วันพุธที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2557

รูปแบบและการติดตั้งปั๊มจุ่มที่ถูกต้อง

รูปแบบและการติดตั้งปั๊มจุ่มที่ถูกต้อง
การเลือกปั๊ม
   1. ต้องแน่ใจว่าปั๊มนั้นมีขนาดและความสามารถถูกต้อง        ถ้าเลือกปั๊มมีขนาดใหญ่เกินไป ปัญหาต่อไปนี้อาจเกิดขึ้นได้
  • ค่าใช้จ่ายในการใช้ปั๊มจะสูง
  • การใช้จะไม่ประหยัดเพราะการใช้งานจะไม่มีประสิธิภาพ
  • อัตราการสูบจะสูงทำให้มอเตอร์ทำงานหนักเกินไป
  • ปั๊มอาจดูดสิ่งแปลกปลอมเข้าไปได้
  • การสึกหรอในปั๊มจะสูงกว่าปกติ
    เฮดที่ใช้ควรมีเผื่อจากเฮดที่คำนวนได้จากการฝืดของท่อและเฮดรวม + 10%
     
   2. ติดตั้งปั๊มในที่ที่จะเข้าไปบำรุงรักษาได้โดยสะดวก 
  • เมื่อมีการสร้างหรือต่อเติมโครงสร้างอาคารภายหลังการติดตั้งปั๊มแล้ว
    ควรพิจารณาให้มีบริเวณมากพอที่จะเข้าไปบำรุงรักษาหรือถอดรือปั๊มได้อย่างสะดวก
  • ควรมีช่องลอด (manhole) อยู่เหนือตัวปั๊ม
  • ควรมีอุปกรณ์สำหรับต่อและปลดปั๊ม


    ตำแหน่งการติดตั้งที่ถูกต้อง
 

การติดตั้งและข้อควรระวัง
        ขอแนะนำว่ารายละเอียดต่อไปนี้จะต้องตรวจสอบให้ดีทันทีเมื่อได้รับปั๊มมาติดตั้ง
  • รุ่น, เฮด, อัตรการสูบ, ความเร็วรอบ, แรงเคลื่อนไฟฟ้า (Voltage)
    ความถี่ของกระแสไฟฟ้า ฯลฯ ตามมราปรากฏบนฉลาก (nameplate) ควรตรงกับใบซื้อ
  • ความเสียหายหรือรอยบุบสลายรวมทั้งความสั่นคลอนหรือหลุดหลวมในระหว่างการขนส่ง
  • อุปกรณ์ประกอบที่มากับปั๊มจะต้องครบถ้วน
     
ถ้ามีข้อผิดพลาดหรือไม่ตรงกัรายการที่ระบุในใบสั่งซื้อจะต้องแจ้งบริษัทตัวแทนทันที





New website : https://www.airpumpcenter.supply/16737816/submersible-pump-ปั๊มแช่
Website : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539728911&Ntype=29

วันอังคารที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ประเภทของปั๊มลม ปั้มลม ( AIR COMPRESSOR )

สวัสดีครับ ห่างหายไปนาน วันนี้เราจะมีพูดถึงประเภทของปั๊มลมกันนะครับว่ามีกี่ประเภท อะไรบ้าง

ประเภทของปั๊มลม ปั้มลม ( AIR COMPRESSOR )

เขียนเมื่อ: วันอาทิตย์ 19 ธันวาคม 2553 16:21 ที่ใช้กันทั่วๆไปมี 6 ประเภท
  1. ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
  2. ปั้มลมแบบสกรู (SCREW COMPRESSOR)
  3. ปั้มลมแบบ ไดอะเฟรม (DIAPHARGM COMPRESSOR )
  4. ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )
  5. ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )
  6. ปั้มลมแบบกังหัน (RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR)
ปั้มลมแบบลูกสูบ (PISTON COMPRESSOR)
เป็นปั้มลมที่นิยมใช้กันมากที่สุด เพราะสามารถอัดลมได้ตั้งแต่ความดันต่ำ จนถึงความดันสูง สามารถสร้างความดันได้ตั้งแต่หนึ่งบาร์จนถึงเป็นพันบาร์
โดยขึ้นอยู่กับจำนวนขั้นของการอัด ถ้าขั้นในการอัดมากก็จะสามารถสร้างความดันให้สูงขึ้นตามไปด้วย

