วันพุธที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2565

คู่มือการใช้งาน PACKAGED BOOSTER PUMP

 วิธีการติดตั้ง PACKAGED BOOSTER PUMP





การติดตั้งระบบท่อ

1. ควรติดตั้งชุด PACKAGED BOOSTER PUMP บนแท่นคอนกรีตที่มีความแข็งแรงเพียงพอ และได้ระดับไม่ขรุขระ และควรยึดแท่นฐานปั๊มกับแท่นคอนกรีตด้วย ANCHOR BOLT พร้อมรองแท่นปั๊มด้วยยางรองแท่นเพื่อลดการสั่นสะเทือน
2. ควรจัดเตรียมแท่นคอนกรีตและวางแท่นปั๊มให้สะดวกในการขนย้าย ตรวจสอบ และซ่อมบำรุง
3. ควรติดตั้งชุด PACKAGED BOOSTER PUMP ให้ใกล้แหล่งน้ำที่สุด เพื่อลดระยะของท่อทางดูด (SUCTION PIPE) จะทำให้สะดวกในการล่อน้ำ (PRIMING)
4. ควรติดตั้งฟุตวาวล์ (FOOT VALVE) ที่ปลายทางดูดของปั๊มแต่ละตัว กรณีระดับน้ำอยู่ต่ำกว่าตัวปั๊ม (ไม่ควรเดินท่อดูดร่วมกันและใช้ฟุตวาวล์ตัวเดียวร่วมกัน)
5. ควรติดตั้งเกทวาวล์ (GATE VALVE) ที่บริเวณทางดูดของปั๊ม กรณีระดับน้ำอยู่สูงกว่าตัวปั๊ม เพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุงในอนาคต
6. ควรติดตั้งยูเนี่ยน (กรณีข้อต่อแบบเกลียว) ที่บริเวณทางดูดของปั๊ม เพื่อความสะดวกในการซ่อมบำรุงในอนาคต
7. ควรติดตั้งเกทวาวล์ (GATE VALVE) ที่บริเวณ HEADER ทางส่ง และเดินท่อ BYPASS และใส่GATE VALVE กลับมายังแหล่งน้ำเพื่อความสะดวกในการทดสอบและซ่อมบำรุง
8. ควรติดตั้งอุปกรณ์ยึดท่อ (PIPE HANGER & SUPPORT)ที่เหมาะสม เพื่อป้องกันน้ำหนักจากท่อมาดึงหรือกระทำต่อชุด Packaged Booster pump
9. ควรติดตั้งข้อต่ออ่อน (FLEXIBLE CONNECTOR) ที่บริเวณทางดูดของปั๊มแต่ละตัว และที่ HEADER ทางส่งของชุด PACKAGED BOOSTER PUMP เพื่อลดแรงสั่นสะเทือนไปที่ท่อขณะที่ปั๊มทำงาน

