอยโข่ง เป็นปั๊มชนิดหนึ่งที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางตามบ้านเรือน เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

          Centrifugal pump มีหลักการทำงานโดยใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางของใบพัดปั๊ม ทำให้ของเหลวมีความเร็วเพิ่มขึ้น เป็นปั๊มสำหรับใช้งานทั่วไป เพื่อขนถ่ายของเหลวเข้าสู่อุปกรณ์ต่างๆ
เหมาะกับอาหารเหลวที่มีความหนืดต่ำ แต่ไม่เหมาะกับของเหลวที่มีชิ้นเนื้อปนอยู่ด้วย หากมีชิ้นเนื้อปนอยู่จะเกิดการอุดตันได้



New website : https://www.airpumpcenter.supply/16771590/ebara
Website : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539734240

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ใบพัดของปั๊ม Tsurumi (Channel Impeller, Cutter Impeller, Vortex Impeller, Grinder Impeller)


เรามาดูกันว่าปั๊มแช่ Submersible Pump ของ Tsurumi มีใบพัดแบบไหนบ้าง อย่ารอช้าคะ ไปดูกันเลยยย...




Channel Impeller
ใบพัดเป็นแบบกึ่งเปิด(Semi-open) ที่มีใบพัดเดี่ยว โดยมีช่องกว้างที่ต่อเชื่อมจากทางเข้าถึงทางออก
โครงสร้างใบพัดลักษณะนี้จะช่วยให้ปั๊มสามารถสูบตะกอนจากทางน้ำเข้าไปยังทางน้ำออกได้โดยมีการอุดตันน้อยที่สุด





Cutter Impeller 
ใบพัดเป็นแบบ Semi-open ที่มีใบพัดเดี่ยว โดยมีการติดตั้งโลหะ Tungsten carbide ไว้บนใบพัด ซึ่งจะหมุนบน Suction Cover
ที่มีลักษณะขอบคล้ายฟันเลื่อย อุปกรณ์นี้จะช่วยให้การตัดวัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นใยที่ไหลเข้าสู่ใบพัด




Vortex Impeller
ใบพัดเป็นแบบ Vortex การหมุนของใบพัดจะก่อให้เกิดน้ำวน และแรงหนีศูนย์กลางระหว่างใบพัดกับตัวเรือนปั๊ม
จากโครงสร้างตัวเรือนปั๊มที่มีขนาดกว้าง ฉะนั้นแม้ว่าจะมีตะกอนขนาดใหญ่ หรือมีลักษณะเป็นเส้น ก็จะถูกสูบออกไปได้โดยไม่มีการอุดตัน





Grinder Impeller
ตัวบดนี้ผลิตจากโลหะโครเมียมหล่อซึ่งมีความทนทานสูงต่อการสึกกร่อน กลไกการบดจะอยู่ที่ด้านดูดของตัวปั๊ม
ตะกอนแขวนลอยที่ถูกดูดเข้าไปจะถูกตัดให้มีขนาดเล็กลงและถูบสูบออกไป อุปกรณ์นี้ช่วยแก้ปัญหาการอุดตันได้ในท่อขนาดเล็ก



**อย่างไรก็ตาม ควรเลือกปั๊มให้ตรงกับการใช้งานนะคะ





วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การติดตั้งปั๊มจุ่มที่ถูกต้อง

การติดตั้งปั๊มจุ่มที่ถูกต้อง



การเลือกปั๊ม
1. ต้องแน่ใจว่าปั๊มนั้นมีขนาดและความสามารถถูกต้อง
ถ้าเลือกปั๊มขนาดใหญ่เกินไป ปัญหาต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้
- ค่าใช้จ่ายในการใช้ปั๊มจะสูง
- การใช้จะไม่ ประหยัดเพราะการใช้งานจะไม่มีประสิทธิภาพ
- อัตราการสูบจะสูง ทำให้มอเตอร์ทำงานหนักเกินไป
- ปั๊มอาจจะดูดสิ่งแปลกปลอมเข้าไปได้
- การสึกหรอในปั๊มจะสูงกว่าปกติ
*เฮดที่ใช้ควรมีการเผื่อจากเฮดที่คำนวนได้จากการฝีดของท่อและเฮดรวม + 10%