ปั้มลมแบบสกรู ( SCREW COMPRESSOR )
ปั้มอัดลมชนิดนี้ภายในคอมเพรสเซอร์ชนิดนี้จะมีเพลา สกรูสองเพลาที่หมุนขบกัน เรียกว่า เพลาตัวผู้ และเพลาตัวเมีย
เพลาสกรูทั้งสองจะประกอบอยู่ในตัวเรือน เดียวกันโดยหมุนด้วยความเร็วรอบเกือบเท่ากัน ซึ่งเพลาตัวผู้จะหมุนเร็วกว่าเพลาตัวเมียเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และมีทิศทางการหมุนเข้าหากัน
ทำให้ดูดลมจากด้านหนึ่ง และอัดส่งต่อไปอีกด้านหนึ่งได้ โดยสามารถทำให้ค่าความดันสูงถึง 10 บาร์ และมีอัตราการจ่ายลมได้ถึง 170 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที
ปั้มลมแบบไดอะเฟรม ( DIAPHARGM COMPRESSOR )
ใช้หลักการของปั้มลมแบบลูกสูบโดยจะใช้ไดอะ เฟรมเป็นตัวทำให้ลูกสูบและห้องดูดอากาศแยกออกจากกัน นั่นหมายถึงว่า ลมที่ถูกดูดในปั้มอัดลมชนิดนี้จึงปราศจากน้ำมันหล่อลื่น ด้วยเหตุนี้ปั้มอัดลมแบบนี้ จึงนิยมใช้กันในอุตสาหกรรมอาหาร อุตสาหกรรมยาและอุตสาหกรรมเคมี
ปั้มลมแบบใบพัดเลื่อน ( SLIDING VANE ROTARY COMPRESSOR )
ปั้มลมชนิดนี้จะมีการหมุนที่เรียบสม่ำเสมอ เสียงไม่ดัง การผลิตลมเป็นไปอย่างคงที่ ความสามารถในการผลิตลมสามารถทำได้ 4 ถึง 100 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที ความดันที่ทำได้ 4 ถึง 10 บาร์
ปั้มลมแบบใบพัดหมุน ( ROOTS COMPRESSOR )
เมื่อโรเตอร์ทั้งสองหมุน อากาศจะถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงปริมาตร ทำให้อากาศไม่ถูกอัดตัว แต่อากาศจะถูกอัดตัวในกรณีที่อากาศถูกส่งเข้าไปในถังเก็บลม ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีการระบายความร้อน
ปั้มลมแบบกังหัน ( RADIAL AND AXIAL FLOW COMPRESSOR )
ปั้มลมชนิดนี้ใช้หลักการของกังหันใบพัด การเคลื่อนที่ของโรเตอร์มีความเร็วสูง จะทำให้ลมถูกดูดจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง ปั้มลมแบบ นี้เหมาะกับงานที่ต้องการอัตราไหลของลมสูง คือ สามารถผลิตอัตราการจ่ายลมได้ตั้งแต่ 170 ถึง 2000 ลูกบาศก์เมตรต่อนาที แต่ความดันไม่สูงมากนัก คือ 4 ถึง 10 บาร์
 
เอนทรี่หน้าเราจะหาข้อมูลดีๆมาฝากกันอีกนะครับ

 ข้อมูลจาก raveeintertrade.com



วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การบำรุงรักษา แทงค์ PRESSURE DIAPHRAGM TANK

การบำรุงรักษา แทงค์


 


