AIRPUMPCENTER
วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2565
คู่มือการใช้งาน Vacuum Cleaner : AVC – 55
วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2565
การติดตั้งและใช้งานสวิทช์ลูกลอยเคเบิ้ลแบบใช้งานหนัก
การใช้งาน
สวิทซ์ลูกลอยเคเบิ้ลแบบใช้งานหนักรุ่น Q Series เป็นอุปกรณ์ควบคุมระดับของเหลว 2 ระดับ สามารถกำหนดให้การทำงานเป็นแบบสวิทช์ ON หรือสวิทซ์ OFF ที่ระดับของเหลวที่แตกต่างกันสองระดับในบ่อน้ำ หรือแท็งก์ก็ได้ความแตกต่างของตำแหน่งการ ON และตำแหน่งการ OFF สามารถปรับได้ ตั้งแต่ 150 ถึง 350 มม. สำหรับใช้ในน้ำ สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำมากกว่า 350มม. จำเป็นต้องใช้ลูกลอยเพิ่มเป็น2 ลูก ลูกแรกจะเป็น High Level Switch และอีกลูกหนึ่งจะเป็น Low Level Switch สวิทช์ลูกลอยนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกับน้ำ และยังสามารถใช้กับน้ำเสียได้อีกด้วย
สภาพแวดล้อมการใช้งาน
ลูกลอยชนิดนี้ทำจากโพลีโพพีลีน (Polypropylene) พร้อมสายเคเบิ้ลหุ้มไฮพาลอน (HypalonRubber) ไม่มีส่วนของโลหะที่สัมผัสกับของเหลว สามารถใช้งานได้กับของเหลวที่เป็นน้ำ น้ำทะเล กรด อัลคาไลน์ และน้ำยาเคมีหลายชนิด รวมไปถึงน้ำมัน น้ำมันที่สกปรกไขมันและในของเหลวอีกหลายชนิด ห้ามติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอย ที่มีระดับความลึกของการจมลงในน้ำมากเกินกว่า 30 เมตรหรือในภาชนะปิดที่มีความตันมากกว่า 300 kPa และในของเหลวที่มีอุณหภูมิต่ำกว่า -20' C หรือมากกว่า +80*C หากติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอย ในของเหลวที่มีอุณหภูมิเกินช่วงดังกล่าวนี้ อาจส่งผลให้อายุการใช้งานของสวิทช์ลดลงได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เมื่อนำไปใช้งานในของเหลวที่มีสารละลายเคมีความเข้มข้นสูงปนรวมอยู่ด้วย สวิทช์จะสามารถใช้งานได้กับของเหลวที่มีค่าความถ่วงจำเพาะไม่ต่ำกว่า 0.6 ของเหลวที่มีค่าความถ่วงจำเพาะต่ำกว่านี้ จะทำให้แรงพยุงตัวของสวิทช์ลดลง และส่งผลให้เกิดการทำงานผิดพลาดตามค่าความถ่วงจำเพาะที่ลดลงไปด้วย
การติดตั้งใช้งาน
ติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอยด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยรอบข้าง และทำให้อายุการใช้งานลดลงไปได้ ให้ติดตั้งใช้งานในตำแหน่งที่คาดว่าปลอดภัยที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งสวิทช์ลูกลอยในตำแหน่งทางไหลเข้าหรือออกของน้ำ หรือในตำแหน่งที่คาดว่าสวิทช์ลูกลอยจะเกิดการเสียดสีหรือมีวัตถุมากระทบ หากเกิดการเสียดสีระหว่างสายเคเบิ้ลของสวิทช์ลูกลอย