2. ติดตั้งปั๊มในที่ที่จะเข้าไปบำรุงรักษาได้โดยสะดวก
- เมื่อมีการสร้างหรือต่อเติมโครงสร้างอาคารภายหลังการติดตั้งปั๊มแล้ว
ควรพิจารณาให้มีบริเวณมากพอที่จะเข้าไปบำรุงรักษา หรือถอดรื้อปั๊มได้อย่างสะดวก
- ควรมีช่องลอด (manhole) อยู่เหนือตัวปั๊ม
- ควรมีอุปกรณ์สำหรับต่อและปลดปั๊ม



ตำแหน่งการติดตั้งที่ถูกต้อง





การติดตั้งและข้อควรระวัง
ขอแนะนำว่ารายละเอียดต่อไปนี้จะต้องตรวจสอบให้ดีทันทีเมื่อได้รับปั๊มมาติดตั้ง
- รุ่น , เฮด , อัตราการสูบ , ความเร็วรอบ , แรงเคลื่อนไฟฟ้า(Voltage)
ความถี่ของกระแสไฟฟ้า ฯลฯ ตามปรากฏบนฉลาก (nameplate) ควรตรงกับใบซื้อ
- ความเสียหายหรือรอยบุบสลายรวมทั้งความสั่นคลอนหรือหลุดหลวมในระหว่างการขนส่ง
- อุปกรณ์ประกอบที่มากับปั๊มจะต้องครบถ้วน
*ถ้ามีข้อผิดพลาดหรือไม่ตรงกับรายการที่ระบุในใบสั่งซื้อจะต้องแจ้งบริษัทตัวแทนทันที





New website : https://www.airpumpcenter.supply/16737816/submersible-pump-ปั๊มแช่
Website : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539728911&Ntype=29

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วันจันทร์ที่ 31 ตุลาคม พ.ศ. 2559

การติดตั้งและบำรุงรักษาปั๊มน้ำ Ebara

การติดตั้งและบำรุงรักษาปั๊มน้ำ Ebara

การวางแผนการติดตั้ง


1. ระยะดูด
             ระยะดูดขึ้นอยู่กับคุณลักษณะและชนิดของปั๊ม อุณหภูมิของของเหลวและสภาพของท่อ เมื่อมีแผนการติดตั้งปั๊มควรพิจารณาหัวข้อต่างๆ ต่อไปนี้

1. อุณภูมิปกติ, น้ำจืด
ระยะดูดจากระดับน้ำในแหล่งสูบถึงกึ่งกลางปั๊มไมม่เกิน 6 ม.

2. อุณภูมิน้ำสูงกว่าปกติ

        อุณหภูมิน้ำ           ระยะดูด
           20°C                -6 ม.
           40°C                -5 ม.
           60°C                -3 ม.
           70°C                -2 ม.
           80°C                 0 ม.
         100°C               +7 ม.


3. ท่อดูดยาว
ท่อดูดยาวจะทำให้ระยะดูดลดลง เนืองจากความฝืดในท่อจะสูง

4. การสูบของเหลวที่เป็นไอได้
เคมีภัณฑ์และน้ำมันจากถ่านหินกลายเป็นไอระเหยได้ง่ายมาก เมื่อทำการสูบจะต้องให้ของเหลวอยู่สูงกว่าปั๊ม ขอแนะนำให้เลือกใช้ปั๊มและอุปกรณ์เฉพาะที่ใช้กับของเหลวชนิดนั้นๆ ข้อมูลเหล่านี้หาได้จากบริษัทผู้ผลิตปั๊ม


