วันอาทิตย์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ประเภทของปั๊มลม ปั้มลม ( AIR COMPRESSOR )

สวัสดีคะ วันนี้เราจะมีพูดถึงประเภทของปั๊มลมกันนะค่ะ ว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ประเภทของปั๊มลม ปั๊มลม ( AIR COMPRESSOR )
เขียนเมื่อ: วันอาทิตย์ 19 ธันวาคม 2553 16:21 ที่ใช้กันทั่วๆไปมี 6 ประเภท

  1. ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
  2. ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)
  3. ปั้มลมแบบ ไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR )
  4. ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )
  5. ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )
  6. ปั้มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR)

 

ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
เป็นปั้มลมที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถอัดลมได้ตั้งแต่ความดันต่ำ จนถึงความดันสูง สามารถสร้างความดันได้ตั้งแต่หนึ่งบาร์จนถึงเป็นพันบาร์
โดยขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นของการอัด ถ้าขั้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างความดันให้สูงขึ้นตามไปด้วย

ปั้มลมแบบสกรู ( SCREW COMPRESSOR ) 
ปั้มอัดลมชนิดนี้ภายในคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จะมีเพลา สกรูสองเพลาที่หมุนขบกัน เรียกว่า เพลาตัวผู้ และเพลาตัวเมีย
เพลาสกรูทั้งสองจะประกอบอยู่ในตัวเรือน เดียวกันโดยหมุนด้วยความเร็วรอบเกือบเท่ากัน ซึ่งเพลาตัวผู้จะหมุนเร็วกว่าเพลาตัวเมียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีทิศทางการหมุนเข้าหากัน
ทำให้ดูดลมจากด้านหนึ่ง และอัดส่งต่อไปอีกด้านหนึ่งได้ โดยสามารถทำให้ค่าความดันสูงถึง 10 บาร์ และมีอัตราการจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที

ปั้มลมแบบไดอะเฟรม ( DIAPHARGM COMPRESSOR ) 
ใช้หลักการของปั้มลมแบบลูกสูบโดยจะใช้ไดอะ เฟรมเป็นตัวทำให้ลูกสูบและห้องดูดอากาศแยกออกจากกัน นั่นหมายถึงว่า ลมที่ถูกดูดในปั้มอัดลมชนิดนี้จึงปราศจากน้ำมันหล่อลื่น ด้วยเหตุนี้ปั้มอัดลมแบบนี้ จึงนิยมใช้กันในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมเคมี

ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )
ปั้มลมชนิดนี้จะมีการหมุนที่เรียบสม่ำเสมอ เสียงไม่ดัง การผลิตลมเป็นไปอย่างคงที่ ความสามารถในการผลิตลมสามารถทำได้ 4 ถึง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ความดันที่ทำได้ 4 ถึง 10 บาร์

ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )
เมื่อโรเตอร์ทั้งสองหมุน อากาศจะถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ทำให้อากาศไม่ถูกอัดตัว แต่อากาศจะถูกอัดตัวในกรณีที่อากาศถูกส่งเข้าไปในถังเก็บลม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน

ปั้มลมแบบกังหัน ( RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR )
ปั้มลมชนิดนี้ใช้หลักการของกังหันใบพัด การเคลื่อนที่ของโรเตอร์มีความเร็วสูง จะทำให้ลมถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ปั้มลมแบบ นี้เหมาะกับงานที่ต้องการอัตราไหลของลมสูง คือ สามารถผลิตอัตราการจ่ายลมได้ตั้งแต่ 170 ถึง 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที แต่ความดันไม่สูงมากนัก คือ 4 ถึง 10 บาร์


 ข้อมูลจาก raveeintertrade.com


Website : http://www.airpumpcenter.com/
New website : https://www.airpumpcenter.supply/16801905/air-compressor-ปั๊มลมลูกสูบ-ปั๊มลมแบบสกรู

วันพฤหัสบดีที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

วิธีการติดตั้ง "ปั๊มน้ำ"