และบริเวณพื้นผิวใกล้เคียงจะส่งผลทำให้อายุการใช้งานของสวิทช์ลูกลอยลดลงอย่างมาก และอาจทำให้สวิทช์ลูกลอยเสียหาย จนไม่อาจสามารถใช้งานได้อีก หรือเกิดการทำงานผิดพลาดโดยไม่ทราบสาเหตุขึ้นได้ ในกรณีที่ติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอยหลายตัวต้องตรวจสอบดูให้แน่ใจว่าสายเคเบิ้ลที่ต่อกับลูกลอย จะไม่พันกันหรือไม่เกิดการเสียดสีซึ่งกันและกัน
การต่อสายใช้งาน
การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายไฟฟ้าของสวิทช์ลูกลอยนี้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎระเบียบขอท้องถิ่นการใช้งานนั้นๆ และต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้นสวิทช์ลูกลอยนี้ใช้วงจรไฟฟ้าขนาด 240 โวลท์ในการควบคุม ในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัย สามารถใช้สวิทช์ลูกลอยกับไฟขนาด 24 หรือ 48 โวลท์ได้เช่นเดียวกัน ในกรณีที่ใช้สวิทช์ลูกลอยกับวงจรควบคุม 240 โวลท์ จำเป็นต้องต่อผ่าน Earth Leakage Circuit Breaker (เครื่องตัดไฟรั่ว) สวิทช์ลูกลอย (Float Switch) จะประกอบด้วยไมโครสวิทช์ แบบ Single Pole Double Throw (SPDT) คุณสมบัติของไมโครสวิทช์จะแสดงไว้บนผิวหน้าของสวิทช์ การต่อสายไฟจะใช้สายเคเบิ้ลหุ้มรับเบอร์ 1.5 มม. 3 แกน สีของสายจะประกอบด้วยสีน้ำเงิน สีดำ และสีน้ำตาล สีน้ำเงินจะเป็นสาย Common เมื่อแขวนลูกลอยให้อยู่ในตำแหน่งห้อยหัวลงล่าง (Vertical Down) สายสีดำกับสายสีน้ำเงิน จะเป็นหน้าสัมผัสแบบปิด (Close) และถ้าสายสีน้ำตาลต่อเข้ากับสายสีน้ำเงิน จะเป็นหน้าสัมผัสแบบเปิด (Open) ถ้ากลับลูกลอยให้หัวตั้งขึ้นสายเคเบิ้ลจะอยู่ใต้ลูกลอย สายสีน้ำเงินกับสายสีดำจะเป็นหน้าสัมผัสแบบเปิด (Open) และสายสีน้ำตาลกับสายสีน้ำเงินจะเป็นหน้าสัมผัสแบบปิด (Close) ในการใช้งานโดยทั่วไป จะติดตั้งสวิทช์ลูกลอยไว้ใน Junction Box โดยปิดให้มิดชิดมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และตั้งไว้เหนือระดับของเหลวในแท็งก์ หรือบ่อน้ำ พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งใช้งานในตำแหน่งที่ห่างด้วยรางหรือท่อ ทั้งนี้เพราะอาจทำให้การบำรุงรักษา การทดสอบและแม้แต่การเปลี่ยนชิ้นสวนอุปกรณ์ทำได้ยาก ในการประยุกต์ใช้งานโดยทั่วไป จะใช้งานเฉพาะสาย Common (สีน้ำเงิน) และสายสีดำ หรือสีน้ำตาลก็ได้ สำหรับการประยุกต์ใช้งานแบบ2 สาย (Two-Wire) ให้ใช้ฉนวนหุ้มสายที่ไม่ใช้งาน คือสายที่สามเอาไว้เนื่องจากอาจจะมีกระแสไฟไหลผ่านได้ในระหว่างการเปลี่ยนสถานะของสวิทช์
การติดตั้งใช้งานบนพื้นที่เสี่ยงอันตราย