2. สถานที่ติดตั้ง

1. ติดตั้งปั๊มในที่แห้ง
   การติดตั้งปั๊มในที่ที่มีความชื้นในอากาศสูงจะทำให้แบริงเป็นสนิมได้ง่ายและค่าความต้านทานของฉนวนของมอเตอร์สั้นลง ดังนั้นจึงควรติดตั้งปั๊มในที่ที่แห้ง อากาศถ่ายเทได้สะดวกและไม่ร้อน

2. อุณหภูมอตำกว่า  100°C
   เมื่ออุณหภูมิของอากาศสูง การระบายอากาศรอบๆ มอเตอร์ไม่ดี อุณหภูมิของมอเตอร์สูงและความต้านทานฉนวนของมอเตอร์ลดลงเหล้านี้อาจเกิดขึ้นได้ ดังนั้นจึงควรหลีกเลี่ยงการติดตั้งปั๊มในพื้นที่ที่ มีอากาศถ่ายเทไม่สะดวกและควรห่างไกลจากความร้อน เช่นจากหม้อน้ำ

3. ควรติดตั้งที่ที่มีพื้นที่กว้างพอสำหรับการถอดปั๊มเพื่อตรวจสอบ
   พื้นที่คับแคบทำให้การถอดและการตรวจเช็คปั๊มลำบาก จะทำให้เกิดความล่าช้าเสียเวลาและจะเกิดการเบื่อหน่ายวึ่งอาจทำให้เกิดการละเลยเว้นการตรวจบำรุงประจำปี อันมีผลให้อายุของปั๊มสั้นลง ดังนั้นจึงต้องแน่ใจว่าสถานที่รอบๆปั๊มรวมถึง ข้างบนเหนือปั๊มต้องกว้างพอสำหรับ
การตรวจสอบบำรุงรักษา

4. การติดตั้งภายในร่ม
   มอเตอร์สำหรับงานปั๊มทั่วๆไปโดยปกติแล้วจะออกแบบสำหรับการใช้งานในร่ม ถ้าจำเป็นต้องใช้งานกลางแจ้ง จำเป็นจะต้องมีที่บังกันฝนให้ และที่กำบังต้องใหญ่พอเพื่อให้มีอากาศถ่ายเทได้สะดวกเพื่อลดความร้อนที่แผ่ออกจากมอเตอร์เอง ถ้าเอามอเตอร์ไปใช้กลางแจ้งดดยไม่มีที่กำบังค่าความต้านทานของฉนวนของขดลวดจะเสียหาย จะเป็นสนิมภายใน และอาจนำไปสู่อุบัติเหตุอื่นๆได้

5. ฐานรองปั๊มต้องดูดซับกันสั่นสะเทือนได้
  และควรใช้ข้อต่อเพลาชนิดหยุ่นตัวได้  การใช้ฐานหรือแท่นปั๊มรองรับจะทำให้อาการสะเทอนถ่ายทอดไปสู่พื้นหรืออาคคาร น้องลง เมื่อจะเลือกใช้ฐานรองปั๊มชนิดดูดซับความสั่นสะเทือน ควรปรึกษาวิศวกรโครงสร้าง และควรใช้แพคกิ้งยางรองรับจุดสำคัญๆ ด้วย



 3. ท่อดูด
      การติดตั้งท่อดูดไม่ถูกต้องอาจทำให้ดูดน้ำไม่ขึ้น จึงต้องระวังในหัวข้อต่อไปนี้

1. ท่อดูดต้องสั้นที่สุดและให้มีความคดหรือข้องอน้อยที่สุด
   ถ้าท่อดูดยาวหรือมีข้องอหรือคดมาก ความต้านทานในท่ออาจมากกว่าความสามารถของปั๊มได้ ดังนั้น ท่อควรสั้นที่สุดและมีข้องอให้น้อยที่สุด อีกประการหนึ่งยิ่งมีข้อต่อข้องอมาก โอกาสที่อากาศรั่วจะยิ่งมีมากขึ้น