การติดตั้งระบบไฟฟ้า

1. ชุด PACKAGED BOOSTER PUMP ได้ทำการเดินเข้าสายไฟฟ้าจากตู้คอนโทรลไปที่ตัวมอเตอร์ และตัวสวิทส์แรงดัน (PRESSURE SWITCH) แต่ละตัวให้เรียบร้อยแล้ว
2. ให้เดินสายไฟขนาดที่เหมาะสมกับกำลังของมอเตอร์รวมทั้ง 2 ตัวมาที่ตู้คอนโทรลของชุด PACKAGED BOOSTER PUMP จำนวน 4 เส้นคือ R – S – T – N
3. เดินสายไฟขนาด 1.5 mm2 จำนวน 3 เส้น (E1 , E2, E3) จากตู้คอนโทรลไปที่ตัว ELECTRODE HOLDER ซึ่งเป็นตัวส่งสัญญาณจากก้าน ELECTRODE ที่วัดระดับน้ำในแหล่งน้ำและควบคุมการทำงานของปั๊มเพื่อปัองกันความเสียหายของปั๊มที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากระดับน้ำต่ำ (ต่ำกว่าระดับของฟุตวาวล์)
4. ผู้ติดตั้งควรรู้ความลึกของแหล่งน้ำ และระดับของฟุตวาวล์ (โดยปกติระดับฟุตวาวล์จะอยู่สูงจากพื้นบ่ออย่างน้อย 30 เซนติเมตร) เพื่อจะสามารถตัดก้าน ELECTRODE เพื่อตั้งระดับแต่ละก้านดังนี้
 - ก้าน E3 COMMON อยู่ที่ระดับฟุตวาวล์หรือต่ำกว่า
 - ก้าน E2 LOW LEVEL CUT-OFF (ระดับตัดการทำงาน) อยู่เหนือระดับฟุตวาวล์ 30 ซ.ม.
 - ก้าน E1 START & INTERLOCK (ระดับต่อการทำงาน) อยู่ที่ระดับครึ่งบ่อหรือตามเหมาะสม
5. ควรติดกล่องพลาสติกกันน้ำครอบตัว ELECTRODE HOLDER กรณีตั้งอยู่กลางแจ้ง


วิธีการใช้งาน PACKAGED BOOSTER PUMP

ก่อนการทดสอบระบบ PACKAGED BOOSTER PUMP ควรตรวจสอบสิ่งต่อไปนี้เพื่อลดปัญหาและป้องกันความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นได้
1. การล่อน้ำ (PRIMING)
- ทำการล่อน้ำและไล่อากาศในท่อทางดูดและตัวปั๊มแต่ละตัวให้เรียบร้อย
- ตรวจสอบระดับน้ำภายในแหล่งน้ำให้เพียงพอ ระดับน้ำต้องสูงกว่าระดับ E1 หรือต้องไม่ต่ำกว่าระดับ E2
2. ระบบไฟฟ้า (ELECTRICAL SYSTEM)
- ตรวจสอบแหล่งจ่ายไฟ ว่ามีไฟครบทุกเฟส R – S – T รวมทั้ง NEUTRAL ด้วย
- ตรวจสอบการต่อสายไฟให้ถูกต้อง รวมทั้งตรวจสอบการหลวมคลอนของขั้วสายไฟ
3. ทดสอบระบบการทำงานด้วยมือ (MANUAL OPERATION)
- ตรวจสอบหลอดไฟของแหล่งจ่ายไฟที่หน้าตู้ “POWER” (หลอดจะสว่างเมื่อมีไฟเข้าที่ตู้)
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “MAN – OFF – AUTO” ไปที่ตำแหน่ง “MAN”
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “PUMP#1 – ALT – PUMP#2” ไปที่ตำแหน่ง “PUMP#1” ตรวจสอบทิศทางการหมุนของปั๊ม#1 (หมุนตามเข็มนาฬิกามองจากท้ายมอเตอร์) ในขณะที่ปั๊มตัวที่ #1 ทำงานให้สังเกตุ หลอดไฟ“RUN NO#1” จะต้องสว่าง
- ทำการตรวจเช็คการทำงานด้วยมือของปั๊มตัวที่ #2 เหมือนกับตัวที่ #1
- หากต้องการสั่งให้ปั๊มตัวที่#1และปั๊มตัวที่#2 ทำงานแบบ MANUAL ทั้งสองตัวให้บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “PUMP#1 – ALT – PUMP#2” ไปที่ตำแหน่ง “ALT”
4. ทดสอบระบบการทำงานอัตโนมัติ (AUTOMATIC SYSTEM)
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “MAN – OFF – AUTO” ไปที่ตำแหน่ง “AUTO”
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “PUMP#1 – ALT – PUMP#2” ไปที่ตำแหน่ง “PUMP#1” ปั๊มตัวที่#1 จะทำงานอัตโนมัติตามสวิทส์แรงดัน (PRESSURE SWITCH) เป็นตัวแรก (LEAD PUMP) ส่วนปั๊มตัวที#2 จะเป็นตัวช่วย (LAG PUMP)
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “PUMP#1 – ALT – PUMP#2” ไปที่ตำแหน่ง “PUMP#2” ปั๊มตัวที่#2 จะทำงานเป็นตัวแรก (LEAD PUMP) ส่วนปั๊มตัวที#1 จะเป็นตัวช่วย (LAG PUMP)
- บิดสวิทส์เลือกการทำงาน “PUMP#1 – ALT – PUMP#2” ไปที่ตำแหน่ง “ALT” ปั๊มตัวที่#1 และปั๊มตัวที่#2จะสลับกันเป็น LEAD PUMP และ LAG PUMP ตามลำดับ
5. ระหว่างทดสอบการทำงานของระบบควรตรวจสอบสิ่งผิดปกติต่างๆ เช่น แรงดัน เสีบง และการสั่นสะเทือน ฯลฯ
6. การตั้งค่าแรงดันของลม (PRE-CHARGED PRESSURE) ของถังแรงดัน (PRESSURE TANK) ให้ตั้งค่าตอนที่ยังไม่มีน้ำในถัง โดยตั้งค่าต่ำกว่าค่าแรงดัน START PRESSURE ของ PRESSURE SWITCH ตัว#1 ประมาณ 2 PSI