สวิทช์ลูกลอย (Float Switch) จัดเป็นอุปกรณ์ในกลุ่ม "Simple Device"ตัวสวิทช์จะไม่มีส่วนโครงสร้างเชิงกล สำหรับเก็บพลังงานหรือให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานรับรองใดๆ เมื่อนำไปติดตั้งใช้งานบริเวณพื้นที่เสี่ยงอันตราย ในการติดตั้งใช้งานที่ต้องแยก (Isolate) โดยใช้รีเลย์ป้องกันภายใน (Zener Barrier) เป็นตัวไอโซเลต (Isolate)
https://www.airpumpcenter.supply
สวิทซ์ลูกลอยเคเบิ้ลแบบใช้งานหนักรุ่น Q Series เป็นอุปกรณ์ควบคุมระดับของเหลว 2 ระดับ สามารถกำหนดให้การทำงานเป็นแบบสวิทช์ ON หรือสวิทซ์ OFF ที่ระดับของเหลวที่แตกต่างกันสองระดับในบ่อน้ำ หรือแท็งก์ก็ได้ความแตกต่างของตำแหน่งการ ON และตำแหน่งการ OFF สามารถปรับได้ ตั้งแต่ 150 ถึง 350 มม. สำหรับใช้ในน้ำ สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานที่มีการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำมากกว่า 350มม. จำเป็นต้องใช้ลูกลอยเพิ่มเป็น2 ลูก ลูกแรกจะเป็น High Level Switch และอีกลูกหนึ่งจะเป็น Low Level Switch สวิทช์ลูกลอยนี้เหมาะสำหรับการใช้งานกับน้ำ และยังสามารถใช้กับน้ำเสียได้อีกด้วย
การติดตั้งใช้งาน
ติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอยด้วยความระมัดระวัง เนื่องจากอาจจะได้รับผลกระทบจากปัจจัยรอบข้าง และทำให้อายุการใช้งานลดลงไปได้ ให้ติดตั้งใช้งานในตำแหน่งที่คาดว่าปลอดภัยที่สุด พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งสวิทช์ลูกลอยในตำแหน่งทางไหลเข้าหรือออกของน้ำ หรือในตำแหน่งที่คาดว่าสวิทช์ลูกลอยจะเกิดการเสียดสีหรือมีวัตถุมากระทบ หากเกิดการเสียดสีระหว่างสายเคเบิ้ลของสวิทช์ลูกลอย และบริเวณพื้นผิวใกล้เคียงจะส่งผลทำให้อายุการใช้งานของสวิทช์ลูกลอยลดลงอย่างมาก และอาจทำให้สวิทช์ลูกลอยเสียหาย จนไม่อาจสามารถใช้งานได้อีก หรือเกิดการทำงานผิดพลาดโดยไม่ทราบสาเหตุขึ้นได้ ในกรณีที่ติดตั้งใช้งานสวิทช์ลูกลอยหลายตัวต้องตรวจสอบดูให้แน่ใจว่าสายเคเบิ้ลที่ต่อกับลูกลอย จะไม่พันกันหรือไม่เกิดการเสียดสีซึ่งกันและกัน
การต่อสายใช้งาน
การทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายไฟฟ้าของสวิทช์ลูกลอยนี้ ต้องเป็นไปตามข้อกำหนดของกฎระเบียบขอท้องถิ่นการใช้งานนั้นๆ และต้องทำโดยช่างผู้ชำนาญเท่านั้นสวิทช์ลูกลอยนี้ใช้วงจรไฟฟ้าขนาด 240 โวลท์ในการควบคุม ในพื้นที่ที่ต้องการความปลอดภัย สามารถใช้สวิทช์ลูกลอยกับไฟขนาด 24 หรือ 48 โวลท์ได้เช่นเดียวกัน ในกรณีที่ใช้สวิทช์ลูกลอยกับวงจรควบคุม 240 โวลท์ จำเป็นต้องต่อผ่าน Earth Leakage Circuit Breaker (เครื่องตัดไฟรั่ว) สวิทช์ลูกลอย (Float Switch) จะประกอบด้วยไมโครสวิทช์ แบบ Single Pole Double