2. จะต้องแน่ใจว่าท่อดูดจะไม่มีส่วนโค้งขึ้นจนเกินกะเปาะอากาศ
   กะเปาะอากาศในส่วนโค้งขึ้นของท่อ จะทำให้่น้ำไหลไม่เต็มท่อ และปั๊มไม่อาจทำงานได้

3. การติดตั้งควรคำนึงถึงพื้นที่สำหรับการรือท่อดูดด้วย
   หากปั๊มไท่ทำงาน สาเหตุหนึ่งก็คือ ฟุตวาล์วรั่ว ก็จำเป็นต้องถอดท่อดูดขึ้นมาตรวจเช็ค ถ้ามีพื้นที่กว้างพอการทำงานก็จะสะดวก ดังนั้นเมื่อจะทำการติดตั้งปั๊มน้ำควรวางแผนเผื่อพื้นที่ไว้สำหรับตรวจเช็คท่อดูดด้วย





New website : https://www.airpumpcenter.supply/16771590/ebara
Website : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539734240



วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

มารู้จัก Air Jet Aerator (เครื่องเติมอากาศแบบใต้ผิวน้ำ) กันดีกว่า!!

Air Jet Aerator เครื่องเติมอากาศแบบใต้ผิวน้ำ 



           Air Jet Aerator เป็นเครื่องเติมอากาศชนิด HORIZONTAL ASPIRATING AERATOR
โดยอาศัยการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งอยู่เหนือน้ำ มอเตอร์จะต่อกับแกนเพลาทำหน้าที่ขับใบพัด
ซึ่งอยู่ใต้น้ำ เมื่อใบพัดหมุนจะดันน้ำทำให้เกิดความดันที่แตกต่าง ทำให้อากาศภายนอกถูกดูดผ่านเข้ามาภายในแกนเพลา ทำให้เกิดฟองอากาศในน้ำจำนวนมาก จึงใช้สำหรับเป็นเครื่องเติมอากาศ และเพิ่มการไหลของน้ำในบ่อ

การติดตั้ง
สามารถติดตั้งได้ง่าย และรวดเร็ว มีทั้งแบบ FLOATED TYPE และFIXED TYPE สำหรับFLOATED TYPE เครื่องลงน้ำแล้วยึดด้วยเชือก ลวดสลิง หรือหลักยึด เครื่องจะลอยอยู่บนผิวน้ำ ณ.ตำแหน่งที่ต้องการเวลาใช้งานเพียงเปิดสวิทช์เครื่องทำงานตามต้องการ



ลักษณะการติดตั้งแบบต่างๆ








การวางตำแหน่งของ Air Jet Aerator ในลักษณะต่างๆ












http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=91666&Ntype=6


มารู้จัก Air Jet Aerator (เครื่องเติมอากาศแบบใต้ผิวน้ำ) กันดีกว่า!!

Air Jet Aerator เครื่องเติมอากาศแบบใต้ผิวน้ำ 



           Air Jet Aerator เป็นเครื่องเติมอากาศชนิด HORIZONTAL ASPIRATING AERATOR
โดยอาศัยการหมุนของมอเตอร์ไฟฟ้าซึ่งอยู่เหนือน้ำ มอเตอร์จะต่อกับแกนเพลาทำหน้าที่ขับใบพัด
ซึ่งอยู่ใต้น้ำ เมื่อใบพัดหมุนจะดันน้ำทำให้เกิดความดันที่แตกต่าง ทำให้อากาศภายนอกถูกดูดผ่านเข้ามาภายในแกนเพลา ทำให้เกิดฟองอากาศในน้ำจำนวนมาก จึงใช้สำหรับเป็นเครื่องเติมอากาศ และเพิ่มการไหลของน้ำในบ่อ

