วันอาทิตย์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2560

วิธีประกอบเครื่องเติมอากาศกังหันตีน้ำ 4 ใบพัด



วิธีประกอบเครื่อง (กังหันตีน้ำไฟฟ้า 4 ใบพัด)
1. นำทุ่นมาตั้งเรียงกัน 3 ลำ
2. นำแท่น STL มาประกอบติดกับทุ่น โดยยึดน๊อตให้แน่น (ใช้น๊อต 12 ชุด)
3. นำตุ๊กตามาประกอบกับแท่น (ตามรูป) (ใช้น๊อต 4 ตัว)
4. ยกมอเตอร์เกียร์ขึ้นตั้งตรงกลางให้ได้ศูนย์กับตุ๊กตา (ใช้น๊อต 4 ตัว)
5. นำยางยอยครบชุดประกอบกับเพลาเกียร์ 2 ข้างให้แน่น
6. นำใบพัดสวมเข้าไปในเพลา STL 2 เส้น
7. ยึดน๊อตให้แน่นหมดทุกตัว



Web1 : https://www.กังหันตีน้ํา.com/16507136/-กังหันตีน้ำ-4-ใบพัดไฟ1เฟส-pp04-1ssWeb2 : https://www.airpumpcenter.supply/16701711/pure-power-ใบพัดเขียวWeb3 : http://www.airpumpcenter.com/index.php?lay=show&ac=article&Id=94442&Ntype=6

วันพฤหัสบดีที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2560

คู่มือการใช้งาน เครื่องเติมอากาศแบบตีใต้น้ำ (Air Jet Aerator)

คู่มือการใช้งาน
เครื่องเติมอากาศใต้ผิวน้ำ (Jet Aerator)
**คำแนะนำ กรุณาอ่านคู่มือ ก่อนประกอบติดตั้งเครื่อง**



การทำงานของเครื่อง
                Jet Aerator เป็นเครื่องเติมอากาศชนิดใช้มอเตอร์ขับเคลื่อนเพลากลวง (Hollow Shaft) ที่มีใบพัดติดอยู่ปลายเพลา ด้วยความเร็วประมาณ 3000 รอบต่อนาที จะเกิดความดันที่แตกต่างกันที่บริเวณหัวจ่าย (Diffuser) ทำให้อากาศเหนือผิวน้ำจะถูกดูดลงไปตามรูเพลากลวง ผ่านหัวจ่าย (Diffuser) กระทบกับน้ำที่ถูกผลักด้วยความเร็วของใบพัดแตกกระจายเป็นฟอง ละเอียดเล็กๆ พุ่งลงไปในน้ำ ทำให้ฟองอากาศนี้แขวนลอยอยู่ในน้ำได้นาน ซึ่งเครื่องเติมอากาศแต่ละเครื่องมีความสามารถในการเติมออกซิเจนในสภาวะมาตรฐานได้ไม่น้อยกว่า 1.1 กก./ซม./แรงม้า
                เครื่องเติมอากาศตัวเครื่องจะยึดติดกับทุ่นที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ เครื่องนี้จะติดตั้งทำมุมกับผิวน้ำ และมุมนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ 30-60 องศา เพื่อให้เหมาะสมกับความตื้นลึกของน้ำ

รูปแบบแสดงการทำงาน


                เครื่องเติมอากาศตัวเครื่องจะยึดติดกับทุ่นที่ลอยอยู่บนผิวน้ำ เครื่องนี้จะติดตั้งทำมุมกับผิวน้ำ และมุมนี้สามารถปรับเปลี่ยนได้ 20-23 องศา เพื่อให้เหมาะสมกับความตื้นของน้ำ ดังนี้



การติดตั้ง

การติดตั้งการใช้งานสามารถทำได้ 2 วิธี คือ
                1. ติดตั้งตายตัวในกรณีที่ระดับน้ำที่จะทำการเตรียมออกซิเจนมีระดับคงที่ตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลง ขึ้นอยู่กับสถานที่ที่จะติดตั้งโดยยึดด้านหน้า ( รูปที่1) หรือติดตั้งแบบยึดด้านข้าง (รูปที่2) และทำการปรับมุมก้มเงยตามความต้องการ