Throw (SPDT) คุณสมบัติของไมโครสวิทช์จะแสดงไว้บนผิวหน้าของสวิทช์ การต่อสายไฟจะใช้สายเคเบิ้ลหุ้มรับเบอร์ 1.5 มม. 3 แกน สีของสายจะประกอบด้วยสีน้ำเงิน สีดำ และสีน้ำตาล สีน้ำเงินจะเป็นสาย Common เมื่อแขวนลูกลอยให้อยู่ในตำแหน่งห้อยหัวลงล่าง (Vertical Down) สายสีดำกับสายสีน้ำเงิน จะเป็นหน้าสัมผัสแบบปิด (Close) และถ้าสายสีน้ำตาลต่อเข้ากับสายสีน้ำเงิน จะเป็นหน้าสัมผัสแบบเปิด (Open) ถ้ากลับลูกลอยให้หัวตั้งขึ้นสายเคเบิ้ลจะอยู่ใต้ลูกลอย สายสีน้ำเงินกับสายสีดำจะเป็นหน้าสัมผัสแบบเปิด (Open) และสายสีน้ำตาลกับสายสีน้ำเงินจะเป็นหน้าสัมผัสแบบปิด (Close) ในการใช้งานโดยทั่วไป จะติดตั้งสวิทช์ลูกลอยไว้ใน Junction Box โดยปิดให้มิดชิดมากที่สุดเท่าที่ทำได้ และตั้งไว้เหนือระดับของเหลวในแท็งก์ หรือบ่อน้ำ พยายามหลีกเลี่ยงการติดตั้งใช้งานในตำแหน่งที่ห่างด้วยรางหรือท่อ ทั้งนี้เพราะอาจทำให้การบำรุงรักษา การทดสอบและแม้แต่การเปลี่ยนชิ้นสวนอุปกรณ์ทำได้ยาก ในการประยุกต์ใช้งานโดยทั่วไป จะใช้งานเฉพาะสาย Common (สีน้ำเงิน) และสายสีดำ หรือสีน้ำตาลก็ได้ สำหรับการประยุกต์ใช้งานแบบ2 สาย (Two-Wire) ให้ใช้ฉนวนหุ้มสายที่ไม่ใช้งาน คือสายที่สามเอาไว้เนื่องจากอาจจะมีกระแสไฟไหลผ่านได้ในระหว่างการเปลี่ยนสถานะของสวิทช์
การติดตั้งใช้งานบนพื้นที่เสี่ยงอันตราย
สวิทช์ลูกลอย (Float Switch) จัดเป็นอุปกรณ์ในกลุ่ม "Simple Device"ตัวสวิทช์จะไม่มีส่วนโครงสร้างเชิงกล สำหรับเก็บพลังงานหรือให้กำเนิดพลังงานไฟฟ้า ดังนั้นจึงไม่จำเป็นที่จะต้องมีมาตรฐานรับรองใดๆ เมื่อนำไปติดตั้งใช้งานบริเวณพื้นที่เสี่ยงอันตราย ในการติดตั้งใช้งานที่ต้องแยก (Isolate) โดยใช้รีเลย์ป้องกันภายใน (Zener Barrier) เป็นตัวไอโซเลต (Isolate)
https://www.airpumpcenter.supply
คู่มือการใช้งาน MOTOR MITSUBISHI
คู่มือการใช้งาน
MOTOR MITSUBISHI
การติดตั้ง
1. ติดตั้งมอเตอร์ในที่ที่มีการระบายอากาศได้ดี สะอาดและแห้ง เว้นระยะรอบ
ตัวมอเตอร์เพื่อการระบายอากาศ (โดยปรกติอย่างน้อย 20 ชม.)
2. ยึดมอเตอร์กับฐานที่มั่นคงแข็งแรง
การต่อเชื่อมกับเครื่องจักร
1. การประกอบอุปกรณ์เชื่อมต่อเครื่องจักร (คัปปสิง, มู่เล่, ฯลฯ)
ในการติดตั้ง ต้องระวังอย่าให้มีการกระทบกระเทือนรุนแรง เพราะอาจทำให้
ตลับลูกปืนเสียหายได้ ควรเลือกชนาดรูกลางที่เหมาะสม เวลาประกอบต้อง
ให้แนวแกนของอุปกรณ์เชื่อมต่อเครื่องจักร กับแนวแกนเพลามอเตอร์ตรงเป็น
แนวเดียวกันมากที่สุด
2. ต่อเชื่อมด้วยคัปปลิง
ติดตั้งมอเตอร์ให้ศูนย์กลางของเพลามอเตอร์และเพลาเครื่องจักรตรงกัน
ไม่เอียงทำมุมกัน และไม่เยื้องศูนย์กัน คลาดเคลื่อนไม่เกิน 0.03 มม.