การติดตั้ง
สามารถติดตั้งได้ง่าย และรวดเร็ว มีทั้งแบบ FLOATED TYPE และFIXED TYPE สำหรับFLOATED TYPE เครื่องลงน้ำแล้วยึดด้วยเชือก ลวดสลิง หรือหลักยึด เครื่องจะลอยอยู่บนผิวน้ำ ณ.ตำแหน่งที่ต้องการเวลาใช้งานเพียงเปิดสวิทช์เครื่องทำงานตามต้องการ



ลักษณะการติดตั้งแบบต่างๆ








การวางตำแหน่งของ Air Jet Aerator ในลักษณะต่างๆ










http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=91666&Ntype=6

วันพฤหัสบดีที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2559

จุดเด่นของเครื่องเติมอากาศระบบลูกสูบ AIR PUMP NITTO(MEDO)

AIR PUMP NITTO(MEDO) LA Series 
มีให้เลือก 3 ขนาดตามลักษณะการใช้งาน คือ ขนาดเล็ก , ขนาดกลาง , ขนาดใหญ่ และขนาดใหญ่พิเศษ




จุดเด่น
1. ระบบการทำงานเงียบของเครื่องไม่ก่อให้เกิดเสียงรบกวน เสียงเงียบ 40-50 dB(A)/m.
2. การดูแลรักษาง่าย เพียงใช้ไขควงด้ามเดียวก็สามารถถอดเปลี่ยนอะไหล่ , ลูกสูบ และบำรุงรักษาได้ทั้งหมด
3. อายุการใช้งานยาวนาน จึงสามารถใช้งานติดต่อกันได้มากกว่า 20,000 ชั่วโมง โดยไม่ต้องพัก
4. ตัวเครื่องสามารถทนทานได้ทุกสภาพภูมิอากาศ ผ่านการรับรองรับคุณภาพสินค้าด้วยมาตรฐานจากหลากหลายสถาบัน
5. อุณหภูมิขณะทำงานต่ำ ด้วยการออกแบบโดยคำนึงถึงการประหยัดพลังงาน มีผลทำให้เครื่องไม่เกิดความร้อนสูง (OVERHEAT PROTECTION)
6. เครื่องถูกออกแบบมาให้มีประสิทธิภาพสูงสุดทำให้ประหยัดพลังงาน
7. น้ำหนักเบาและขนาดกระทัดรัด การติดตั้งสะดวก และปลอดภัย เพียงแค่เสียบปลั๊กไฟสามารถใช้งานได้ทันทีไม่จำเป็นต้องต่อสายดิน
8. สะอาดและรักษาสิ่งแวดล้อม เนื่องจากไม่ต้องใช้น้ำมันหล่อลื่น จึงทำให้ลมที่ได้มีความแห้งและสะอาด




Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16700795/nitto-medo
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=346176