วิธีการติดตั้ง "ปั๊มน้ำ"
1. ระยะดูดจากระดับผิวน้ำถึงกึ่งกลางตัวปั๊ม ไม่ควรเกิน 6 เมตร
2. ระยะ (L) ไม่ควรเกิน 1 เมตร เพื่อลดแรงต้านทาน และแรงสูญญากาศ
3. อย่าใช้ท่ออ่นอหรือสายยางทำท่อดูดและท่อส่ง เพื่อหลีกเลี่ยงท่อตีบและบิดงอ
4. ใช้ท่อที่มีขนาดเท่ากับทางเข้า-ออกของปั๊ม
5. ควรติดตั้งวาล์วทั้งสองด้านของปั๊ม ห่างจากปั๊มด้านละประมาณ 1-2 ฟุต
เพื่อสะดวกในการถอดปั๊มซ่อมแซม และช่วยป้องกันน้ำไหลย้อนขณะไล่อากาศก่อนใช้ปั๊ม
6. ปลายท่อดูดควรห่างจากก้นบ่อและผนัง อย่างน้อย 1.5-2เท่า ของขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางท่อดูด
7. ควนใส่หัวกระโหลก หรือใส่อุปกรณ์กรองที่ปลอยท่อดูด (แต่ช่องที่น้ำหลผ่าน หน้าตัดรวมต้องไม่น้อย
กว่าหน้าตัดท่อดูด)
8. อย่าต่อท่อหลายทาง หรือต่อท่อโค้งงอ
9. ติดตั้งปั๊มที่ร่ม ไม่โดนฝนและแสงแดด
10. ติดตั้งปั๊มห่างจากแหล่งกำเนิดความร้อนต่างๆ อย่างน้อย 2-3 เมตร
11. ติดตั้งปั๊มห่างจากผนังรอบด้าน อย่างน้อย 1 ฟุต เพื่อนสะดวกในการตรวจเช็คซ่อมบำรุง
และระบายความร้อน
12. ใช้วัสดุยืดหยุ่นและซับแรงสั่นสะเทือนในการยึดฐานปั๊ม เช่น ยาง ฯลฯ
13. กระแสไฟฟ้าต้องเป็นระบบเดียวกับปั๊ม ควรติดตั้งอุปรณ์ตัดไฟ และต่อสายดินทุกครั้ง


การใช้งานและข้อควรระวัง

1. ทดลองหมุนเพลาของปั๊มด้วยมือโดยหมุนที่ใบพัดหลังให้มั่นใจว่าหมุนคล่องตัง
2. ปิดวาล์วทางออกน้ำ (1) เพื่อเตรียมการล่อน้ำ
3. เปิดสกรู A เติมน้ำใส่ให้เต็มเพื่อไล่อากาศและปิด
4. เปิดปั๊ม
5. ค่อยๆเปิดวาล์วทางออกน้ำ (1) ให้สุด
6. หลีกเลี่ยงการดูดของเหลวที่ไม่ใช่น้ำ หรือน้ำปนสารเคมี
7. ก่อนการซ่อมบำรุง ควรตัดกระแสไฟฟ้าก่อนทุกครั้ง
นี่ก็คือหลักการเบื้องต้น ของการใช้ปั๊มน้ำ เป็นการช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของปั๊มได้มากขึ้นครับ



New website : https://www.airpumpcenter.supply

Website : http://www.airpumpcenter.com

วันอังคารที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

คู่มือวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษา PRESSURE DIAPHRAGM TANK



คู่มือวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษา
PRESSURE DIAPHRAGM TANK



ประโยชน์ของถังแรงดัน   PRESSURE DIAPHRAGM TANK
1. เพื่อช่วยหน่วงการทำงานของเครื่องสูบน้ำ (Start-Stop) ให้มีระยะเวลาที่นานขึ้น
มีผลทำให้เครื่องสูบน้ำและระบบ Booster Pump มีอายุการใช้งานได้นานขึ้นเช่นกัน
(ช่วยลดพลังงาน, ลดค่าใช้จ่าย, ลดการสึกหรอ)
2. เพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในระบบท่อ

ตำแหน่งการติดตั้ง
1. ติดตั้งถังอยู่ใกล้ปั๊ม เป็นแบบที่เลือกใช้มากที่สุด เพราะสะดวก
และสามารถควบคุมดูแลได้ง่าย
2. ติดตั้งตรงกลางหรือส่วนปลายท่อ ในกรณีที่แรงดันใช้งานต้นทางสูงกว่า
แรงดันสูงสุดของถังแรงดันที่สามารถรับได้
3. ติดตั้งใกล้กับส่วนที่ระบบเกิดการ Shock เพื่อควบคุมการกระแทกหรือการเปลี่ยนแปลง
ความดันในระบบอย่างรวดเร็ว หรือเพื่อป้องกันการเกิดแรงดันย้อนกลับ,
เพื่อป้องกันอุปกรณ์ในระบบเกิดความเสียหาย เช่น  เช็ควาล์ว, โซลีนอยด์วาล์ว,
มิกซิ่งวาล์ว, มิเตอร์, ปั๊ม และท่อ