การตรวจสอบและบำรุงรักษา PACKAGED BOOSTER PUMP

โดยปกติควรดำเนินการตรวจเช็คอยู่เป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นได้ และควรจัดให้มีการซ่อมบำรุงตามกำหนดเวลาเพื่อรักษาระดับการทำงานตลอดอายุการใช้งาน
1. ควรมีการบันทึกข้อมูลการทำงานของปั๊ม เช่น
ค่าแรงดัน START PRESSURE และ STOP PRESSURE ของ PRESSURE SWITCH ตัวที่ #1และตัวที่ #2
ค่ากระแสแต่ละเฟสของปั๊มตัวที่#1และตัวที่ #2
ค่าแรงดันในถังแรงดัน PRE-CHARGED AIR PRESSURE (ควรตรวจเช็คอย่างน้อยทุกๆ 6 เดือน)
2. ตรวจสอบความผิดปกติของเสียงที่มาจากการทำงาน และรีบแก้ไขสาเหตุดังกล่าวทันที
3. ตรวจสอบหน้าสัมผัสของแมกเนติค และรีเลย์ต่างๆ หากมีเขม่าดำควรรีบเปลี่ยนทันที ก่อนที่จะกระทบการทำงาน หรือทำความเสียหายให้กับมอเตอร์
4. ตรวจสอบสภาพของสวิทส์เลือกการทำงาน และการหลวมคลอนของขั้วสายไฟต่างๆ ควรขันยึดให้แน่น
5. ตรวจเช็คหลอดไฟแสดงผลที่หน้าตู้ หากพบว่าหลอดเสียหรือไส้หลอดขาดให้เปลี่ยนหลอดใหม่
6. ควรเปลี่ยนอะไหล่ของปั๊มที่สึกหรอตามอายุการใช้งานตามกำหนดเวลาที่เหมาะสม
อะไหล่ที่สึกหรอ ระยะเวลาที่ควรเปลี่ยน
 - ลูกปืนปั๊มและมอเตอร์ (BEARING) 1 – 2 ปี
 - ปะเก็นเชือก (PACKING SEAL) 0.5 – 1 ปี
 - แมคคานิคเคิลซีล (MECHANICAL SEAL) 1 – 2 ปี
 - อะไหล่อื่นๆ ตามความเหมาะสม
7. ตรวจสอบสภาพท่อมิให้เกิดรอยรั่วหรือแตกผุ โดยเฉพาะท่อทางดูดเพราะจะมีผลทำให้ปั๊มดูดไม่ขึ้นซึ่งจะทำให้ปั๊มเสียหายมากเช่น ซีลแตก มอเตอร์ไหม้ เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น