รูปที่1 ติดตั้งด้านหลังของเครื่อง

รูปที่2 ติดตั้งด้านข้างของเครื่อง

                2. ติดตั้งบนทุ่นลอยในกรณีที่ระดับน้ำมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา ทุ่นนี้จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำและจะปรับตัวเองไปตามการขึ้นลงของระดับน้ำ ทำให้รักษาระดับการพ่นของออกซิเจนลงไปในน้ำเป็นไปอย่างคงที่ เครื่องจะติดตั้งอยู่บนทุ่นลอยที่ทำจาก Polyethylene มีความเหนียวแข็งแรง หล่อเป็นชิ้นเดียวกันตลอด ภายในทุ่นบรรจุด้วยโฟม (Polyethylene) เพื่อเพิ่มความแข็งแรงและป้องกันการจมของทุ่น ทุ่นนี้จะลอยตัวอยู่บนผิวน้ำและยึดด้วยเสาที่ท้ายทุ่น (รูปที่3) หรือยึดด้วยสลิงให้อยู่ในตำแหน่งที่ต้องการ (รูปที่4) จากนั้นให้ปรับมุมก้มเงยตามความต้องการ
 รูปที่3


 รูปที่4

                3. การต่อไฟฟ้าเข้าเครื่อง มอเตอร์ที่ใช้เป็นแบบ 3 สาย ใช้ได้ทั้งไฟ 220V และไฟ 380V โดยต่อไฟดังนี้
วิธีที่ 1. สำหรับไฟ 220V 3สาย ให้ต่อแบบ Delta (รูปที่5)
รูปที่5

วิธีที่ 2. สำหรับไฟ 380V 3สาย ให้ต่อแบบ Y (รูปที่6)
รูปที่6

                การต่อไฟฟ้าเข้ากับมอเตอร์ ต้องผ่านตู้ควบคุมไฟฟ้า ที่มีระบบ Overload Protection เพื่อป้องกันมอเตอร์เกิดการเสียหายจากการใช้กระแสไฟฟ้าเกิน หรือลัดวงจร
                ให้ต่อสายเข้ามอเตอร์โดยมอเตอร์ต้องหมุนถูกต้องตามทิศทางการหมุนของใบพัด การตรวจสอบทิศทางการหมุนนี้ต้องกระทำโดยใบพัดต้องจมอยู่ใต้น้ำ เพราะบูชที่ปลายเพลาต้องการน้ำเป็นตัวหล่อลื่น (รูปที่7)
รูปที่7

ห้าม ทดลองหรือเดินเครื่องโดยใบพัดพ้นน้ำเป็นอันขาด บูชที่ปลายเพลาจะเสียหายทันที (รูปที่8)
รูปที่8

ต้อง แน่ใจว่า รูสำหรับให้น้ำเข้าไปหล่อลื่นที่บูชใบพัด ต้องจมอยู่ใต้น้ำ (รูปที่9)
รูปที่9

การใช้งานและการดูแลรักษา
                ตามที่ได้กล่าวมาแล้วว่าการเคลื่อนไหวของชิ้นส่วนก็มีเพียงเพลากับใบพัด ทำให้ง่ายต่อการดูแลรักษาและซ่อมบำรุงโดยทั่วไปแล้วจะใช้เวลาน้อยมากในการดูแล แต่อย่างไรก็ดี ควรปฎิบัติตามขั้นตอนต่อไปนี้
                ขั้นแรก ให้สังเกตการณ์ทำงานของเครื่องว่าเดินเรียบ ไม่มีการสั่นสะเทือนที่ตัวเครื่อง ถ้าเป็นเครื่องที่ติดตั้งตายตัวให้สังเกต โดยใช้มือสัมผัสกับขายึดเครื่อง และถ้าเป็นเครื่องที่ติดอยู่บนทุ่นลอยตัวให้สังเกตดูได้จากน้ำที่อยู่รอบข้างทุ่นว่ากระเพื่อมมากน้อยเพียงใด
                ถ้าเครื่องเดินไม่เรียบ มีการสั่นมาก อาจจะมีเศษขยะไปติดพันใบพัดหรือเพลา ให้ทำการแก้ไขถ้าไม่หายให้ตรวจสอบดูว่ายอยห์คดหรือไม่ ซึ่งปกติจะไม่มีปัญหานี้เกิดขึ้นเพราะเป็นยอยห์สปริง แต่อาจจะเกิดขึ้นได้ในกรณีที่ไม่เข้าใจในการถอดประกอบ โดยการโยกเพลาไปมามากเกินมุมกำหนดที่ยอยห์จะรับได้ ทำให้เพลาและยอยห์ ไม่ต่อเป็นแนวตรงเดียวกัน ทำให้มีอาการสั่นเมื่อเดินเครื่อง ในกรณีเช่นนี้อาจจะต้องเปลี่ยนเพลาทั้งเส้น
                7วันหลังจากติดตั้ง
                เมื่อติดตั้งเครื่องใหม่ๆ และใช้งานไปประมาณ 7 วัน ให้ตรวจขันน๊อตสกรูต่างๆ ว่าขันเข้าที่ทุกตัว หลังจากนั้นแล้วให้ตรวจสอบทุกๆ 6 เดือน
                ทุกๆ 6 เดือน
                ให้หยุดเครื่องและตรวจสอบสภาพการใช้งานทั่วไป
                1. ใช้มือหมุนใบพัดดูว่าหมุนไปได้คล่อง ไม่มีการติดขัดของลูกปืนมอเตอร์
                2. ใช้มือโยกใบพัดดูว่าเพลาไม่คลอนกับตัวบูชมากนัก ปกติตัวช่องว่างระหว่างเพลากับปลอกบูช จะอยู่ระหว่าง 0.5-1.5 มม.(รูปที่10) การใช้งานปกติโดยทั่วไป บูชนี้จะเสียหายต้องใช้เวลาเป็นปี แต่ในกรณีที่น้ำมีทรายปนมากๆ หรือมีวัตถุอื่นเจือปนที่มีลักษณะแข็งเหมือนผงขัด ก็จะทำให้บูชสึกหรอเร็วกว่าปกติ