ระยะเวลาในการตรวจเช็ค 
1. เช็คการทำงานของ Booster  Pump  ทำงานผิดปกติหรือไม่ ทุกสัปดาห์
2. ตรวจเช็คลมใน Pressure Tank ทุกๆ 6 เดือน



อาการเสียและการแก้ไข





วิธีปฏิบัติและขั้นตอนในการเช็คลมในถัง
1. เช็คการ Start-Stop ของระบบว่าปั๊มเดินที่แรงดันเท่าไร และปั๊มหยุดที่แรงดันเท่าไร
2. ปิดวาล์ว No.1 แล้วไปเปิดวาล์ว No.2  เพื่อระบายน้ำในถังแรงดันออกจนหมด
3. ใช้เครื่องมือวัดลมยางรถยนต์ทั่วไป วัดลมในถังที่จุ๊บเติมลม No.3
  
หมายเหตุ
  • ถ้ามีน้ำออกมามากและต่อเนื่องจากลูกศรในขณะที่กด ให้สันนิษฐานว่ายางไดอะแกรมแตก
  • ถ้ากดแล้วมีลมออกมานิดหน่อย วัดลม แล้วอ่านค่าและจดบันทึกลมใน Pressure Tank จากเครื่องวัด
ตัวอย่าง
สมมุติว่าปั๊มในระบบเดินที่ 40 PSI และหยุดที่ 55 PSI
ลมในถังแรงดัน (Precharge Pressure) คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับจุด Start หรือ น้อยกว่า 10% ของจุด Start
จากตัวอย่าง จุด Start ของปั๊มที่ 40 PSI
        ดังนั้น ลมในถังจะต้องมี = 40 PSI หรือ น้อยกว่า 10 % ของจุด Start = 36 PSI  

1. ถ้าค่าที่อ่านจากเครื่องมือวัดลมยาง อ่านได้น้อยกว่าจุด Start มากๆ ให้เติมลม
2. เพิ่มเข้าไป แต่ถ้ามีมากกว่าจุด Start ให้เอา  ลมออก
3. เมื่อเติมลมถูกต้องแล้วให้ปิดวาล์ว 2  และ เปิดวาล์ว 1  ตามลำดับ

ข้อควรระวัง
1. ถ้ามีลมในถังแรงดันมากกว่าจุด Start มากจะทำให้ปั๊มไม่สามารถอัดน้ำเข้าในถังได้
2. ถ้าลมในถังแรงดันมีมากกว่าจุด Start และ Stop ของปั๊มมากเกินไป จะทำให้ระบบการ
Start-Stop  กระชากอย่างรุนแรง








วันจันทร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

Centrifugal Pump EBARA หรือที่เรียกกันว่า ปั๊มหอยโข่ง

Centrifugal Pump EBARA



          ปั๊มแบบหมุนเหวี่ยง (Centrifugal pump) อาจเรียกว่า ปั๊มหอยโข่ง เป็นปั๊มชนิดหนึ่งที่นิยมใช้อย่างกว้างขวางตามบ้านเรือน เกษตรกรรม และอุตสาหกรรม

          Centrifugal pump มีหลักการทำงานโดยใช้แรงเหวี่ยงหนีศูนย์กลางของใบพัดปั๊ม ทำให้ของเหลวมีความเร็วเพิ่มขึ้น เป็นปั๊มสำหรับใช้งานทั่วไป เพื่อขนถ่ายของเหลวเข้าสู่อุปกรณ์ต่างๆ
เหมาะกับอาหารเหลวที่มีความหนืดต่ำ แต่ไม่เหมาะกับของเหลวที่มีชิ้นเนื้อปนอยู่ด้วย หากมีชิ้นเนื้อปนอยู่จะเกิดการอุดตันได้



New website : https://www.airpumpcenter.supply/16771590/ebara
Website : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539734240

วันอังคารที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

ใบพัดของปั๊ม Tsurumi (Channel Impeller, Cutter Impeller, Vortex Impeller, Grinder Impeller)


เรามาดูกันว่าปั๊มแช่ Submersible Pump ของ Tsurumi มีใบพัดแบบไหนบ้าง อย่ารอช้าคะ ไปดูกันเลยยย...