วันจันทร์ที่ 10 ตุลาคม พ.ศ. 2559

Submersible Aerator "GSD" AR Series

Submersible Aerator "GSD" AR Series




ข้อควรทราบในการติดตั้ง

1. การติดตั้งการยึดชุด Setter ทั้งสองด้าน กับพื้นบ่อให้เรียบร้อย โดยหลักการติดตั้งตัว Setter เพื่อเป็นตัวล๊อคปั๊มไม่ให้เคลื่อนที่เมื่อปั๊มทำงาน และ อีกด้านหนึ่งเพื่อเป็นอุปกรณ์สวมใส่ท่อประคองตำแหน่งของปั๊ม (Guide Tubes) ในการเคลื่อนย้ายและติดตั้งแบบ (With Auto Setter)
2. การติดตั้งชุด (Air Suction Pipe) โดยท่อนี้ด้านล่างยึดติดกับทางเข้าอากาศของตัวปั๊ม ซึ่งมีหน้าแปลนเป็นจุดเชื่อมต่อกับท่อนำอากาศ Guide Pipe ส่วนด้านบนจะเชื่อมต่อกับวาล์วควบคุมปริมาณอากาศ และอุปกรณ์เก็บเสียง (Silence)
3. การติดตั้งโซ่ และสายไฟฟ้า ให้เรียบร้อย
4. การติดตั้งเกจ์ (Pressure Gate) ด้านทางดูดอากาศเสมอ เพื่อสังเกตจุดทำงาน และปริมาณอากาศที่เข้าสู่ตัวปั๊มอาทิเช่น ปั๊มเกิดการอุดตันปริมาณอากาศไม่สามารถเข้าไปผสมกับอากาศได้ และก็จะเป็นตัวบ่งบอกถึงการเปลี่ยนแปลงของความผิดปกติได้เช่นกัน
5. การติดตั้งวาล์ว (Gate Vale) ด้านทางดูดอากาศเสมอ เพื่อควบคุมปริมาณอากาศที่ต้องการ
6. การติดตั้ง With Auto Setter จะมีความสะดวก ในการเคลื่อนย้ายตำแหน่งปั๊มหลังจากที่ได้ติดตั้งปั๊มและตรวจสอบเป็นที่เรียบร้อย ก่อนที่จะเดินเครื่องให้ปั๊มทำงานเป็นครั้งแรกจำเป็นที่ต้องมีการตรวจสอบเสียก่อน มีอยู่บ่อยครั้งที่เสียหายในทันทีที่ทดลองให้ทำงานโดยมีสาเหตุมาจากความบกพร่องในการติดตั้ง

    ดังนั้นก่อนที่จะเริ่มทำงานพบว่าปั๊มมีการชำรุดเสียหาย ควรที่จะได้ตรวจสอบเบื้องต้นดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบทิศทางการหมุน ในกรณีที่ต้นกำลังเป็นมอเตอร์ไฟฟ้าอาจมีการหมุนผิดทางได้เนื่องจากการต่อขั้วไฟฟ้าไม่ถูกต้อง กรณีที่หมุนผิดทางสังเกตได้ดังนี้ กรณีแรกปริมาณอากาศจะไม่มีการดูดผ่านท่อนำอากาศและภายใต้พื้นน้ำจะไม่มีการฟุ้งกระจาย กรณีที่สองจะพบว่าการกินกระแสของตัวปั๊มต่ำกว่าปกติ
2. ตรวจสอบการเปิดวาล์ว ท่อดูดอากาศให้เรียบร้อย กรณีที่ติดตั้งวาล์วห่างไกล หรือในตำแหน่งที่สูง
3. ตรวจสอบความสะอาดภายในบ่อ เนื่องจากในการทดลองเดินเครื่องครั้งแรกสิ่งที่ระมัดระวังเป็นอย่างยิ่งคือสิ่งแปลกปลอม เช่น ขยะหรือเศษโลหะต่าง ๆ ไหลเข้าไปติดในปั๊ม ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานลดลง



Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16701196/gsd
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539164583&Ntype=18

วันอาทิตย์ที่ 2 ตุลาคม พ.ศ. 2559

ปั๊มจ่ายสารเคมี ปั๊มฟีดเคมี LMI MILTON ROY P+ Series , G Series

ปั๊มจ่ายสารเคมี ปั๊มฟีดเคมี  LMI MILTON ROY 

สวัสดีคะ วันนี้เอาใจผู้ที่มีความสนใจเกี่ยวกับปั๊มจ่ายสารเคมีกันนะคะ พูดถึงปั๊มจ่ายสารเคมี การแบ่งชนิดของปั๊ม จะแบ่งจากระบบขับเคลื่อนคะ




1. ขับเคลื่อนโดยขดลวดเหนี่ยวนำ ( P+ Series)
ข้อดี
 - มีระดับชั้นการป้องกัน IP65
 - มีการสึกหรอเนื่องจากทำงานน้อย เพราะมีแค่แกนที่ติดแผ่นไดอะแฟรมเท่านั้นที่เคลื่อนที่
 - สามารถรับสัญญาณภายนอกได้โดยที่ราคาไม่สูงมาก
 - ง่ายต่อการซ่อมแซม และบำรุงรักษา