การใช้งาน
1. การใช้งานครั้งแรก
- เพลามอเตอร์ต้องสามารถหมุนได้ด้วยมือ โดยไม่ติดขัด
- ตรวจเช็คว่ามีการติดตั้งฟิวส์ขนาดเหมาะสมไว้แล้ว
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้ต่อสายไฟและสายดินแล้ว
- ตรวจสอบทิศทางการหมุนของมอเตอร์ให้ตรงกับเครื่องจักรที่ใช้
- ตรวจเช็คว่าการเชื่อมต่อกับเครื่องจักรแน่นหนาและแข็งแรงเพียงพอ
2. การใช้งานทั่วไป
- ลดโหลดในขณะทำการสตาร์ทให้น้อยที่สุด แล้วค่อยเพิ่มโหลดเมื่อมอเตอร์
ถึงความเร็วสูงสุด
- ตรวจวัดกระแสในขณะทำงานว่าเกินกว่าที่ระบุไว้ในป้ายระบุสินค้าหรือไม่
หากเกินให้ปรับลดโหลดลง มิฉะนั้นอาจทำให้ขดลวดมอเตอร์ไหม้ได้
- ตรวจสอบว่าไม่มีเสียงดังผิดปรกติ ในตลับลูกปืน
- หากเกิดไฟตับ ให้ทำการสับสวิทซ์ตัดไฟ เพื่อป้องกันมอเตอร์โอเวอร์โหลด
หรืออันตร้ายอื่นๆ เนื่องจากมอเตอร์รับโหลดกะทันหันเมื่อไฟมา
- หยุดมอเตอร์ทันทีหากเกิดความผิดปรกติขึ้น
ระยะเวลาการตรวจสอบและซ่อมบำรุง
1. มอเตอร์ที่มีการใช้งานน้อยจะมีความขึ้นเนื่องจากหยุดเป็นเวลานาน
การตรวจสอบประจำวันจึงมีความสำคัญ ในทางกลับกันการถอดชิ้นส่วน
ตรวจสอบนั้นไม่จำเป็นต้องทำบ่อยครั้ง
2. มอเตอร์ที่ใช้งานต่อเนื่อง เช่น ปั๊มและพัดลม ควรหมั่นทำการถอดชิ้นส่วน
ตรวจสอบ
https://www.airpumpcenter.supply
วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565
คู่มือการใช้งาน PACKAGED BOOSTER PUMP
วิธีการติดตั้ง PACKAGED BOOSTER PUMP
การติดตั้งระบบท่อ
การติดตั้งระบบไฟฟ้า
วิธีการใช้งาน PACKAGED BOOSTER PUMP
การตรวจสอบและบำรุงรักษา PACKAGED BOOSTER PUMP
วันอังคารที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2565
คู่มือการใช้งานปั๊มสูบน้ำเสีย Kawamoto
คู่มือการใช้งาน Kawamoto
Submersible Vortex Pump TYPE : WUO
การติดตั้งและการเดินท่อ
การติดตั้ง
1. ควรติดตั้งปั๊มบนพื้นที่เรียบและแข็งแรงพอ
2. เมื่อติดตั้งปั๊ม 2 ตัวในบ่อเดียวกัน ควรจะติดตั้งปั๊มทุกตัวให้อยู่ในระดับเดียวกัน
3. ไม่ติดตั้งปั๊มในตำแหน่งที่ไปขวางทางน้ำที่จะไหลลงบ่อ และควรเดินท่อ จัดสายไฟ เชือกหรือโซ่ ให้เรียบร้อย ไม่ให้ไป ขวางการทำงานของลูกลอย หรือปั๊ม
(เชือกหรือโซ่ที่กองไว้ในบ่ออาจถูกปั๊มดูดเข้าไปทำให้ปั๊มเสียหายได้)
4. ถ้าปั๊มต้องติดตั้งอยู่ในบ่อตกตะกอน ควรติดตั้งปั๊มให้สูงกว่าระดับพื้น
การเดินท่อ
1.ขันท่อเข้ากับข้อต่อเกลียว หรือหน้าแปลนต่างๆให้แน่น
2. เมื่อติดตั้งเช็ควาวล์ ใช้เช็ควาวล์ที่ใช้กับน้ำเสีย เช่น SWING CHECK VALVE
การบำรุงรักษาและการตรวจเช็คประจำวัน
1. ตรวจเช็คค่า กระแสไฟฟ้า : ไม่ให้เกินค่าพิกัดกระแสที่ระบุอยู่ที่ Nameplate
2. ตรวจเช็คค่า แรงดันไฟฟ้า : มีค่าไม่เกิน + 10% ของค่าพิกัดแรงดันที่ระบุอยู่ที่ Nameplate