รูปที่10

                3. ถ้ามีช่องว่างระหว่างปลอกเพลากับบูชมากเกินไป จะทำให้เครื่องเดินไม่เรียบ เพลาแกว่งและทำให้ลูกปืนมอเตอร์เสียเร็วกว่าปกติ และกินไฟฟ้า ให้ทำการเปลี่ยนปลอกเพลากับบูชใหม่ (ดูวิธีการถอดประกอบ)
                4. ตรวจสอบขันสกรูทุกตัวให้เข้าที่
                ทุกๆ 1 ปี
                ให้หยุดเครื่อง และถอดชิ้นส่วนต่างๆ ออกเพื่อตรวจสอบสภาพการใช้งาน เปลี่ยนชิ้นส่วนที่จำเป็นตรวจสอบลูกปืนมอเตอร์ เปลี่ยนหรืออัดจารบีตามความเหมาะสม (ดูวิธีการถอดประกอบ)


ปัญหาและการแก้ไข


การถอดประกอบ
                เมื่อปลดสายไฟฟ้า และเครื่องออกจากฐานติดตั้งแล้ว ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้ การทำผิดขั้นตอนอาจจะก่อให้เกิดการเสียหายต่อชิ้นส่วนได้
การถอดตัวเครื่อง
1. เช็คเครื่องให้แห้งแล้วตั้งลงบนพื้นโดยให้ตัวมอเตอร์อยู่ด้านล่างและปลายใบพัดชี้ขึ้นด้านบน
2. คลายการ์ดใบพัดให้หลวม และรูดการ์ดลงมาด้านล่าง ให้ใบพัดไม่มีสิ่งกีดขวาง เพื่อสะดวกในการถอด (ดูรูปที่11)
3. ใช้ไขควงสอดเข้าที่รูอากาศที่เสื้อเครื่อง และร้อยทะลุผ่านช่องว่างกลมๆ ที่ยอยห์ออกไปอีกข้างหนึ่งเพื่อขวางไว้ไม่ให้เพลาหมุน (ใช้มือช่วยหมุ่นใบพัดขณะดูช่องว่างที่ยอยห์ ดูรูปที่11)
4. คลายน๊อตล็อคปลายใบพัดออก โดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา
5. คลายใบพัดออกโดยหมุนทวนเข็มนาฬิกา
6. ดึงการ์ดออกจากเสื้อเพลา
7. คลายน๊อตที่ยึดเสื้อกับมอเตอร์ออก
8. ดึงเสื้อออกจากมอเตอร์
9. ถอดปลอกรองปลายเพลาออก
10. คลายสกรูตัวหนอนที่ยอยห์ออก
11. ใช้เครื่องมือถอดยอยห์ดันยอยห์ออกมาจากเพลามอเตอร์ และถอดลิ่มออก (ดูรูปที่12)
รูปที่11


รูปที่12