Channel Impeller
ใบพัดเป็นแบบกึ่งเปิด(Semi-open) ที่มีใบพัดเดี่ยว โดยมีช่องกว้างที่ต่อเชื่อมจากทางเข้าถึงทางออก
โครงสร้างใบพัดลักษณะนี้จะช่วยให้ปั๊มสามารถสูบตะกอนจากทางน้ำเข้าไปยังทางน้ำออกได้โดยมีการอุดตันน้อยที่สุด





Cutter Impeller 
ใบพัดเป็นแบบ Semi-open ที่มีใบพัดเดี่ยว โดยมีการติดตั้งโลหะ Tungsten carbide ไว้บนใบพัด ซึ่งจะหมุนบน Suction Cover
ที่มีลักษณะขอบคล้ายฟันเลื่อย อุปกรณ์นี้จะช่วยให้การตัดวัสดุที่มีลักษณะเป็นเส้นใยที่ไหลเข้าสู่ใบพัด




Vortex Impeller
ใบพัดเป็นแบบ Vortex การหมุนของใบพัดจะก่อให้เกิดน้ำวน และแรงหนีศูนย์กลางระหว่างใบพัดกับตัวเรือนปั๊ม
จากโครงสร้างตัวเรือนปั๊มที่มีขนาดกว้าง ฉะนั้นแม้ว่าจะมีตะกอนขนาดใหญ่ หรือมีลักษณะเป็นเส้น ก็จะถูกสูบออกไปได้โดยไม่มีการอุดตัน





Grinder Impeller
ตัวบดนี้ผลิตจากโลหะโครเมียมหล่อซึ่งมีความทนทานสูงต่อการสึกกร่อน กลไกการบดจะอยู่ที่ด้านดูดของตัวปั๊ม
ตะกอนแขวนลอยที่ถูกดูดเข้าไปจะถูกตัดให้มีขนาดเล็กลงและถูบสูบออกไป อุปกรณ์นี้ช่วยแก้ปัญหาการอุดตันได้ในท่อขนาดเล็ก



**อย่างไรก็ตาม ควรเลือกปั๊มให้ตรงกับการใช้งานนะคะ





วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

การติดตั้งปั๊มจุ่มที่ถูกต้อง

การติดตั้งปั๊มจุ่มที่ถูกต้อง



การเลือกปั๊ม
1. ต้องแน่ใจว่าปั๊มนั้นมีขนาดและความสามารถถูกต้อง
ถ้าเลือกปั๊มขนาดใหญ่เกินไป ปัญหาต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้
- ค่าใช้จ่ายในการใช้ปั๊มจะสูง
- การใช้จะไม่ ประหยัดเพราะการใช้งานจะไม่มีประสิทธิภาพ
- อัตราการสูบจะสูง ทำให้มอเตอร์ทำงานหนักเกินไป
- ปั๊มอาจจะดูดสิ่งแปลกปลอมเข้าไปได้
- การสึกหรอในปั๊มจะสูงกว่าปกติ
*เฮดที่ใช้ควรมีการเผื่อจากเฮดที่คำนวนได้จากการฝีดของท่อและเฮดรวม + 10%

2. ติดตั้งปั๊มในที่ที่จะเข้าไปบำรุงรักษาได้โดยสะดวก
- เมื่อมีการสร้างหรือต่อเติมโครงสร้างอาคารภายหลังการติดตั้งปั๊มแล้ว
ควรพิจารณาให้มีบริเวณมากพอที่จะเข้าไปบำรุงรักษา หรือถอดรื้อปั๊มได้อย่างสะดวก
- ควรมีช่องลอด (manhole) อยู่เหนือตัวปั๊ม
- ควรมีอุปกรณ์สำหรับต่อและปลดปั๊ม



ตำแหน่งการติดตั้งที่ถูกต้อง





การติดตั้งและข้อควรระวัง
ขอแนะนำว่ารายละเอียดต่อไปนี้จะต้องตรวจสอบให้ดีทันทีเมื่อได้รับปั๊มมาติดตั้ง
- รุ่น , เฮด , อัตราการสูบ , ความเร็วรอบ , แรงเคลื่อนไฟฟ้า(Voltage)
ความถี่ของกระแสไฟฟ้า ฯลฯ ตามปรากฏบนฉลาก (nameplate) ควรตรงกับใบซื้อ
- ความเสียหายหรือรอยบุบสลายรวมทั้งความสั่นคลอนหรือหลุดหลวมในระหว่างการขนส่ง
- อุปกรณ์ประกอบที่มากับปั๊มจะต้องครบถ้วน
*ถ้ามีข้อผิดพลาดหรือไม่ตรงกับรายการที่ระบุในใบสั่งซื้อจะต้องแจ้งบริษัทตัวแทนทันที





New website : https://www.airpumpcenter.supply/16737816/submersible-pump-ปั๊มแช่
Website : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539728911&Ntype=29

วันอาทิตย์ที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559