คู่มือวิธีการใช้งานและการบำรุงรักษา  PRESSURE DIAPHRAGM TANK
  ประโยชน์ของถังแรงดัน   PRESSURE DIAPHRAGM TANK
  1. เพื่อช่วยหน่วงการทำงานของเครื่องสูบน้ำ (Start-Stop) ให้มีระยะเวลาที่นานขึ้น
    มีผลทำให้เครื่องสูบน้ำและระบบ
    Booster Pump มีอายุการใช้งานได้นานขึ้นเช่นกัน
    (ช่วยลดพลังงาน, ลดค่าใช้จ่าย, ลดการสึกหรอ)
  2. เพื่อช่วยลดแรงกระแทกที่เกิดขึ้นในระบบท่อ

ตำแหน่งการติดตั้ง
  1. ติดตั้งถังอยู่ใกล้ปั๊ม เป็นแบบที่เลือกใช้มากที่สุด เพราะสะดวก
    และสามารถควบคุมดูแลได้ง่าย
  2.  ติดตั้งตรงกลางหรือส่วนปลายท่อ ในกรณีที่แรงดันใช้งานต้นทางสูงกว่า
    แรงดันสูงสุดของถังแรงดันที่สามารถรับได้
  3. ติดตั้งใกล้กับส่วนที่ระบบเกิดการ Shock เพื่อควบคุมการกระแทกหรือการเปลี่ยนแปลง
    ความดันในระบบอย่างรวดเร็ว หรือเพื่อป้องกันการเกิดแรงดันย้อนกลับ,
    เพื่อป้องกันอุปกรณ์ในระบบเกิดความเสียหาย เช่น  เช็ควาล์ว, โซลีนอยด์วาล์ว,
    มิกซิ่งวาล์ว, มิเตอร์, ปั๊ม และท่อ

ระยะเวลาในการตรวจเช็ค 
  1. เช็คการทำงานของ Booster  Pump  ทำงานผิดปกติหรือไม่ ทุกสัปดาห์
  2.  ตรวจเช็คลมใน Pressure Tank ทุกๆ 6 เดือน


อาการเสียและการแก้ไข
รายการ  อาการ  สาเหตุ การแก้ไข
 1  ปั๊มสตาร์ท
หยุดอย่างรวดเร็ว

  1. ตั้ง Pressure Switchไม่ถูกต้อง
  2.  ลมใน Tank ไม่ถูกต้อง
  3. ไดอะแฟรมในถังชำรุด
  4. ฟุตวาล์ว/เช็ควาล์วชำรุด
  5. ท่อรั่ว

  1. ตั้ง Pressure Switchให้ถูกต้อง
  2. ตรวจเช็คและปรับให้ถูกต้อง
  3. เปลี่ยนยางไดอะแฟรม, เปลี่ยนถังใหม่
  4. ซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่
  5. ซ่อม
 2  มีน้ำออกจากจุ๊บเติมลม  ไดอะแฟรมใน Tank ชำรุด  เปลี่ยนยางไดอะแฟรม, เปลี่ยนถังใหม่
 3  Tank เก็บลมไม่อยู่
  1. จุ๊บเติมลมชำรุด
  2. ไดอะแฟรมใน Tank ชำรุด
  3. หน้าแปลนของถังไม่สนิท
  4. น๊อตดึงยางตัวบนคลายตัว

  1. เปลี่ยนจุ๊บเติมลม
    (
    Air Valve) ใหม่
  2. เปลี่ยนยางไดอะแฟรม, เปลี่ยนถังใหม่
  3. ขันน๊อตหน้าแปลนให้แน่น
  4. ขันน๊อตตัวบนให้แน่น


วิธีปฏิบัติและขั้นตอนในการเช็คลมในถัง
  1. เช็คการ Start-Stop ของระบบว่าปั๊มเดินที่แรงดันเท่าไร และปั๊มหยุดที่แรงดันเท่าไร
  2. ปิดวาล์ว No.1 แล้วไปเปิดวาล์ว No.2  เพื่อระบายน้ำในถังแรงดันออกจนหมด
  3. ใช้เครื่องมือวัดลมยางรถยนต์ทั่วไป วัดลมในถังที่จุ๊บเติมลม No.3
  