ปั๊มเคมีขณะจ่ายสารเคมี
เมื่อจ่ายกระแสไฟให้ขดลวด จะเกิดสนามแม่ เหล็กรอบๆขดลวด
และเหนี่ยวนำให้แกนแผ่นไดอะแฟรมเคลื่อนที่ไปข้างหน้า
บอลด้านดูดจะถูกดันให้ปิดไว้ ส่วนบอลด้านจ่ายจะถูกดันให้เปิด

ปั๊มเคมีขณะดูดสารเคมี
 - เมื่อหยุดจ่ายกระแสไฟให้ปั๊มเคมี สปริงจะดึงแกนแผ่นไดอะแฟรม ให้กลับเข้าสู่ที่เดิม
 - แผ่นไดอะแฟรมจะเคลื่อนที่ถอยหลังและจะดูดสารเคมีที่อยู่ที่ในท่อขึ้นมา

ข้อควรระวังในการติดตั้ง
 - อินเจคชั่นวาล์วควรติดตั้งในแนวดิ่งและควรวางตัวดังรูป

 - ฟุตวาล์วควรวางตัวในแนวดิ่งและควรให้อยู่สูงจากก้นถังประมาณ 5 cm.
 - สายเคมีไม่ควรตัดให้ยาวเกินไปจนขดเป็นเกลียว
 - ระยะดูดของปั๊มเคมีไม่ควรเกิน 1.5 m.

2. ขับเคลื่อนโดยมอเตอร์ไฟฟ้า ( G Series)
ข้อดี
 - ระบบขับเคลื่อนเป็นแบบ Variable eccentric ซึ่งจะให้การจ่ายเคมีเป็นไปอย่างต่อเนื่อง
 - สามารถสูบจ่ายสารเคมีได้สูงถึง 1,800 l/h และทำแรงดันได้ถึง 12 bar
 - มีปุ่มสำหรับล็อคปุ่มปรับ
 - ระยะดูดสูงสุดไม่ควรเกิน 3 m.

การบำรุงรักษาปั๊มเคมี
 - ควรตรวจสอบสภาพทั่วไปของปั๊มเคมีอย่างสม่ำเสมอ
 - ควรตรวจสอบรอยรั่วตามจุดข้อต่อต่างๆอย่างสม่ำเสมอ
 - ควรตรวจเช็คหรือเปลี่ยนชิ้นส่วนต่างๆที่อาจเสื่อมสภาพได้ตามการใช้งาน
 - ดูแลรักษาความสะอาดตัวเรือนปั๊ม






P Series
Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16793536/p-series
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539631314&Ntype=24

G Series
Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16793537/g-series
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539631313&Ntype=24

วันพุธที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2559

AIR PUMP NITTO(MEDO) เครื่องเติมอากาศระบบลูกสูบ

สวัสดีคะ ห่างหายกันไปนานเลย วันนี้เรามาดูกันว่าเครื่องเติมอากาศระบบลูกสูบ NITTO(MEDO) ทำหน้าที่อะไร และมีข้อดีอย่างไรบ้างคะ

NITTO(MEDO) เครื่องเติมอากาศระบบลูกสูบ
ทำหน้าที่ในการเติมอากาศ และกวนน้ำ
เพื่อให้จุลินทรีย์สามารถทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรีย์
ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งช่วยลดปัญหาของกลิ่นไม่พึงประสงค์





ข้อดีของระบบลูกสูบ คือเมื่อแรงลมตก(ตามอายุการใช้งาน)
เครื่องจะไม่ตัดลม(ไม่หยุดทำงาน)ในทันที
สามารถใช้งานต่อได้อีกระยะเวลาหนึ่ง(6-12เดือน)
เพื่อให้ผู้ใช้ได้มีเวลาในการสั่งซื้ออะไหล่หรือเครื่องใหม่ทดแทน
(หากเลี้ยงปลาจะไม่ส่งผลให้ปลาขาดอากาศหายใจ)
ซึ่งระบบอื่นเครื่องจะตัดลมในทันที








Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=346176