3. ลูกปืน : ไม่มีความผิดปกติเกี่ยวกับ การสั่นสะเทือน เสียงผิดปกติตอนเริ่มทำงาน
4. ค่าความต้านทานไฟฟ้า : ต้องมีค่าไม่ต่ำกว่า 1 MΩ (เช็คเป็นรายเดือน)
อะไหล่ที่ต้องเปลี่ยนตามอายุการใช้งาน
1. Mechanical seal - ทุกๆ1 - 2 ปี
2. Lubricating oil (Turbine oil ISO VG32) - เมื่อสีน้ำมันเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือดำ (เดิมใสๆ)
3. O-ring - ทุกครั้งที่มีการถอดปั๊ม
4. Ball bearing (Motor) - ทุกๆ2 - 3 ปี
https://www.airpumpcenter.supply/
คู่มือการใช้งานและติดตั้งปั๊มสระน้ำ SAWADA
คู่มือการใช้งานและติดติั้งปั๊มสระน้ำ
SAWADA
https://www.airpumpcenter.supply/
วันพฤหัสบดีที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2565
รูปแบบการติดตั้งแบบรางเลื่อนเครื่องสูบน้ำเสีย
ระบบติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสียแบบมีรางเลื่อน (Guide Rail Fitting System)
สามารถเชื่อมต่อเครื่องสูบน้ำกับท่อน้ำเสีย ทั้งท่อส่งน้ำเสีย
และท่อรับน้ำเสียได้
เพียงแค่หย่อนเครื่องสูบน้ำลงไป ทำให้ง่ายต่อการบำรุงรักษา
และการตรวจสอบสภาพโดยไม่จำเป็นต้องลงไปในบ่อน้ำเสีย
รุ่นของเครื่องสูบน้ำที่ใช้ควบคู่กับระบบติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสีย
จะถูกจำแนกด้วยตัวอักษรนำหน้า ซึ่งได้แก่ "TO" / "TOS" , "TS" และ "TOK"
ซึ่งสามารถดูรายละเอียดได้จากข้อกำหนดมาตรฐานของรุ่นที่มี และเลขรุ่น (model
number)
TOS และ TO
TOS / TO เป็นระบบรางเลื่อนติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสียมาตรฐาน
ที่ทำมาจากเหล็กหล่อ
และสามารถใช้งานได้กับเครื่องสูบที่ทำจากเหล็กหล่อเหมือนกัน
เครื่องสูบน้ำที่มีท่อส่งน้ำขนาด 50mmถึง 150mm จะใช้คู่กับระบบ Guide Rail
รุ่น TOS
ส่วนเครื่องสูบน้ำที่มีท่อส่ง ขนาด 200mm ถึง 800 mm จะใช้คู่กับระบบ Guide
Rail รุ่น TO
TS
ระบบรางเลื่อนติดตั้งเครื่องสูบน้ำเสียรุ่นนี้
เหมาะสำหรับการติดตั้งในสถานีสูบน้ำเสียสำเร็จรูป (Prefabricated lift
station)
ตัวหน้าแปลนระบายน้ำสามารถใช้ได้กับหน้าแปลนมาตรฐานส่วนใหญ่
รวมทั้งรุ่น ANSI 150lb รุ่น BS PN10 และรุ่น DIN PN10
สำหรับเครื่องสูบน้ำทีสามารถใช้กับระบบ Guide Rail รุ่น TS ได้นั้น
จะมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางทางระบายตั้งแต่ 50mm ถึง 100mm
TOK
ทำมาจากเรซินที่มีคุณภาพสูง
รางเลื่อนรุ่น TOK ออกแบบมาสำหรับเครื่องสูบน้ำขนาดเล็กที่มีน้ำหนักเบา
เมื่อเครื่องสูบน้ำเริ่มทำงานยางหุ้มที่ติดอยู่กับขอเกี่ยวจะถูกพลิกกลับไปยังข้องอตีนเป็ด
ซึ่งจะช่วยในการป้องกันการรั่วซึมที่จุดเชื่อม แม้ว่ารางเลื่อนรุ่น TOK
จะถูกนำไปใช้กับเครื่องสูบที่มีน้ำหนักเบาก็ตาม