หมายเหตุ  
  • ถ้ามีน้ำออกมามากและต่อเนื่องจากลูกศรในขณะที่กด ให้สันนิษฐานว่ายางไดอะแกรมแตก
  • ถ้ากดแล้วมีลมออกมานิดหน่อย วัดลม แล้วอ่านค่าและจดบันทึกลมใน Pressure Tank จากเครื่องวัด
  

ตัวอย่าง
สมมุติว่าปั๊มในระบบเดินที่ 40 PSI และหยุดที่ 55 PSI
ลมในถังแรงดัน (Precharge Pressure) คือ น้อยกว่าหรือเท่ากับจุด Start หรือ น้อยกว่า 10% ของจุด Start
จากตัวอย่าง จุด Start ของปั๊มที่ 40 PSI
ดังนั้น ลมในถังจะต้องมี = 40 PSI หรือ น้อยกว่า 10 % ของจุด Start = 36 PSI    
  1.  ถ้าค่าที่อ่านจากเครื่องมือวัดลมยาง อ่านได้น้อยกว่าจุด Start มากๆ ให้เติมลม
  2. เพิ่มเข้าไป แต่ถ้ามีมากกว่าจุด Start ให้เอา  ลมออก   
  3. เมื่อเติมลมถูกต้องแล้วให้ปิดวาล์ว 2  และ เปิดวาล์ว 1  ตามลำดับ
ข้อควรระวัง
  1.  ถ้ามีลมในถังแรงดันมากกว่าจุด Start มากจะทำให้ปั๊มไม่สามารถอัดน้ำเข้าในถังได้
  2.  ถ้าลมในถังแรงดันมีมากกว่าจุด Start และ Stop ของปั๊มมากเกินไป จะทำให้ระบบการ
    Start-Stop  กระชากอย่างรุนแรง

วันอังคารที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

การเช็คเครื่องเติมอากาศ ก่อนการเริ่มทำงาน Three-Lobe Blower

วันนี้เราจะมาพูดถึงการตรวจเช็คเครื่องเติมอากาศแบบ Three-Lobe Blower ขั้นต้นก่อนการทำงานกันครับ



สิ่งที่เราต้องตรวจดูก่อนการทำงานควรเช็คสิ่งต่อไปนี้นะครับ


  • ตรวจเช็คน็อตที่ยึดส่วนต่างๆว่าหลวมหรือไม่
  • ทำความสะอาดในท่อจนไม่มีวัสดุอื่นๆตกค้าง
  • เปิดวาล์วอย่างเต็มที่
  • ตรวจเช็คน้ำมันเพือง
     - ยังไม่ได้ใส่น้ำมันในห้องเฟืองมาจากโรงงาน ดังนั้นต้องแน่ใจว่าน้ำมันที่เตรียมไว้พอที่จะใส่ให้ถึงจุดกึ่งกลางของมาตรวัดน้ำมัน การใส่น้ำมันมากเกินไปจะทำให้น้ำมันรั่วได้
  • เติมจารบีในลูกปืน
    -  มีรูเติมจารบี 2 ด้าน , ด้านพูลเลย์ อัดจารบีโดยใช้ปืนอัดจารบี
  • เช็คความตึงของสายพาน
    -  ปรับตั้งพูลเลย์ให้อยู่ตรงกลางโดยใช้ไม้บรรทัดเหล้ก หรือสายป่านที่มีความเที่ยงตรง และปรับความตึงของสายพานโดยใช้ตัววัดความตึงปรับความตึง
    - สายพานจะทำงานได้ 2-3 วันก็จะหลวม ดังนั้นจะต้องปรับความตึงใหม่อย่างสม่ำเสมอ
  • เช็คแรงดันไฟฟ้า และความถี่ของแหล่งจ่ายไฟฟ้า
  • เช็คจุดต่อของสายไฟมอเตอร์
    - การหมุนของเมอเตอร์จะต้องเป็นการหมุนทวนเข็มนาฬิกา เมื่อมองทางด้านพูลเลย์
ข้อแนะนำในการเดินเครื่องเติมอากาศ
  • ในการเดินเครื่องเติมอากาศครั้งแรก อาจจะมีเสียงแหลมสูงดังขึ้นมาหรือกระแสไฟฟ้าสูง เนื่องจากค่าความหนืดของน้ำมันหล่อลื่น และจะกลับมาทำงานปกติภายใน 10-20 นาที
  • การปรับอัตราการไหลของอากาศ
    อัตราการไหลไม่ควรปรับโดยการปรับวาล์วด้านจ่าย, แต่ทำโดยการเปลี่ยนความเร็วรอบการหมุนหรือท่อระบายอากาศ เครื่องเติมอากาศจะทำงานที่ความดันที่กำหนดไว้

       ประโยชน์ของการตรวจเช็คเครื่องก่อนการทำงาน จะช่วยเพิ่มอายุการใช้งานของเครื่องเติมอากาศ ทำให้เครื่องสามารถทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ เสี่ยงต่อเสียหายของตัวเครื่องลดน้อยลง

หวังว่าคงมีประโยชน์ต่อผู้ที่ใช้งานเครื่องเติมอากาศ Three-Lobe Blower  กันบ้างนะครับ ไว้เรามาพบกันใหม่ในเอนทรีหน้าครับ




Web 1 : https://www.airpumpcenter.supply/16701178/taiko
Web 2 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=539164096

วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เครื่องเติมอากาศ Three-Lobe Helical Roots Type Rotary Blower

เครื่องเติมอากาศ  

Three-Lobe Helical Roots Type

 Rotary Blower


วันนี้เราจะมาพูดถึง เครื่องเติมอากาศ Three-Lobe Helical Roots  กันครับ กลไลของเครื่องเติมอากาศชนิดนี้จะมีสายพานเป็นแบบตัววีถูกหมุนขับเคลื่อนด้วยมอเตอร์ ที่ตั้งอยู่ที่ฐานเดียวกันและอากาศจะถูกดูดจากบรรยากาศถูกส่งออกด้านทางออกโดยการหมุนของใบพัดแบบ Tree-Lobe

การติดตั้ง ที่เราต้องต้องรู้เบื้องต้นครับ

  • ฐานควรมีความแข็งแรง มั่นคง และพื้นผิวจะต้องเรียบแบนและอยู่สูงจากระดับพื้น
  • พื้นที่โดยรอบควรมีพื้นที่ว่างพอสำหรับการซ่อมบำรุงและการตรวจสอบ
  • ถ้าอุณหภมูิในห้องเครื่องเติมอากาศสูงกว่า 40 องศาเซลเซียส จะทำให้อายุการใช้งานของเครื่องเติมอากาศและมอเตอร์สั้นลง ดังนั้นควรควบคุมอุณหภมูิไม่ให้เกิน 40 องศาเซลเซียส โดยให้มีระบบระบายอากาศ

ท่อ ก็เป็นส่วนสำคัญที่เราต้องให้ความสำคัญครับ

  • ท่อเครื่องเติมอากาศจะต้องมีข้อต่ออ่อน (Flexible Joint) ต่อร่วมด้วย หรือถ้าไม่มี จะส่งผลกระทบต่อตัวเครื่อง
  • วัสดุของท่อควรเป็นชนิดที่ทนต่ออุณหภมูิและความดันที่เกิดจากด้านจ่ายของเครื่องเติมอากาศ (ท่อเหล็กสามารถยอมรับได้)
  • ภายในท่อจะต้องควรทำความสะอาดและไม่มีวัสดุอื่นๆตกค้างภายในท่อ
  • ควรติดตั้งเช็ควาล์วเพื่อป้องกันการไหลย้อนกลับของอากาศเนื่องจากการสลับการทำงานของเครื่องเติมอากาศ

สำหรับวันนี้หวังว่าจะมีประโยชน์กับผู้ที่ต้องการใช้เครื่องเติมอากาศ Three-Lobe Helical Roots บ้างนะครับ เอนทรีหน้าเราจะมาพูดถึงการทำงานของเครื่องเติมอากาศกันครับ ^ ^

www.airpumpcenter.com
www.airpumpcenter.supply/16701178/taiko